เพิ่มจำนวนต้นผักหวานด้วยวิธีการทุบราก

ความสำเร็จในการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยวิธีการ “ทุบราก” ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคุณพ่อทองมาก พงษ์ละออ เกษตรกร บ้านนาข่า ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ได้อาศัยประสบการณ์ในการขยายพันธุ์ผักหวานป่ามานานหลายปี  สามารถขยายพันธุ์ผักหวานป่าในพื้นที่ให้มีจำนวนมากกว่า 300 ต้น ได้ภายในเวลาไม่นาน  และสามารถเก็บยอดขายได้ในราคากิโลกรัมละ 150-200 บาท มีรายได้ปีละกว่า 40,000 บาท

วิธีการพิ่มจำนวนต้นโดยการทุบราก :
พ่อทองมาก ได้พบวิธีการขยายพันธุ์ผักหวานป่าด้วยด้วยภูมิปัญญาและประสบการณ์กว่าค่อนชีวิตที่ผูกพันอยู่กับการเพาะปลูกผักหวานผ่า นั่นคือ การใช้ค้อนหรือสันมีดทุบบริเวณรากผักหวานที่โผล่ขึ้นมาเหนือผิวดิน ให้เกิดบาดแผล จากนั้นจึงเอาดินกลบไว้ให้มิด แล้วหาไม้มาปักไว้บริเวณนั้น เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายและป้องกันการเหยียบย่ำ จากนั้นรอเวลาประมาณเดือนเศษๆ จะมีต้นผักหวานเกิดขึ้นมาใหม่บริเวณบาดแผล ดังนั้นการทุบรากผักหวานป่าบริเวณที่รากโผล่พ้นผิวดินจึงทำให้มีจำนวนต้นผักหวานป่า เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี

การปลูกผักบนต้นกล้วย

วิธีการปลูกผักบนต้นกล้วย : มีดังนี้
วัสดุ - อุปกรณ์ :
1. เมล็ดพันธุ์ผัก ประเภท กินใบ อายุการเก็บเกี่ยวสั้น เช่น ผักกาดหอม(ไม่ห่อหัว) จำพวกผักสลัด
2. กระบะเพาะกล้า หรือ ตะกร้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า
3. ถาดหลุมพลาสติก
4. กระดาษหนังสือพิมพ์
5. ขี้เถ้าแกลบ,ทราย
6. ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก
วิธีการปลูกผักบนต้นกล้วย :
1. การเพาะกล้า
- ปูประดาษหนังสือพิมพ์(แผ่นเดี่ยว)บนตะกร้าพลาสติก แล้วจัดกระดาษให้เข้ารูปกับตะกร้า
- ใส่ทรายลงไปในตะกร้าที่เตรียมไว้ให้ได้ความสูงประมาณ 2 ใน 3 ของความสูง
- ขีดทรายตามแนวยาวของตะกร้าให้เป็นร่องลึกประมาณ 1 ซม. 2-3 แถว โรยเมล็ดพันธุ์ผักลงไปบางๆ แล้วกลบเบาๆ ด้วยทราย จากนั้นนำกระดาษหนังสือพิมพ์(แผ่นเดี่ยว)วางปิดทับด้านบน พร้อมจัดกระดาษให้เข้ารูปกับตะกร้า
- ใช้บัวรดน้ำ ลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ (พอให้มีน้ำขังบนผิวหน้าเล็กน้อย) จัดวางตะกร้าไว้ในที่ร่ม หมั่นรดน้ำเช้า-เย็น
- เมื่อกล้าผักเริ่มงอก ให้เอากระดาษหนังสือพิมพ์ที่ปิดทับด้านหน้าออก แล้วรดน้ำเช้า - เย็น
- เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริงใบแรก หรือ เมื่อมีอายุประมาณ 10-14 วัน ให้ย้ายกล้าในกระบะเพาะลงปลูกในถาดหลุมพลาสติก
2.การย้ายกล้าผักลงปลูกในถาดหลุม :
- นำขี้เถ้าแกลบผสมเข้ากับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักพอใส่ลงถาดหลุมให้เต็มทุกหลุม จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
- ใช้ไม้แทงนำในขี้เถ้าแกลบให้เป็นรู เพื่อนำต้นกล้าลงปลูก
- ใช้มือจับยอดต้นกล้าผักเบาๆ แล้วนำไม้ขุดแซะรากกล้าผักขึ้นมาจากกระบะเพาะ จากนั้นแยกกล้าลงปลูกในหลุมถาดที่เตรียมไว้ กดปิดบริเวณรูเบา ๆ ทำจนครบทุกหลุมแล้วจัดเรียงถาดหลุมที่ย้ายกล้าเสร็จแล้วไว้ในที่ร่มรำไร พอมีแสงส่องถึง จัดวางไว้บนชั้นให้น้ำไหลผ่านได้โดยสะดวก
- เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบหรือประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังปลูก ก็สามารถย้ายกล้าผักไปปลูกบนต้นกล้วยได้แล้ว
3. การปลูกผักลงบนต้นกล้วย :
- เจาะรูบนต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้ว โดยกะจำนวนรูที่จะปลูกผักให้เหมาะสมกับขนาดของต้นกล้วย ในลักษณะทแยงลง ให้รูมีขนาดเท่ากับแท่งดินที่ยึดรากต้นกล้าผัก
- จากนั้นจึงเอาต้นกล้าผักยัดใส่ลงไปในรูของต้นกล้วยที่เจาะไว้
- คอยค้ำยันไม่ให้ต้นกล้วยล้ม
- ประมาณ 30 วันก็สามารถเก็บผักที่ปลูกบนต้นกล้วยมารับประทานได้ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผักที่ปลูก)

การผลิตน้อยหน่านอกฤดู

น้อยหน่า จัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกได้ดีพอควร  ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่าง  สีสัน  และรสชาติ  ตรงกับรสนิยมของผู้บริโภค  และเป็นที่ต้องการของตลาด  ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ แหล่งปลูกน้อยหน่าในประเทศที่สำคัญอยู่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ  โดยเฉพาะอำเภอปากช่อง  จังหวัดนครราชสีมานั้นจัดได้ว่าเป็นแหล่งปลูกที่ใหญ่ที่สุด  ส่วนในภาคอื่น ๆ  มีการปลูกน้อยหน่ากันบ้าง  แต่เป็นการปลูกเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือนเสียมากกว่า  

การปลูกน้อยหน่าในปัจจุบันนี้ได้รับการพัฒนาไปมาก ทั้งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จนทำให้น้อยหน่าที่ปลูกในระยะหลังนี้มีผลโต เนื้อมาก เมล็ดน้อย รสชาติหวานอร่อย และที่สำคัญก็คือสามารถบังคับให้น้อยหน่าออกดอกนอกฤดูกาลได้ด้วย ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีการบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูปกติ :
วิธีนี้เหมาะกับสวนที่มีระบบการให้น้ำดีและมีน้ำใช้ตลอดปี หากมีน้ำไม่เพียงพอหรือระบบการให้น้ำไม่ดี การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกก่อนฤดูจะไม่ได้ผล วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถกำหนดช่วงการแก่และเก็บผลได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้ผลแก่ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้อยหน่าออกมาขายในตลาดน้อย และมีราคาสูงเราสามารถกระทำได้โดยปฏิบัติเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.เดือนสิงหาคม บำรุงให้ต้นน้อยหน่าสมบูรณ์โดยใส่ปุ๋ยเกรด 1 : 3 : 3 เช่นสูตร 8-24-24 พร้อมกับให้น้ำ ต่อจากนั้นก็ปล่อยให้พักตัวประมาณ 1 เดือน
2.เดือนกันยายน ทำการตัดแต่งกิ่งทันที โดยกิ่งที่ทำการตัดแต่งนั้นควรเป็นกิ่งที่อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1 ½ -2 เมตร ขนาดของกิ่งถ้าเล็กกว่า ½ ซม. ควรตัดออกให้หมดแต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า ½ ซม. ให้ตัดเหลือปลายกิ่งไว้ประมาณ 15 ซม. หากปลายกิ่งใดมีสีเขียวอยู่ก็ให้ตัดออกให้หมด เหลือเพียงกิ่งสีน้ำตาลไว้เท่านั้นและหากมีกิ่งกระโดงหรือกิ่งแขนงที่แตกใกล้ระดับพื้นดินต้องตัดออกให้หมดเช่นกัน
3.ปลายเดือนกันยายน หลังจากทีได้ตัดแต่งกิ่งไปแล้วประมาณ 20 วัน ต้นน้อยหน่าเริ่มแตกใบอ่อนและออกดอกมาให้เห็น ช่วงนี้ควรมีการให้น้ำตามปกติ
4.เดือนตุลาคม ประมาณ 31-45 วันต่อมาดอกจะบาน ส่วนการให้น้ำก็ปฏิบัติเช่นเดิม
5.เดือนพฤศจิกายน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลมีขนาดเท่าหัวแม่มือ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโตเต็มที่
6.เดือนธันวาคม เมื่อผลมีขนาดโตเท่าไข่ไก่ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-13 เพื่อให้ผลมีคุณภาพดีขึ้น
7. เดือนกุมภาพันธ์ ผลแก่สามารถเก็บไปจำหน่ายได้ ซึ่งตรงกับช่วงที่น้อยหน่ามีราคาแพงพอดี
หากไม่ใช้วิธีตัดแต่งกิ่งอาจใช้สารเคมีแทนก็ได้โดยใช้สารเคมีพวกพาราควอท (ชื่อการค้าว่า กรัมม๊อกโซน , น๊อกโซน, แพลนโซน) ให้ใช้ในอัตราความเข้มข้น 0.05-0.1 เปอร์เซ็นต์ (ของเนื้อสาร) ในปริมาณ 41-82 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้ใบร่วงหมดภายในเวลา 7-10 แต่การฉีดสารเคมีนี้ต้องระวังไม่ฉีดในขณะที่ต้นน้อยหน่าแตกกิ่งหรือใบอ่อน เพราะจะทำให้กิ่งหรือใบไหม้ได้
การบังคับให้น้อยหน่าออกดอกในฤดูปกติและหลังฤดูปกติอีกบางส่วน :
การปฏิบัติเหมือนกับที่ทำในฤดูปกติ คือจะตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และเลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่มีผลติด ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 5 ม.ม. และจะติดผลประมาณเดือนเมษายน ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคมจะทำการตัดแต่งกิ่งอีกครั้ง โดยทำการตัดปลายกิ่งออกเฉพาะช่วงที่มีสีเขียวและให้เหลือเฉพาะส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว หลังจากนั้นให้รูดใบของกิ่งที่ตัดออกให้หมด กิ่งพวกนี้จะแตกใบใหม่พร้อมกับมีดอกออกมาอีก 1 รุ่น ซึ่งนุร่นที่ 2 นี้จะเก็บผลขายได้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีผลไม้อื่นออกมามากนักเลยทำให้ขายได้ราคาสู
การทำให้น้อยหน่าออกดอกหลังฤดูปกติอีกครั้งหนึ่งนั้น ควรมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มเข้าไปด้วย โดยเฉพาะปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เช่น ปกติใส่ปุ๋ยคอกต้นละ ½ - 1 ปี๊บ ควรเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 อีกต้นละ 2 กก. จะช่วยให้ผลน้อยหน่ามีขนาดใหญ่และคุณภาพของผลดียิ่งขึ้น

 

สาหร่ายสไปรูลิน่า บนแผ่นดินร้อยเอ็ด

algae

 

บนผืนดินอีสานตอนกลาง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ใน 17 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ ถือว่าเป็นอำเภอที่แห้งแล้งที่สุด นายนพพร จันทรถง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นำยุทธศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ด "แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชั้นดี ที่ท่องเที่ยวมากแห่ง แรงงานมีคุณภาพ" พัฒนาศักยภาพพื้นที่ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการประสานงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ค้นหาค้นคว้าภูมิปัญญาของคนเมืองร้อยเอ็ด หามาเพิ่มเติมให้เต็ม อำเภอศรีสมเด็จ เป็นอำเภอที่แปลกและเป็นดินแดนที่มหัศจรรย์ พื้นที่ดินร่วนปนทรายถึงทรายจัด เกษตรกรที่อำเภอศรีสมเด็จ นำพืชต่างถิ่นมาปลูกทดแทนพืชที่มีอยู่ดั้งเดิมจนเป็นรายได้หลัก อาทิ หน่อไม้ฝรั่ง แตงแคนตาลูป แตงโซโย่ และพืชมหัศจรรย์อย่างยาสูบพันธุ์เตอร์กิ๊ส ที่สร้างรายได้ปีละนับร้อยล้านบาท
นายนพพร จันทรถง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก บนพื้นฐานที่มีแรงงานที่มีคุณภาพ และควบคู่ไปกับแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม บริษัท เฟิสท์ ไลน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดย นายคงพร พรรณ์แผ้ว กรรมการผู้จัดการ และ นางมะลิวัลย์ พรรณ์แผ้ว เป็นผู้ที่นำกิจกรรมการสร้างเงินสร้างงานเพื่อชาวบ้าน คือการเลี้ยงสาหร่าย "สไปรูลิน่า" ที่บ้านเลขที่ 97 หมู่ที่ 13 ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานกึ่งการทดลองกึ่งวิทยาศาสตร์ บนความสำเร็จเพียงระยะเวลาสั้นๆ คือ 10 วัน สามารถได้เงินหลายแสนบาท ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกรร่วมกิจกรรม 12 คน

ครั้งนี้ได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่บ้านก่อ หมู่ที่ 13 ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากตัวอำเภอเพียง 700 เมตร นายคงพร และ นางมะลิวัลย์ พรรณ์แผ้ว เล่าในรายละเอียดให้ฟังว่า

ตนเองมองเห็นความสำคัญของสาหร่าย "สไปรูลิน่า" ซึ่งเป็นสารสกัดจากสาหร่ายเพื่อบำรุงและเสริมสร้างสุขภาพมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะสามารถลดน้ำตาลในร่างกาย ทำให้ตนเองตัดสินใจเพาะเลี้ยง "สาหร่ายเกลียวทอง" สไปรูลิน่า เพื่อขายให้นายทุนจนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เปิดรับสมาชิกและชักชวนเพื่อนบ้านกว่า 12 คน ตั้ง "กลุ่มสาหร่ายเกลียวทอง" เมื่อปี 2534 เพื่อผลิตและส่งไปจำหน่ายที่ตลาดกรุงเทพฯ ลำปาง และเชียงใหม่ พร้อมทั้งนำสาหร่ายมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ขายด้วย ตลาดมีการตอบสนองดีมากไม่เพียงพอต่อความต้องการ

นายคงพร กล่าวอีกว่า สมาชิกที่ร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มาด้วยความสมัครใจในการจัดตั้งกลุ่ม ด้านการตลาดสาหร่ายเกลียวทองยังเป็นที่ต้องการสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการทำเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เช่น อาหารกุ้งกุลาดำ ปลามังกร ปลาเมอรี่ ปลาอโรเวนา และปลาสวยงามชนิดต่างๆ และบางส่วนจะมีนายทุนซื้อไปสกัดเอา "สไปรูลิน่า" ก่อนนำไปผลิตเป็นสินค้าต่างๆ ได้อีกหลายชนิด หลังจากได้รวมกลุ่มกันแล้ว มีการแบ่งระบบการทำงาน ได้จัดรูปแบบการบริหารกลุ่ม โดยตนเอง และนางมะลิวัลย์ ภรรยา เป็นผู้คอยดูแลเรื่องตลาด และตรวจสอบคุณภาพสาหร่ายให้กับสมาชิก หรือเป็นผู้อำนวยความสะดวก นัยหนึ่งคือคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับสมาชิกของกลุ่มเพราะงานด้านการผลิตเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน การจัดการสมาชิกมีการเลี้ยงสาหร่ายด้วยตัวเองแบบการปฏิบัติจริง โดยให้สมาชิกมีความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน

นางมะลิวัลย์ เล่าให้ฟังว่า การเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองนั้น ในแต่ละวันสมาชิกจะใช้เวลามาเลี้ยงสาหร่ายเพียงแค่ครึ่งวัน ส่วนเวลาที่เหลือสามารถไปประกอบอาชีพด้านอื่นได้ ถือว่าการเลี้ยงสาหร่ายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่องแต่ใช้เวลาน้อยนิด เสริมอาชีพภาคการเกษตรที่ปฏิบัติได้ตามปกติ "ตอนนี้ให้สมาชิกเลี้ยงสาหร่ายเป็นของตัวเอง การตลาด ตนเองและภรรยาจะรับซื้อจากสมาชิกในราคากิโลกรัมละ 100 บาท จากนั้นจะนำไปขายต่ออีกครั้ง ส่วนเหตุผลที่ต้องรับซื้อจากสมาชิกเพียงกิโลกรัมละ 100 บาทนั้น เนื่องจากสมาชิกทุกคนไม่ได้ลงทุนอะไร เพียงแต่ใช้แรงกายในการดูแลเลี้ยงสาหร่ายเท่านั้น ถือว่าเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านก่ออย่างต่อเนื่อง"

ขั้นตอนการเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า หรือสาหร่ายเกลียวทอง เป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากนัก ขั้นตอนและวิธีการเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองนั้น เริ่มต้นที่การขุดบ่อคลุมด้วยผ้าพลาสติกในพื้นที่กลางแจ้ง ขณะนี้พื้นที่มี 30 บ่อ เป็นบ่อขนาด 4 x 20 เมตร ลึก 50 เซนติเมตร เป็นบ่อเลี้ยง บ่อพักน้ำ ขนาด 50 ลูกบาศก์เมตร เพื่อปล่อยน้ำสะอาดใส่คลอรีนพักไว้ 3-5 วัน อาหารจำพวกมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก สารโซเดียมคาร์ไบคาร์บอเนต โซเดียมไตรฟอสเฟต โพแทสเซียมไตรฟอสเฟต สารสกัดชีวภาพ ปุ๋ย เอ็นพีเค สูตร 16-16-16 จำนวน 15 กิโลกรัม ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทอง ระดับน้ำที่สูบจากหนองน้ำธรรมชาติเพียงพอตลอดทั้งปี เมื่อการเตรียมบ่อน้ำมีอาหารพร้อมก็ใส่พันธุ์สาหร่ายเกลียวทอง ที่คัดสรรคุณภาพความสมบูรณ์เอาไว้ผสมลงไปในบ่อน้ำในอัตราน้ำ 50 ตัน ต่อสาหร่าย 25 ตัน แล้วกวนน้ำด้วยเครื่องจักรหรือกังหันน้ำ ที่ทำขึ้นมาใช้งานเฉพาะเวลากลางวัน เพื่อให้สาหร่ายผสมกับอาหารและได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง สาหร่ายเจริญเติบโตเต็มที่มีสีเขียวเข้มปนสีน้ำเงิน ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแสงแดดด้วย

นางมะลิวัลย์ กล่าวว่า การเก็บเกี่ยวสาหร่ายสไปรูลิน่า หรือสาหร่ายเกลียวทอง จะมีการดูดน้ำสาหร่ายในบ่อขึ้นไปกรองผ่านผ้าขาวบางแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดนำมาผึ่งให้แห้งที่อุณหภูมิ 40-45 องศาเซลเซียส การเก็บสาหร่ายภายในบ่อจะเก็บเพียง 3 ใน 4 ส่วนของบ่อเท่านั้น และต้องให้เหลือเป็นเชื้อพันธุ์อีก 1 ใน 4 ส่วนของบ่อ ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเพียงสองวัน ก่อนนำสาหร่ายไปตั้งบนเครื่องกรองน้ำออก นำไปตากแดดภายในโรงเรือนกระจกรังสีอัลตราไวโอเลต เมื่อแห้งได้ที่เก็บรักษาเข้าถุงสู่ขั้นตอนการผลิตครั้งสุดท้าย คือ การบดให้ละเอียดครั้งละ 100 กิโลกรัม โดยเครื่องบดบรรจุใส่ถุงพลาสติกปิดให้มิดชิด ในอุณหภูมิที่พอเหมาะคือแห้งและเย็น เตรียมการขนส่งสู่ตลาดกรุงเทพฯ ลำปาง เชียงใหม่ ระยะเวลาเพียง 10 วัน ขนาด 1 บ่อ สามารถสร้างรายได้มากกว่า 2,000 บาท/บ่อ

แม้วันนี้ แนวคิดของ "คงพร และ มะลิวัลย์ พรรณ์แผ้ว" มีการจัดรูปแบบของสถานที่ด้านการจัดรูปการส่งเสริมการเกษตร ที่ส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นหันมาเลี้ยงสาหร่ายเกลียวทองเป็นอาชีพ จะมีรายได้อย่างต่อเนื่องเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานในชุมชนได้ระดับหนึ่ง พร้อมมีการทดลองการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสามารถเจริญเติบโตดีมาก พร้อมเป็นข้อศึกษาสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง หากมีผู้สนใจติดต่อได้ที่ โทร. (043) 508-016, (01) 400-4459 หรือที่ E-mail. phanphaew.m@chaiyo.com

นายนพพร จันทรถง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวในตอนท้ายว่า การสร้างเงินสร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะการลงทุนของภาคประชาชนหากมีความผิดพลาดหรือเร่งการลงทุนโอกาสผิดพลาดสูง เพราะหากเกิดลัทธิการเอาอย่างเป็นข้อเสียหายได้ ฉะนั้น จังหวัดร้อยเอ็ดจึงส่งผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องคอยกำกับเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน

บัวบก...ปลูกง่ายขายดี

centella

 

บัวบก เป็นชื่อที่เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ และประกอบกับประโยคที่มีการพูดอยู่เสมอว่าดื่มน้ำใบบัวบกจะช่วยแก้อาการอกหักได้ แก้ช้ำในได้ ทำให้ชุ่มคอ ชื่นใจ ในทุกยุคทุกสมัยน้ำใบบัวบกจึงมีให้หาดื่มได้ไม่ยากนัก เช่น ในสมัยก่อนน้ำใบบัวบกจะมีวางขายในบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ หรือไม่ก็วางบนรถเข็นเร่ขายตามตลาดทั่วไปในราคาแก้วละไม่กี่สตางค์ แต่ปัจจุบันนี้มีพ่อค้าแม่ค้าหรือกลุ่มแม่บ้านเกษตรนำใบบัวบกมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรส่งวางขายตามห้างสรรพสินค้า ทั้งเล็กทั้งใหญ่เพื่อให้บริการกับทุก ๆ ท่านได้มากขึ้น
นอกจากการแปรรูปเป็นน้ำใบบัวบกเครื่องดื่มสมุนไพรแล้ว ใบและเถาบัวบกยังได้นำไปเป็นพืชผักในครัวเรือน ตามร้านอาหารหรือสวนอาหาร มีการนำไปจัดเป็นผักสดรวมกับผักอื่น ๆ ให้เป็นผักเครื่องเคียงรับประทานกับแกงเหลืองอาหารรสแซบแบบปักษ์ใต้ รับประทานกับลาบ น้ำตก น้ำพริก ผัดไทย ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน หรือเป็นเครื่องเคียงรับประทานกับแนมเนืองอาหารแบบชาวเวียดนาม ซึ่งไม่ว่าจะนำใบและเถาบัวบกมาแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร หรือนำมาเป็นผักสดรับประทานกับกับข้าวหรือแบบอื่นใดก็ตามต่างช่วยชูรสให้การรับประทานอาหารมื้อนั้นอร่อยเพิ่มขึ้นนอกจากนี้การรับประทานผักอย่างสม่ำเสมอยังได้ช่วยในระบบการย่อยอาหารและให้คุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ณ เวลานี้การปลูกบัวบกจึงเป็นพืชผักที่เลือกเป็นอาชีพเพื่อการผลิตให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดีอีกพืชหนึ่ง
บัวบกผัก พื้นบ้านที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นอีกพืชหนึ่งที่ขณะนี้ยังมีพื้นที่การปลูกไม่มากนัก ในบางท้องถิ่นที่มีการปลูกบัวบกก็ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมจากสำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัดให้มีการปลูกเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นในการเสริมสร้างรายได้ แต่ก็มีเกษตรกรบางรายได้นำไปปลูกเป็นอาชีพหลักก็มี โดยทั่วไปแล้วบัวบกเป็นพืชปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ ที่ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เกษตรกรให้ความสนใจปลูกบัวบกเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริมเพื่อเสริมสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวให้มีความมั่นคง
เทคนิคและวิธีการปลูกบัวบก คุณไพศาล พวงแย้ม เกษตรกรผู้หนึ่งที่ปลูกบัวบก อยู่ที่ตำบล แพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมนั้นประกอบอาชีพการทำนา 30 ไร่เป็นหลักเพียงกิจกรรมเดียว มีครั้งหนึ่งจากหลายครั้งที่เดินทางไปติดต่อซื้อขายสินค้าเกษตรในเขตจังหวัดนครปฐม ทำให้ได้พบเพื่อนเกษตรกรคนหนึ่งที่นำบัวบกมาขายจึงได้คุยกันและทำให้เกิดการเรียนรู้เรื่องการปลูกบัวบกขึ้นมา เมื่อกลับมาถึงบ้านในระยะแรกยังไม่ได้คิดไม่ได้สนใจที่จะปลูกหรือนำวิธีการปลูกบัวบกมาเป็นอาชีพแต่อย่างใด เมื่อเวลาผ่านไป 5 - 6 ปี ทุกครั้งที่เดินทางไปค้าขายสินค้าเกษตรที่จังหวัดนครปฐมได้สังเกตุเห็นว่าการค้าขายบัวบกของเพื่อนเกษตรกรในตลาดที่จังหวัดนครปฐม
เป็นไปได้ด้วยดี เมื่อกลับมาจึงได้ปรึกษากันในครอบครัวและได้ตัดสินใจด้วยกันว่าต้องนำการปลูกมาเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา เริ่มแรกได้ตัดสินใจปรับพื้นที่นา 2 งานทำการปลูกบัวบกและปลูกเรื่อยมากระทั่งเพิ่มมาเป็น 4 ไร่ในปัจจุบันนี้และนับถึงเวลานี้ก็ปลูกบัวบกมาปีกว่าแล้ว
บัวบก เป็นไม้เลื้อยสูงจากพื้นดิน 15 - 20 เซนติเมตร รากงอกออกตามข้อของลำต้น ส่วนทางด้านบนของข้อจะเป็นส่วนที่แตกยอดหรือใบอ่อนด้วย เป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุก 2 - 6 ใบ ดอกสีม่วงแดงเข้ม ส่วนที่นำมารับประทาน คือ ใบ และเถา มีรสชาติอร่อยเช่นเดียวกับพืชผักชนิดอื่น ๆ
การปลูกบัวบกครั้งแรกได้ปลูกด้วยเมล็ด โดยได้แบ่งซื้อเมล็ดพันธุ์บัวบกจากเพื่อนเกษตรกรที่จังหวัดนครปฐม โดยนำมาเพาะในกระบะ ก่อนเมื่อต้นกล้าแข็งแรงหรือมีอายุ 15 - 25 วัน จากนั้นจะย้ายกล้าลงปลูกในแปลง ทำการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ พร้อมกับเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของบัวบกไปด้วย หลังจากเก็บเกี่ยวบัวบกไปขายหมดแล้วต่อมาได้พัฒนาการปลูกบัวบกจากการปลูกด้วยเมล็ดไปเป็นการปลูกโดยใช้ไหลหรือลำต้นทำให้เก็บผลผลิตได้ไวกว่าการปลูกด้วยเมล็ด

การเลือกพื้นที่ปลูกบัวบก พื้นที่ที่ปลูกบัวบกต้องเป็นพื้นที่ดอนไม่มีน้ำขังหรือควบคุมน้ำได้ดี พื้นที่ปลูกที่นี่เป็นดินนาค่อนข้างเหนียวการเตรียมดินได้ทำการไถพรวนดินในพื้นที่นาให้ร่วนซุยเช่นเดียวกันกับการปลูกพืชผักทั่ว ๆ ไปแล้วตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 10 วันก่อนปลูกจะช่วยป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชที่ฝังตัวอยู่ในดินได้ระดับหนึ่งหรือหมดไป จากนั้นยกร่องเป็นแปลงปลูกกว้าง 4 เมตร ส่วนทางด้านความยาวของแปลงปลูกได้ปล่อยไปตามขนาดความยาวของพื้นที่ ระหว่างแปลงปลูกจัดเป็นร่องน้ำหรือทางเดินกว้าง 50 เซนติเมตร และลึก 15 เซนติเมตร สำหรับระยะปลูกหรือปักชำที่เหมาะสมคือจัดให้หลุมปลูกห่างกันด้านละ 15 x 15 เซนติเมตร เมื่อทำการปลูกหรือปักชำแล้วรดน้ำพอชุ่ม หลังจากปลูกหรือปักชำ 7 วันไหลหรือลำต้นบัวบกจะเจริญเติบโตแตกยอดออกมาใหม่ 1 - 2 ยอด เมื่อบัวบกเจริญเติบโตเต็มที่ตามความเหมะสมไหลหรือลำต้นจะแผ่กระจายออกเต็มพื้นที่แปลงปลูก พร้อมที่จะให้ผลผลิต

การใส่ปุ๋ย ตลอดฤดูการปลูกบัวบกได้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่ปุ๋ยหลังจากปลูก 15 - 20 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือบางครั้งจะใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 3 - 4 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยครั้งที่สองจะห่างจากการใส่ครั้งแรก 15 - 20 วันโดยเปลี่ยนเป็นใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยเสร็จแล้วจะต้องรดน้ำให้ชุ่ม สำหรับอัตราการใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะดูการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสมบูรณ์ของต้นบัวบกด้วย จึงจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ศัตรูของบัวบก ที่พบได้แก่หนอนคืบที่มากัดกินใบ เป็นศัตรูบัวบกชนิดหนึ่ง ถ้าหนอนชนิดนี้ระบาดมากมันจะกัดกินใบจนเหลือแต่ก้าน หรืออาจทำความเสียหายได้ทั่วทั้งแปลง จากการที่เคยสังเกตุได้พบว่าตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนเมื่อกะดูโดยสายตามันจะมีขนาดเล็ก ปีกกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ปลายปีกหน้าและปีกหลังมีสีน้ำตาลอมสีเทา ลำตัวยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนหัวเป็นสีน้ำตาล
ลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน นอกจากหนอนชนิดนี้แล้วยังไม่เคยพบศัตรูบัวบกชนิดอื่นอีกเลย

การป้องกันกำจัดหนอนที่มากัดกินใบ   ถ้าพบจำนวนไม่มากจะเก็บตัวมันออกไปทำลายทิ้งหรือหากพบว่ามีจำนวนมากต้องใช้สารเคมีกำจัด ต่อมาได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ให้นำเมล็ดลางสาดจำนวน 1.5 กิโลกรัมมาบด นำไปผสมกับน้ำ 1 ปี๊บหมักทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมากรองเอาแต่เฉพาะน้ำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลง หรืออีกวิธีหนึ่งที่ใช้สลับกันคือ นำต้นมะเขือเทศมาหั่นให้ละเอียดอัตราส่วน 2 กำมือไปใส่ในน้ำร้อนจำนวน 2 ลิตรหมักทิ้งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมงแล้วกรองเอาแต่เฉพาะส่วนน้ำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลงจะป้องกันไม่ให้หนอนคืบมากัดกินใบบัวบกได้ ทั้ง 2 วิธีมีความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้รับประทานและประหยัดต้นทุนการผลิตด้วย

การให้น้ำ น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นในการให้น้ำบัวบกจะต้องพอเหมาะพอดี สำหรับที่นี่ได้จัดระบบการให้น้ำบัวบกเป็นแบบมินิสปริงเกลอใช้ต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์ครบชุด 30,000 - 40,000 บาท จากนั้นจัดวางท่อเอสล่อนที่ติดหัวสปริงเกลอลงบนกลางแปลงปลูกหลังจากที่ทำการปลูกบัวบกเสร็จแล้วให้มีระยะห่างกัน 4x6 เมตร การให้น้ำบัวบกทุกวันเช้า - เย็น นานครั้งละ 2 ชั่วโมงจะเพียงพอต่อการเติบโตของบัวบกได้ดีจ่ายค่าไฟฟ้าสำหรับสูบน้ำ 350 บาทต่อเดือน

การเก็บเกี่ยวบัวบก
คุณไพศาล พวงแย้ม เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า เมื่อมีการดูแลรักษาดี หลังจากปลูกประมาณ 60 - 90 วันก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวใบและเถาได้ โดยวิธีการเก็บได้ใช้เสียมเหล็กขนาดเล็กขุดเซาะบริเวณใต้รากแล้วดึงเอาต้นเถาบัวบกออกมาล้างน้ำ ทำความสะอาดเก็บใบเหลืองเศษวัชพืชอื่น ๆ ออกจากนั้นใช้มีดบางตัดบริเวณโคนต้นให้ได้ความยาวประมาณ 1 คืบนับจากปลายใบลงมา นำใบบัวบกจัดเป็นกำ ๆ ละ 1 ขีด นำไปบรรจุถุงพลาสติกถุงละ 50 กำหรือ 5 กิโลกรัม จัดขึ้นรถยนต์นำไปขายส่งให้กับพ่อค้าส่งที่ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง จังหวัดปทุมธานี อีกตลาดค้าส่งอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดนครปฐม ในเดือนเมษายน - พฤษภาคม เป็นช่วงที่บัวบกออกสู่ตลาดน้อยจะขายได้ราคาดีคือ 150 บาทต่อกิโลกรัม แต่ถ้าเป็นช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม บัวบกจะออกสู่ตลาดจำนวนมากจะขายในราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม ถ้าวางแผนการปลูกให้ดีจะสามารถเก็บบัวบกได้ตลอดปี ทุกวันนี้เมื่อนำบัวบกออกขายได้เงินเท่าใดแล้วจะหักต้นทุนการผลิตออก ซึ่งแต่ละครั้งจะมีรายได้ 500 บาทขึ้นไป

คุณดารณี ทองใบ นักวิชาการเกษตร กลุ่มพืชผัก กรมส่งเสริมการเกษตร เล่าให้ฟังว่า บัวบกเป็นพืชล้มลุกในเขตร้อน เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น ในบางพื้นที่ พบมีขึ้นได้ทั่วไปในพื้นที่ลุ่มและชื้นแฉะ การเจริญเติบโตของบัวบกจะเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบและรากแตกออกตามข้อของลำต้น ใบมีรูปร่างกลม ขอบใบหยัก ผิวใบด้านบนเรียบส่วนด้านล่างมีขนสั้น ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณข้อรูปร่างคล้ายร่มแต่ละช่อมี 3 - 4 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบสีม่วงอมแดง หลังจากปลูก 60 - 90 วันจะเริ่มเก็บเกี่ยวใบและเถาไปรับประทานหรือขายได้
ใบและเถาบัวบกเป็นพืชผักที่คนไทยนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการ ใบและเถาบัวบกมีกลิ่นหอม รสชาติมันอมขมเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ และอื่นๆ บัวบกยังเป็นพืชอีกทางเลือกหนึ่งที่มีการนำไปปรุงเป็นเครื่องสำอางและนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยารักษาโรค เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้มากขึ้น

คุณอรสา ดิสถาพร หัวหน้ากลุ่มพืชผัก กรมส่งเสริมการเกษตร เล่าให้ฟังว่า การส่งเสริมปลูกบัวบกนั้นคงต้องยอมรับกันว่าตลาดยังไม่เปิดกว้างมากนักเป็นพืชผักพื้นบ้านที่สำคัญทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้ดีพืชหนึ่ง แนวทางที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการอยู่ในขณะนี้คือ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดแต่ละจังหวัดส่งเสริมให้เกษตรกรมีการอนุรักษ์บัวบกหรือพืชผักอื่นๆ ให้พืชผักพื้นบ้านที่สำคัญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น หรือชุมชนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทั้งในรูปแบบที่เป็นพืชเสริมรายได้กับพืชอื่นเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านการผลิตและที่สำคัญจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ปลูกมีอาหารรับประทานในครัวเรือน นำไปขายเป็นการเสริมสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวเกษตรกร จากเรื่องราวของการปลูกบัวบกที่นำเสนอมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ยังมีอีกมาก สำหรับในแง่มุมการได้ประโยชน์
จากบัวบกนั้นได้นำข้อมูลจากผักพื้นบ้าน : ความหมายและภูมิปัญญาของสามัญชนไทย เอกสารของสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข 2540 : 147 มาเล่าสู่กันดังนี้ รสและประโยชน์ต่อสุขภาพของบัวบกจะมี รสมันอมขมเล็กน้อย มีกลิ่นหอม ช่วยระบายความร้อน บำรุงกำลัง ใบบัวบก 100 กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย 44 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยเส้นใย 2.6 กรัม แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10962 ไอยู (IU) วิตามินบีหนึ่ง 0.24 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.8 มิลลิกรัม และวิตามินซี 4 มิลลิกรัม ผู้เขียนขอบคุณคุณชัด ขำเอี่ยม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จากสำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท ที่ได้นำชมการปลูกบัวบก พืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นของจังหวัดชัยนาท เป็นการนำสิ่งที่ เป็นภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายออกมาเผยแพร่สู่ท่านผู้อ่าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้หรือมีประสบการณ์ในการนำไปประกอบเป็นอาชีพได้บ้าง ปัจจุบันบัวบกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้านเช่น นำไปเป็นผักสดรับประทานกับน้ำพริก แกงเหลือง ลาบ น้ำตก ผัดไทย และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนนำไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรส่งวางขายตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ หลายแห่ง ซึ่งได้ก่อให้เกิดรายได้ต่อเกษตรกรทั้งสิ้น ถ้าหากเกษตรกรท่านใดสนใจหรือยังมีที่ดินว่างๆ มีแรงงานมีเงินทุน มีความสามารถในการจัดการที่ดี และคิดที่จะให้มีงานทำโดยการปลูกบัวบกเพื่อให้เป็นพืชอีกทางเลือกใหม่ในการเสริมสร้างรายได้ที่นำไปสู่การพัฒนาความมั่นคงให้กับครอบครัวก็แวะไปชมวิธีการปลูกได้ที่สวนบัวบกของคุณไพศาล พวงแย้ม 17/1 หมู่ 1 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท โทร. 056 - 437336, 0 - 6203 - 9874 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลแพรกศรีราชา สำนักงานเกษตรอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ในสังกัดกรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 056 -481442 ก็ได้ครับ

งาขาวเมล็ดโต “อุบลราชธานี 2”

sesame02

 

งาเป็นพืชอาหารเพื่อสุขภาพที่คนนิยมบริโภคพืชหนึ่ง เป็นพืชที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ (มีแร่ธาตุประมาณ 4.1 – 6.5%) แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม เหล็ก ไอโอดีน สังกะสี และฟอสฟอรัส นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินโดยเฉพาะวิตามินบีมีอยู่เกือบทุกชนิด ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 บี 5 บี 6 บี 9 ไบโอดีน โคลีนไอโนซิตอล กรดพาราอะมิโนแบนโซอิค จึงทำให้งามีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท สมอง แก้อาการเหน็บชา อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย และเบื่ออาหาร นอกจากนี้งายังมีสารเลคซิติน (Lecithin) ประมาณ 0.65% ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลดระดับไขมันในเลือด น้ำมันงาเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพสูง ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงถึง 80 – 85% ได้แก่ กรดโอเลอิค 36 –40% ลิโนเลอิค 42 –50% นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ที่สำคัญคือ sesamol sesamin และ sesamolin ซึ่งเป็นสารกันหืนธรรมชาติ และมีคุณสมบัติในการช่วยให้การทำงานของตับดีขึ้น ลดระดับไขมันในเลือด
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกงาปีละประมาณ 385,000 – 392,000 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 32,000 – 39,000 ตันผลผลิตเฉลี่ย 89.7 กก./ไร่ งาที่ปลูกโดยทั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามสีของเปลือกหุ้มเมล็ด คือ งาขาว งาดำ และงาแดง จากข้อมูลฝ่ายสถิติ กองแผนงาน กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ในปี 2541 ประเทศไทยมีการผลิตงาแดงมากที่สุด 16,595 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 63 ของปริมาณงานทั้งหมดที่ผลิตได้ งาดำมีการผลิตรองลงมาคือ 7,755 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ส่วนงาขาวมีการผลิตน้อยที่สุดเพียง 1,988 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของปริมาณงานทั้งหมดที่ผลิตได้ งาขาวเมล็ดโตเป็นลักษณะเมล็ดงาที่ตลาดต้องการมากทั้งภายในและต่างประเทศจากสถิติการส่งออกของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2541 ปรากฏว่าประเทศไทยส่งออกงาขาว (ทั้งเมล็ดงาขาวและงาขัดเปลือก) มากที่สุด 2,348 ตัน งาดำส่งออก 1,018 ตัน ส่วนงาแดง ไม่มีรายงานการส่งออก เนื่องจากตลาดต่างประเทศบริโภคเฉพาะงาขาวและงาดำเท่านั้น โดยทั่วไป เกษตรกรนิยมปลูกงาแดง หรืองาดำ – แดงเป็นส่วนใหญ่ จะเห็นได้จากปริมาณการผลิตสูงถึง 63 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณการผลิตทั้งหมดในขณะที่การส่งออกจะส่งในรูปของงาขาว ดังนั้น จึงต้องผ่านกระบวนการเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก ทำให้เมล็ดเป็นสีขาว เรียกว่า งาขัด ก่อนส่งออก ดังน้นถ้าพันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นงาขาวจะทำให้ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในกระบวนการขัดงาลงจึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์งาเพื่อให้ได้งาขาวเมล็ดโต ซึ่งเป็นลักษณะเมล็ดที่ตลาดต่างประเทศต้องการ มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะธาตุแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง

ขั้นตอนการปรับปรุง
ในปี 2529 ได้ทำการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างงาขาวพันธุ์มหาสารคาม 60 (พันธุ์แม่) ซึ่งเป็นพันธุ์งาขาวที่ให้ผลผลิตสูง (ผลผลิตเฉลี่ย 116 กก./ไร่) มีขนาดเมล็ดค่อนข้างโต (น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 2.90 กรัม) กับพันธุ์ Terrass 77 (พันธุ์พ่อ) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดเมล็ดโต (น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 3.50 กรัม) ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ในปลายฤดูฝน 2529 ปลูกและคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 2 – 7 ระหว่างปี 2530 – 2532 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีแล้วนำเข้าประเมินผลผลิตตามศูนย์ และสถานีทดลองพืชไร่ต่าง ๆ ดังนี้

การเปรียบเทียบเบื้องต้น
ในต้นฤดูฝนปี 2533 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ RCB 2 ซ้ำ จำนวน 59 สายพันธุ์/พันธุ์ ปลูกงาพันธุ์ละ 2 แถว ๆ ยาว 7 เมตรใช้ระยะปลูก 50x10 ซม. ถอนแยกให้ได้ระยะตามที่กำหนด เมื่องาอายุ 20 วัน หลังถอนแยกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่า งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) มีขนาดเมล็ดโต โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.27 กรัม โตกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ทีมให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 2.97 กรัม หรือมากกว่าร้อยละ 10 และให้ผลผลิต 129 กก./ไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์มหาสารคาม 60 ที่ให้ผลผลิต 135 ก./ไร่ คัดเลือกสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้ได้ 11 สายพันธุ์

การเปรียบเทียบมาตรฐาน
ในต้นฤดูฝนปี 2534 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และสถานีทดลองพืชไร่ร้อยเอ็ด วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ จำนวน 15 สายพันธุ์/พันธุ์ ปลูกงาพันธุ์ละ 4 แถว ๆ ยาว 7 เมตร ใช้ระยะปลูก 50x10 ซม. ถอนแยกให้ได้ระยะตามที่กำหนด เมื่องาอายุ 20 วันหลังถอนแยกใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.20 กรัม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 113 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ที่ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 2.99 กก. และให้ผลผลิต 95 กก./ไร่ หรือสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 7 และ 9 ตามลำดับ คัดเลือกสายพันธุ์ต่าง ๆ ไว้ได้ 8 สายพันธุ์

การเปรียบเทียบในท้องถิ่น
ในต้นฤดูฝนปี 2536 ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และสถานีทดลองพืชไร่เลย ปลายฤดูฝนปี 2536 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี สถานีทดลองพืชไร่เลย และสถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก ต้นฤดูฝนปี 2537 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่มุกดาหาร และสถานีทดลองพืชไร่เลย ปลายฤดูฝนปี 2537 ที่สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ สถานีทดลองพืชไร่มหาสารคาม และศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราธานี วางแผนการทดลองแบบ RCB4 ซ้ำ จำนวน 10 สายพันธุ์พันธุ์ ปลูกงาพันธุ์ละ 6 แถว ๆ ยาว 7 เมตร ใช้ระยะปลูก 50 x 10 ซม. ถอนแยกให้ได้ระยะตามที่กำหนด เมื่องาอายุ 20 วัน หลังถอนแยกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.08 กรัม สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 5 และให้ผลผลิต 15 กก./ไร่ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับพันธุ์มหาสารคาม 60 ที่ให้ผลผลิต 123 กก./ไร่ คัดเลือกสายพันธุ์ต่าง ๆ ได้ 4 สายพันธุ์

การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร
ในต้นฤดูฝนปี 2538 ดำเนินการที่ไร่เกษตรกร จังหวัดเลย ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สงขลา ในปลายฤดูฝนปี 2538 ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดเลย ศรีสะเกษ มุกดาหาร มหาสารคามและเพชรบูรณ์ วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ จำนวน 6 สายพันธุ์/พันธุ์ ปลูกงาพันธุ์ละ 10 แถว ๆ ยาว 8 เมตร ใช้ระยะปลูก 50 x 10 ซม. ถอนแยกให้ได้ระยะตามที่กำหนด เมื่องาอายุ 20 วันหลังถอนแยกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.22 กรัม สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ที่ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 2.99 กรัม หรือสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 8 และให้ผลผลิตเฉลี่ยเฉลี่ย 99 กก./ไร่ ใกล้เคียงกับพันธุ์มหาสารคาม 60 (102 กก./ไร่) คัดเลือกไว้ได้ 2 สายพันธุ์

การทดสอบในไร่เกษตรกร
ดำเนินการในต้นฤดูฝนปี 2540 ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ลพบุรี เลย ปลายฤดูฝนปี 2540 และ 2541 ที่ไร่เกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ลพบุรี เลย และเพชรบูรณ์ ปลูกแบบไม่มีซ้ำ ประกอบด้วย 3 สายพันธุ์/พันธุ์ มีงาขาวพันธุ์มหาสารคาม 60 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ปลูกงาตามวิธีของเกษตรกร โดยใช้อัตราเมล็ด 1 กก./ไร่ ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 500 กก./ไร่ หว่านปุ๋ยพร้อมปลูก ผลการทดลองพบว่า พันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.24 กรัม สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ที่ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.04 กรัม หรือสูงกว่าคิดเป็นร้อยละ 7 และให้ผลผลิต 153 กก./ไร่ เท่ากับพันธุ์มหาสารคาม 60

ประเมินการยอมรับของเกษตรกร
ได้จัดทำแปลงสาธิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) ที่สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท สถานีทดลองพืชไร่เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในปี 2544 พร้อมจัดอบรมการปลูกงาที่ถูกต้องและเหมาะสมและการแปรรูปงารวม 4 ครั้ง มีเกษตรกรเข้าร่วมฝึกอบรมและประเมินการยอมรับพันธุ์ของเกษตรกร จำนวน 186 ราย โดยใช้แบบสอบถาม พบว่าเกษตรกรทั้งหมดให้การยอมรับในงาสายพันธุ์นี้ เนื่องจากมีจำนวนฝักดก มีขนาดเมล็ดโตและสีขาวสะอาด ได้กระจายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรเพื่อขยายผลให้มากขึ้น

ลักษณะเด่นของงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2

1. มีขนาดเมล็ดโต (น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 3.18 กรัม) โตกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 60
2. ให้ผลผลิตสูง 122 กก./ไร่ เท่ากับพันธุ์มหาสารคาม 60
3. มีปริมาณสาร antioxidants 10,771 มก./กก. สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 16
4. มีปริมาณธาตุแคลเซียม 0.69% สูงกว่าพันธุ์มหาสารคาม 60 ร้อยละ 6

ข้อควรระวัง
งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) ไม่ต้านทานต่อโรคเน่าดำที่เกิดจากเชื้อรา Macrophomina phaseolina และโรคไหม้ดำที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum เช่นเดียวกับพันธุ์มหาสารคาม 60 ในแหล่งที่มีโรคระบาดรุนแรง ควรปฏิบัติดังนี้

1. ควรไถตากดินทิ้งไว้ก่อนปลูกงาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อ
2. คลุกเมล็ดงาก่อนปลูกด้วยสารแคปแทนหรือเบนโนบิล อัตรา 2.5-5 กรัม/เมล็ด 1 กิโลกรัม หรือใช้สารดังกล่าวอัตรา 15 – 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้นงาเมื่ออายุ 15 30 และ 45 วัน เพื่อควบคุมโรคเน่าดำ
3. ปลูกพืชหมุนเวียนที่ไม่เป็นพืชอาศัยของเชื้อทั้งสอง ชนิดหมุนเวียนกับงา เช่น ถ่วพร้า อ้อยคั้นน้ำและปอแก้ว
4. เมื่อพบต้นเป็นโรคให้รีบถอนและเผาทำลาย

พื้นที่แนะนำ
งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี2 (LH 220) สามารถใช้เป็นพันธุ์ปลูกได้ทั่วไปของภาพการผลิตงาของประเทศไทย โดยเฉพาะในสภาพดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงในปลายฤดูฝน จะได้ให้ผลผลิตสูงและเมล็ดมีคุณภาพดี

ความพร้อมของพันธุ์
ในปี 2545 ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานีได้ผลิตเมล็ดพันธืหลักงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 (LH 220) จำนวน 5 ไร่ จะได้เมล็ดพันธุ์หลักจำนวน 0.5 ตัน ซึ้งสามารถปลูกขยายได้ในพื้นที่ 500 ไร่

การตั้งชื่อ
เนื่องจากการทดลองส่วนใหญ่ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี และได้เคยรับรองพันธุ์งามาแล้วคืองาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 จึงขอตั้งชื่องาสายพันธุ์ใหม่ว่า “งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2” (Ubonratcha- thani 2) และได้ผ่านมติคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธืกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545

ลักษณะทางการเกษตร

 

ลักษณะ

อุบลราชธานี 2

มหาสารคาม 60

1. อายุออกดอก (วัน)

2. อายุเก็บเกี่ยว (วัน)

3. ความสูง (ซม.)

4. จำนวนกิ่งต่อต้น

5. จำนวนฝักต่อต้น

6. น้ำหนัก 1,000 เมล็ด (กรัม)

7. ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่)

30 – 32

80 – 85

148

0 – 1

38.3

3.18

122

28 – 32

75 – 85

147

0 – 1

39.8

2.99

122

 

ที่มา : จากแปลงเปรียบเทียบเบื้องต้น มาตรฐาน ในท้องถิ่น ในไร่เกษตรกร และแปลงทดสอบในไร่
เกษตรกร รวม 34 แปลง

คุณสมบัติทางเคมี

 

ลักษณะ

อุบลราชธานี 2

มหาสารคาม 60

1. น้ำมัน (%)

2. Antioxidants (มก./กก.) 1/

3. ธาตุแคลเซียม (%) 1/

4. ธาตุโพแทสเซียม (%) 1/

5. ธาตุฟอสฟอรัส (%) 1/

49.3

10,771

0.69

0.4

042

48.7

9,255

0.65

0.48

0.66

 

1/ วิเคราะห์โดยกองเกษตรเคมี
ที่มา : จากแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกรปี 2538

บัว...เส้นทางสู่พืชเศรษฐกิจ

lotus

 

"บัว" เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา สำหรับคนไทยแล้วจะถือว่า "บัว" เป็นดอกไม้ชั้นสูงใช้บูชาพระ ในวรรณคดีไทยหลายเรื่องได้กล่าวถึง "บัว" ในหลายลักษณะ ทั้งที่เปรียบเทียบกับสรีระของผู้หญิง ใช้อุปมาอุปไมยกับสติปัญญา หรือพฤติกรรมของคน และเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นผู้มีบุญ เช่น

เปรียบกับสรีระของผู้หญิง
"บัวตูมติดขั้วบังใบ บังใบท้าวไท
ว่าเต้าสุดาดวงมาลย์"

อุปมาอุปไมยกับพฤติกรรมของคน
"บงกชเกิดต่ำต้อย โคลนตม
มั่นมุ่งเบื้องอุดม ฝ่าน้ำ
ขุ่นใสไป่ยอมจม อยู่ใต้
บริสุทธิ์ผุดผ่องล้ำ เหล่าไม้ ดอกงาม"

เป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญ
"บังเกิดเป็นปทุมเกสร
อรชรรับแสงพระสุริฉาน
ขึ้นในอุทรแล้วเบิกบาน
มีพระกุมารโฉมยง
อยู่ในห้องดวงโกเมศ
ดั่งพรหมเรืองเดชครรไลหงส์
จึงพระกฤษณฤทธิ์รงค์
อุ้มองค์กุมรรแล้วเหาะมา"
(รามเกียรติ์ ตอน กำเนิดท้าวอโนมาตัน)

ปรมาจารย์ทาง "บัว"

ตั้งใจมานานแล้วว่า อยากเขียนเรื่อง "บัว" เพราะได้เห็นบัวในที่ต่าง ๆ สีสันแปลกๆ ลักษณะดอกก็ไม่เหมือนกันเข้าใจว่าชื่อก็คงต่างกัน แต่เราไม่รู้จัก เรียกแต่ "บัว" สงสัยอีกว่าทำไมดอกบัวเหมือนกัน แต่บางชนิดบานตอนกลางวัน บางชนิดบานตอนกลางคืน สาย ๆ หน่อยก็หุบ แล้ว สงสัยอีกว่า บัวผัน บัวเผื่อน บัวหลวง บัวสาย ต่างกันอย่างไร และบัวที่เราเคยเห็นและชอบถ่ายภาพเก็บไว้นั้นเป็นบัวชนิดใด เม็ดบัวที่เราชอบรับประทานนอกจากบัวหลวงแล้วเม็ดบัวชนิดอื่นมีหรือไม่ และรับประทานได้หรือไม่
เมื่อหลายปีมาแล้ว เคยสัมภาษณ์เกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น เรื่องการทำนาบัว เป็นสารคดีโทรทัศน์รู้สึกสนใจ แต่นาบัวนั้นเน้นการเก็บดอกขาย ยังคิดอยู่ว่าทำไมเขาไม่ขายส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น ใบบัว ฝักบัว และเม็ดบัว ซึ่งน่าจะมีรายได้ดีกว่าการขายดอกอย่างเดียว ล่าสุด เมื่อเร็ว ๆ นี้ ฟังวิทยุผู้จัดการรายการนำข่าวเรื่องของสมุนไพรมาเสนอตอนหนึ่งก็บอกว่า มีผู้เสนอให้นำบัวมาผลิตยาเหมือนยาไวอะกร้า ก็เลยสนใจบัวขึ้นมาอีก ไม่ได้สนใจยาไวอะกร้า แต่สนใจว่าในแง่ของสมุนไพรแล้ว บัวทำอะไรได้บ้าง
ในหนังสือกสิกรฉบับประจำเดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 2546 ได้เคยนำเรื่องของสมุนไพรจีนมาเสนอ มีการกล่าวถึง "บัว" ด้วยว่า บัวหรือที่ชาวจีนเรียกว่า "ฮ้อ" มีสรรพคุณใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในตำรับยาจีนโบราณเป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของบัวเกือบทุกส่วน ได้แก่ ดอกบัว ใบบัว เมล็ดบัว รากบัว และไหลบัว ถ้าท่านอยากทราบว่าแต่ละส่วนมีสรรพคุณอย่าไรบ้าง โปรดหากสิกร เล่มนั้นมาเปิดอ่านดูอีกครั้ง ย้อนกลับไปเรื่องข่าววิทยุในข่าวเอ่ยถึง ดร. เสริมลาภ วสุวัต ว่าเป็นผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว จริง ๆ แล้วทราบมานานแล้วว่า ท่านเป็นปรมาจารย์ในเรื่องของบัว ประกอบกับได้ไปค้นหนังสือกสิกรฉบับเก่าๆ พบว่าฉบับประจำเดือนมีนาคม - เมษายน 2535 คุณขวัญตา กังวาลวชิระธาดาและคุณปริญญา ชินโนรส ได้ไปสัมภาษณ์ ดร. เสริมลาภ นำมาเขียนเรื่อง "สวนบัวนานาพันธุ์" จึงคิดว่า จะเป็นไรไปถ้า "กสิกร" จะไปสัมภาษณ์อาจารย์อีกสักครั้ง หลังจากวันเวลาผ่านไปกว่า 10 ปี
บ้าน "ปางอุบล" เลขที่ 150/5 ซอยติวานนท์ 46 (ซอยธรรมนูญ) ถ. ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี คือ บ้านพักของ ดร.เสริมลาถ วสุวัตในเนื้อที่กะด้วยสายตาว่าน่าจะกว่า 5 ไร่ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่รอบบ้าน หน้าบ้านเป็นสระบัวขนาดใหญ่ อ่างบัวขนาดต่างๆ วางเรียงรายสมกับชื่อว่า "ปางอุบล" แต่อยากจะเรียกว่า "อุทยานบัว" มากกว่า มีบัวสีต่าง ๆ บานรับแสงแดดยามสายที่เริ่มร้อนแรงขึ้นตามลำดับ ผึ้งตอมเกสรบัวกันสนุกสนาน คนสวนกำลังทำงานลอกสระ ตัดหญ้า และตกแต่งกอบัว อาจารย์ ดร.เสริมลาภเองสวนกางเกงขาสั้น เสื้อผ้าป่านคอกลมผ้าขาวม้าคาดเอว ใส่หมวกปีกกว้าง กำลังนั่งทำงานอยู่กับอ่างบัวของท่าน เมื่อผู้เขียนเข้าไปแนะนำตัว ท่านจึงนึกได้ว่านัดกันไว้ ท่านละจากงานและกระตือรือล้นรีบนำผู้เขียนไปถ่ายภาพบัวชนิดที่บานกลางคืน ก่อนที่บัวจะหุบในเวลาประมาณ 10 โมงเช้า เสร็จแล้วจึงมานั่งคุยกันในบรรยายกาศสงบร่มรื่นใต้ต้นไม้ใหญ่
ผู้เขียนแนะนำกับเพื่อนที่ไปด้วยกันว่า ดร. เสริมลาภ เป็นผู้เชี่ยวชาญยางพารา ของกรมวิชาการเกษตร ท่านรีบบอกว่า "ไม่ได้เชี่ยวชาญยางอย่างเดียว ทำมาสารพัดอย่าง" พร้อมกับท้าวความหลังให้ฟัง

ชนิดของบัว
ดร. เสริมลาภ จำแนกชนิดของบัวให้ฟังว่า เขาจัด ประเภทของบัวประดับไว้ 6 ชนิด ได้แก่

บัวหลวง เป็นบัวชนิดเดียวที่มีก้านแข็ว มีหนาม ก้านชูพ้นน้ำ มี 2 กลุ่มสีคือ กลุ่มเฉดสีแดง กับเฉดสีขาว
บัวฝรั่ง เรียกว่า Hardy Waterlily ถิ่นกำเนิดอยู่ในยุโรปและอเมริกา เขตอบอุ่นและเขตหนาว ไม่เกิดในเขตร้อน ใบเล็ก ต้นเล็ก ใบลอยบนน้ำ ดอกลอยบนผิวน้ำ มี 5 สี ขาว ชมพู แดง เหลือง และสีอมแสด
บัวผัน เป็นบัวที่มีดอกชูบานกลางวัน เรียกว่า Day - Blooming Tropical Waterlily มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนมีลักษณะที่แตกต่างจากบัวฝรั่ง คือ ดอกชูพ้นน้ำแต่ใบลอยเหนือน้ำ ดอกมี 9 สี คือ ขาว ชมพู แดง เหลือง แสด ฟ้าคราม ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน สีเหลือบ (เหลือบระหว่างฟ้ากับเหลือง) บัวผันมีข้อเสียคือ กลีบดอกไม่ซ้อน ข้อดีคือมีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับนำมาทำเครื่องประทินผิวและน้ำหอม ซึ่งภรรยาอาจารย์พยายามจะทำแต่ท่านต้องจากไปเสียก่อนจะทำเสร็จ อาจารย์ ดร. เสริมลาภ บอกว่าพยายมปรับปรุงพันธุ์บัวผันให้มีกลีบซ้อนมาก ๆ โดยธรรมชาติแล้ว บัวผันและบัวสาย จะมีกลีบดอกไม่เกิน 20 กลีบ แต่อาจารย์ได้พยายามพัฒนาพันธุ์เพิ่มกลีบมาได้ 30 กลีบแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการคัดเลือกพันธุ์ (Natural Selection)
บัวสาย เป็นบัวไทยแท้ เรียก Night - Blooming Tropical Waterlily เป็นบัวที่มีดอกชู เกิดในเขตร้อน บานกลางคืน คือบานตอนหัวค่ำ จะไปหุบในช่วงเวลา 9 - 10 โมงเช้าวันรุ่งขึ้น มี 3 สี คือ ขาว ชมพู แดง ขยายพันธุ์ง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม ข้อเสียคือ กลีบดอกไม่ซ้อนแต่มีดอกโต มีกลิ่นหอมเล็กน้อย
จงกลนี อันที่จริงจัดอยู่ในกลุ่มบัวผัน สันนิษฐานว่าเกิดจากการ Mutation นานมาแล้ว อยู่ในเมืองไทยเป็นร้อย ๆ ปี แต่ไม่มีใครดึงมาเผยแพร่ อาจารย์เสริมลาภไปพบเข้า จึงนำศึกษา หาวิธีการขยายพันธุ์ จนกระทั่งทุกวันนี้ บัวจงกลนีไปแพร่หลายอยู่ในต่างประเทศแล้ว อาจารย์บอกว่า "เป็นบัวไทยแท้แต่โบราณ" ลักษณะเหมือนบัวฝรั่ง คือ ใบและดอกลอยบนน้ำ ใบมีลักษณะเหมือนบัวผัน ลักษณะพิเศษคือดอกบานและไม่หุบ ผิดกับบัวผัน บัวสาย และบัวหลวง ที่ดอกจะบานและหุบสลับกัน บัวผัน บัวสาย จะบาน 3 วันแล้วทุบ บัวหลวงบาน 4 วัน แล้วหุบแล้วบานใหม่ แต่จงกลนีจะบาน 7 วันแล้วโรยไปเลย
บัวกระด้ง เป็นบัวมาจากอเมริกาใต้ บางคนเรียกว่า บัววิคตอเรีย ใบลอยแตะผิวน้ำ ขอบใบยกตั้ง และมีหนาม ใบมีขนาดใหญ่มาก
นอกจากนี้ยังมี บัวนางกวัก ซึ่งเป็นบัวที่มีดอกแปลกกว่าบัวอื่น ๆ คือ ดอกมีกลีบเลี้ยงใหญ่เหมือนกลีบดอก มีสีเขียว ซึ่งอาจารย์ ดร.เสริมลาภ บอกว่า บัวนางกวักจัดอยู่ในกลุ่มบัวผันเพราะสามารถผสมข้ามพันธุ์กับบัวผัน "บัวนางกวัก หลุกมาจากไหนไม่ทราบ พวกแม่ค้าขายบัว บอกว่ามาจากอินเดีย ระยะแรกมีสีเดียวคือสีชมพู ตอนหลังมาผสมกับบัวไทยขณะนี้มีถึง 6 สีแล้ว ผมเอามาปลูกเป้นคนแรก และมีคนเอาไปผสมพันธุ์ก็ได้พัฒนาขึ้นมามีถึง 6 สี" อาจารย์เล่าถึงบัวนางกวัก   เมื่อถามถึงการจดสิทธิบัตรคุ้มครองพันธุ์บัวต่าง ๆ ที่อาจารย์ได้ผสมขึ้นมาใหม่ อาจารย์รีบบอกว่า "ผมไปจดที่เมืองนอก ก็ไม่ถึงขั้นเป็นสิทธิบัตรอะไร เป็นแต่เพียงไปจดทะเบียนไว้ว่า บัวพันธุ์นี้ ลักษณะนี้ ชื่อนี้ เป็นของไทย จดทะเบียนไว้ที่ International Waterlily ซึ่งเป็นของ Water Gardenin Society "ไปขึ้นทะเบียนไว้เป็นสิบ ๆ พันธุ์แล้ว แต่สิทธิบัตรของไทยเราไม่ทราบว่าเขาพร้อมจะให้เขาจดหรือยัง เห็นบอกว่าไปขึ้นทะเบียนไว้ได้ แต่จดสิทธิบัตรยังไม่ได้" คงจะเป็นอย่างที่ท่านอาจารย์ว่า "บัว" ยังไม่อยู่ในรายชื่อพืชที่มีสิทธิได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

เป็นนักผสมพันธุ์บัว
อาจารย์ ดร.เสริมลาภ เล่าให้ฟังถึง การปลูกเลี้ยงบัวตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงขณะนี้ว่า "ผมเป็นนักรวบรวมพันธุ์บัวตอนที่อยู่กองการยาง ผมไปเมืองนอกทุกปี ๆ ละ 3 - 4 ครั้ง เพราะมีเรื่องที่ต้องไปเกี่ยวข้องมากมาย ไปทีไรเมื่อเสร็จภารกิจแล้วก็จะขอลากิจส่วนตัว 1 - 2 วัน ไปหาเก็บบัวพวกนี้มา รวบรวมมาตั้งแต่ ปี 2512 เดี๋ยวนี้ก็ยังทำอยู่แจ่ช่วงปลาย ๆ คือ ช่วงนี้ การสั่งบัวเข้ามามีน้อยลง เราสามารถพัฒนาพันธุ์ของเราเองขึ้นมาได้แล้ว เดี๋ยวนี้แทบไม่ได้สั่งพันธุ์บัวมาจากต่างประเทศเลยนอกจากเพื่อนฝูงจากเมืองนอกมาหา อยากได้อะไรก็บอกให้เขาเอามาฝาก" การนำบัวเข้ามานั้น อาจารย์กล่าวว่า ถ้าเป็นบัวผัน หรือบัวสาย จะนำเข้ามาเป็นหัว ถ้าเป็นบัวฝรั่ง เขาขาย เป็นเหง้า ที่เรียกว่า Root หรือ Rhizome ก็นำเข้ามาเป็นเหง้ามียอดติดมานิดเดียว เข้ามาง่าย ๆ ด้วยการห่อพลาสติกเข้ามาเท่านั้นไม่ได้วิธีการอะไรมาก ระยะหลัง อาจารย์ ดร.เสริมลาภอ มีเวลาอยู่กรุงเทพฯ ค้านข้างนาน จึงเริ่มผสมพันธุ์บัวเองประมาณ ปี 2521 เมื่อถามถึงวิธีการผสมพันธุ์
บัว อาจารย์บอกว่า "แล้วแต่ว่าจะต้องการอย่างไร ถ้าจะผสมตัวเอง ก็ใช้วิธีคลุมถุง ไม่ให้ไปผสมกับคนอื่น ใช้ถุงพลาสติกคลุมดอกเฉย ๆ จะช่วยเขาหน่อยก็ได้ ตามปกติการผสมเกสรของบัวจะผสมโดยแมลง หรือลมพัดเกสร ถ้าคลุมถุงแล้วแมลงหรือลมเข้าไม่ได้ เราต้องช่วยทำให้เกสรมีการเคลื่อน
ไหวด้วยการนำเกสรไปแตะหรือสั่นไหวเบา ๆ ถ้าเป็นการผสมข้ามพันธุ์ต้องมีพิธีการมากพอสมควร ต้องกำหนดต้นดอกตัวเมียเป็นต้นแม่ ต้นดอกตัวผู้จะเอาต้นไหนต้องปลูกไว้สัก 2 - 3 ต้น ช่วงดอกแม่บานพร้อมจะผสมบังเอิญดอกตัวผู้ไม่บานสักต้นเดียวก็ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นต้องตั้งหลักว่า เราจะเอาอะไรผสมกับอะไร อะไรเป็นพ่อ อะไรเป็นแม่ ที่ต้องปลูกต้นพ่อไว้ 2 - 3 ต้น เผื่อไว้ต้นไหนมีดอกบาน ต้นไหนไม่มีดอกเพราะเวลาดอกแม่บานพร้อมจะผสมก็ดึงเกสรดอกตัวผู้มาผสม ถ้าไม่มีเผื่อไว้จะทำให้พลาดผสมไม่ได้"
อาจารย์ยืนยันว่า วิธีการผสมพันธุ์บัวก็เหมือนกับวิธีการผสมพันธุ์พืชทั่ว ๆ ไป ถ้าเป็นการผสมข้ามพันธุ์ ก่อนอื่นต้องตัดหรือปลิดเกสรตัวผู้ในต้นแม่ออกเพราะบัวเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน จึงต้องเอาเกสรตัวผู้ของต้นแม่ออกก่อนที่อับละอองเกสรจะแตกหรือประมาณ 2 - 3 วันก่อนดอกบานที่สำคัญคือต้องทราบว่าดอกนั้นๆ จะบานเมื่อไร ต้องมีความชำนาญวิธีการตัดเกสรตัวผู้ออก คือเปิดดอกออกใช้กรรไกรหรือคีมที่ใช้สำหรับผสมเกสร ขลิบเอาเกสรตัวผู้ทิ้งไป พอดอกบานก็เอาเกสรตัวผู้ของ ต้นที่ตั้งใจจะให้เป็นต้นพ่อมาใส่ในอับเรณู ของเกสรตัวเมียในต้นแม่
"วิธีของผมทำง่ายๆ ผมเอาเกสรตัวผู้มาทั้งช่อ ทั้งกระจุก มาสุมๆ บนเรณูของเกสรตัวเมีย จากนั้นเปิดดอกแล้วเคาะดอก หรือตัดให้เกสรตัวผู้ร่วงลงมา วิธีนี้ก็มีติดบ้างไม่ติดบ้าง ไม่ใช่ทำทีเดียวแล้วจะติด เราต้องเสี่ยงนิด ๆ ขณะเดียวกันก็อิงตำราหน่อย ๆ แต่ตำราเมืองนอก กับตำรา บ้านเราไมาเหมือนกัน เมืองนอกบอกว่าเกสรตัวผู้จะสุกก่อนดอกบาน 2 วัน แต่บ้านเราไม่ใช่ บ้านเราปลูกในที่ร้อนบ้างที่เย็นบ้าง การผสมแต่ละครั้งใช่ว่าทีเดียวจะได้" อาจารย์เล่าถึงประสบการณ์ในการผสมพันธุ์บัว   หลังจากดอกบัวกลายเป็นฝักบัว หรือติดเมล็ดแล้วขั้นตอนต่อไปคือการเพาะ วิธีการเพาะอาจารย์ทำง่าย ๆ อีกเหมือนกันคือ เตรียมอ่างใส่ดินในอ่างให้หนา 3 - 4 นิ้ว เกลี่ยดินให้เรียบ ใส่น้ำให้สูงจากดิน 3 - 4 นิ้ว เอาดอกที่ติดเมล็ดมาขยี้ลงไปในอ่าง
อาจารย์ ดร.เสริมลาภ เปรียบเทียบวิธีการของอาจารย์กับธรรมชาติที่เป็นอยู่ว่าธรรมชาตินั้นพอบัวผสมติดดอกบาน จะขึ้นมาบานเหนือน้ำแล้วแตก พอแตกแล้วเจลลาดินหุ้มเมล็ดจะลอยไปตามน้ำจากนั้นจะจมลงเพื่อขยายพันธุ์ วิธีการของาจารย์ก็เหมือนธรรมชาติ เพียงแต่ช่วยให้แตกไวขึ้นโดยการขยี้และแทนที่จะให้ลอยไปตามน้ำก็จำกัดที่ให้อยู่ภายในอ่าง พอเมล็ดจมลงกันอ่าง ก็ช้อนเอากลีบดอกต่างๆ ทิ้งไป รอเวลาให้เมล็ดงอกออกมาเป็นต้น ซึ่งจะมีจำนวนเป็นร้อยต้นเลยทีเดียว ถามถึงวัตถุประสงค์ของการผสมพันธุ์ อาจารย์ตอบว่าต้องการเป็นประสบการณ์และเอาสิ่งที่ได้มามาเป็นตำราสอนหนังสือ
"ผมทำเฉพาะบัวผัน บัวที่ดอกบานกลางวัน บานกลางคืนก็ทำได่แต่ไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่พวกบัวผัน ดอกชูกลางวัน สีสันหลากหลาย มีตั้ง 9 สี บัวฝรั่งมีเพียง 5 สี โอกาสที่จะได้สีต่าง ๆ มีมากกว่า แต่ข้อเสียของบัวผันคือกลับไม่ซ้อน แต่บัวฝรั่งกลับซ้อน 30 - 40 กลีบ เพราะ ฉะนั้น
หลักการในการผสมพันธุ์บัวของชมรมคนรักบัว คือ พยายามผลิตบัวผันให้มีกลีบซ้อนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้วัตถุประสงค์ในการผสมพันธุ์บัวจะมี 2 ประการคือ ทำในทางวิชาการ เพราะผมสอนหนังสือด้วยจะเลือกเอาพันธุ์ที่แปลกๆ ไว้สอนหนังสือ เช่น ได้บัวสีเหลือง มีเหลืองทองหรือทองสุข ความจริงดอกไม่ค่อยสวยเท่าไร กลีบก็ไม่ซ้อน แต่ผมเอาคาแร็ตเตอร์ เช่น ลักษณะของใบ ถ้าใบเปิดมาก จะมีดอกอย่างเหลืองทอง ถ้าใบเปิดน้อยจะมีดอกอย่างทองสุข เป็นต้น
ประการที่ 2 คือความสวย แต่ถือเป็นเรื่องรองโชคดีได้บัวสายก็จะเก็บไว้ แต่โดยหลักใหญ่จะทำในเชิงวิชาการก่อน เอาลักษณะที่แตกต่างไว้สอนหนังสือ บัวแดง บัวเหลือง บัวม่วง ที่ได้มา ฐานของการทำ คือ เอาไว้สอนหนังสือ อย่างสีม่วงจะมีม่วงต่างๆ มีเฉดสีที่มีเครื่องวัด ผมทำไว้หลายสี วิบูลย์ลักษณ์กับม่วงธรรมนูญ สีเหมือนกัน แต่ม่วงธรรมนูญกลีบยาวกว่าเป็นต้น" อาจารย์อธิบาย

อยากให้บัวเป็นพืชเศรษฐกิจ
ความมุ่งมั่นของอาจารย์ ดร.เสริมลาภ วสุวัต ปรมาจารย์ในเรื่องบัว คือการผลักดันให้ "บัวหลวง" เป็นพืชเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมามีชาวบ้านพยายามจะปลูกบัวหลวงขายแต่ก็ไม่กว้างขวาง ในขณะที่ปัจจุบันมีเมล็โบัวจากประเทศจีนเข้ามาขายในบ้านเราเป็นจำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตของอาจารย์คือเมล็ดบัวในบ้านเราสู้ของจีนไม่ได้ เพราะเราเก็บมาจากบัวที่เกิดในธรรมชาติ ซึ่งมีแมลงศัตรูพืชทำลายเป็นจำนวนมาก ถ้าเราสามารถนำมาพัฒนาพันธุ์ ปรังปรุงวิธีการเพาะปลูกให้ถูกต้อง ก็จะเป็นอาชีพให้ชาวบ้านได้มีรายได้ "ที่ว่างเปล่าที่สามารถจะปลูกบัวหลวงมีประมาณ 1.7 ล้านไร่ เป็นที่ชุ่มน้ำสามารถหาพันธุ์บัวมาปลูกได้ หน่วยงานของรัฐอาจจะส่งเสริมโดยการแบ่งพื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้เป็นแปลงๆ ให้เกษตรกรปลูกบัว เมื่อได้ผลผลิตทั้ง ฝักบัว ทั้งเมล็ดบัวก็เก็บมาขาย ผมจะจัดสัมมนาในเรื่องของพัฒนาบัวหลวงให้เป็นพืชเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2546 ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วัตถุประสงค์ของการสัมมนาคือ ไม่มีใครรู้เรื่องบัวจริง ๆ สักคน โดยเฉพาะบัวหลวงรู้จักแต่ในวรรณคดี แต่พันธุ์และการเพาะปลูกไม่รู้   ผมรู้แต่ว่ามีพันธุ์บัวหลวง 4 พันธุ์ที่ทราบก็เพราะอาศัยดูเพื่อนบ้าน อย่างประเทศจีน แต่ก่อนเขาก็เหมือนเรา แต่พอเขาพัฒนาพรวดเดียวมีพันธุ์ 300 พันธุ์ภายใน 10 ปี แต่บ้านเรายังไม่ได้ทำอะไร เวียดนาม ขณะนี้ผลิตเมล็ดบัวส่งมาขายบ้านเราแล้ว แต่เรายังไปไม่ถึงไหนทั้ง ๆ ที่มีพันธุ์ออกมากมาย แรงงานในครอบครัวเกษตรกรก็มี ทำไมเราไม่ดึงศักยภาพเหล่านี้มาทำให้เกิดประโยชน์ ออสเตรเลียก็ทำแล้ว ทั้งๆ ที่มีบัวอยู่น้อยมากในรัฐนิวเซาท์เวลล์ ประเทศในยุโรป ในฮาวาย เขาหยุดทำเรื่องบัว เพราะเขาปลูกบัวเอาเหง้า หรือรากบัว ค่าแรงเขาแพง ไม่มีแรงงานขุด ฮาวายต้องเลิกไป ญี่ปุ่นเลิกไป ออสเตรเลียกำลังจะพัฒนา แต่ก็รีๆ รอ ๆ เพราะค่าแรงแพงคัดเอาแรงงานชนพื้นเมืองมาทำ ไม่ทราบจะสำเร็จหรือไม่ ส่วนเมืองจีนค่าแรงถูกแต่ฤดูกาลไม่อำนวย เขาปลูกบัวได้เพียง 3 เดือน เก็บรากขายเจาทำได้เพราะแรงงานถูก รากบัวเขามีคุณภาพดีกว่าของเรา ต่าง ๆ เหล่านี้คือปัญหาที่แต่ละประเทศเผชิญอยู่ในการพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจ หันกลับมาดูบ้านเราทำให้มองเห็นช่องทางในการพัฒนาบัวของเราคือ ถ้าเราพัฒนาพันธุ์บัวของเราได้เอง คัดเลือกพันธุ์ ปลูกได้ทั้งน้ำตื้น น้ำกลางน้ำลึกซึ่งเรามีทั้งนั้น เรายังไม่ได้ทำเลย เราสามารถปลูกบัวเก็บเมล็ดได้ ตลอดปีสู้จีนได้ เราสามารถหาพันธุ์บัวที่ออกรากที่อาจจะปลูกทางเหนือ ค่าแรงสู่กับออสเตรเลีย ญี่ปุ่นได้ แต่สู้จีนไม่ได้ เรามีพื้นที่จะพัฒนาขึ้นมาให้เกิดประโยชน์ได้แรงงานที่จะทำเมล็ดบัวก็มีไม่ยากเลยเพียงแต่ชาวบ้านเมื่อมีแรงงาน เหลือว่างจากไร่นาถึงเวลาสายหน่อยก็พายเรือออกไปเก็บฝักบัวตัดมาใส่กระด้งผึ่งไว้หรือแกะฝักเก็บเมล็ดผึ่งใส่กระด้งเลย ตากบนลานบ้านนั่นแหละ 1 - 2 วันก็ใช้ได้ หรือถ้าหากว่าจะเก็บเมล็ด ให้มูลค่าเพิ่มขึ้นมาก็คือเก็บฝักที่ยังนิ่ม แกะเปลือกออกเอาเมล็ดขาว ๆ แกะออก ผึ่งแดด แกะเอาดี หรือเอ็มไบรไอ ออกก็เก็บไว้ขายได้เป็นแรงงานในครอบครัวทั้งนั้น ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะของสังคมไทยซึ่งออสเตรเลียไม่มี "นั่นคือมุมมองและความฝันของ ดร.เสริมลาภ วสุวัต ที่ปรารถนาจะเห็นบัวหลวงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของไทย

บัวในแง่มุมของสมุนไพร
อย่างที่เกริ่นไว้แต่แรกว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีหนังสือพิมพ์บางฉบับลงข่าวและมีผู้จีดรายการวิทยุนำไปอ่านออกอากาศทำนองว่า "บัว" มีสรรพคุณเทียบเท่ายา "ไวอะกร้า" ที่ขึ้นชื่อของต่างประเทศ ขึ้นชื่อในทางไหนคุณสุภาพบุรุษคงทราบดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์ ดร.เสริมลาภ เล่าว่า "ข่าวมาจากผมนี้แหละ ผลไปบรรยาย ผมได้คุยกับองค์การเภสัชกรรมมาก่อนหน้านี้ว่า มีตำรายาไทยบอกว่า ดีบัว มีสรรพคุณช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง ยาไวอะกร้าที่สามารถทำให้ผู้ชายมีฤทธิ์มีเดชได้ หลักก็คือไปช่วยขยายหลอดเลือด คือให้เลือดเดินสะดวกดีบัวก็ขยายหลอดเลือด ทำไมไม่ลองดึงเอาของดีมาพัฒนาเป็นยา เป็นยาอย่างไวอะกร้าได้ยิ่งดี จะได้มีสตางค์ ผมพูดเล่นแค่นั้นแหละ แต่เพื่อน (หมายถึงหนังสือพิมพ์) เอาไปลงว่าดีบัวไปทำยาไวอะกร้าได้ โอ้โหย... วันรุ่งขึ้นหมอเพ็ญนภารับเขียนค้านทันที ผมก็เลยทำบันทึกถึงหมอเพ็ญนภาว่า ผมพูดอย่างนี้ หมายความว่า ถ้าสามารถเอามาพัฒนาได้ก็อาจเป็นยาที่สู้กับไวอะกร้าได้" อาจารย์เล่าไปหัวเราะไป
อาจารย์ ดร.เสริมลาภ แสดงความเป็นห่วงว่าเรารู้จักว่าบัวมีสรรพคุณในทางสมุนไพร แต่ไม่มีใครที่จะพัฒนาในด้านนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เช่น ดีบัว (ส่วนที่เป็น embryo เขียวๆ อยู่ในเมล็ดบัว) นำมาแก้โรคความดันโลหิตสูง เกสรบัวสามารถไปทำยาหอมได้ หรือเป็นส่วนผสมในการอัดพระเครื่อง กลีบบีว เกสรบัว ตากแห้งนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นน้ำชา นอกจากดีบัวแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของบัว โดยเฉพาะบัวหลวง ยังสามารถนำมาบริโภคในลักษณะของสมุนไพรได้อีกหลายส่วน ได้แก่
เมล็ดบัว   ช่วยบำรุงกำลัง แก้กษัย ท้องร่วง สมานแผล แก้ร้อนใน เจริญอาหาร แก้พุพอง
ฝักบัว   ช่วยขับลม สมานแผล แก้มดลูกพิการ แก้ท้องเสีย และแก้พิษเบื่อเมา
ก้านบัว   รักษาโรคลมออกหู และแก้ท้องเดิน
เหง้าบัว   แก้ท้องเสีย แก้พิษ ฝี ปวดบวม รักษาแผลไฟลวก ช่วยขับปัสสาวะ
ใบบัว   บำรุงร่างกาย แก้ไข ห้ามเลือด แก้ปวดฝี ปวดศีรษะ
ดอกบัว   แก้ท้องเสีย คล่นไส้ อาเจียน แก้ไข้ บำรุงกำลัง แก้จุกเสียด บางตำราว่า ช่วยให้คลอดบัตรง่าย
เกสรตัวผู้   รักษาอาการเกี่ยวกับเลือดลมบำรุงกำลัง แก้ไข้ ขับเสมหะ ช่วยในการขับถ่าย แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ บำรุงตับ
ข้อมูลทางสมุนไพรของบัวเหล่านี้มีรายละเอียดให้ท่านค้นหาได้ที่ ศูนย์ข้อมูลทางสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ฝ้าย...พืชไร่ปัจจัยสี่ที่ขาดไม่ได้

c06

ฝ้ายเป็นพืชไร่...หนึ่งในปัจจัยสี่ที่ขาดไม่ได้ หนึ่งในปัจจัยที่ขาดไม่ได้ หนึ่งในปัจจัยสี่นี้คือเครื่องนุ่งห่ม ลองนึกภาพดูซิว่า ถ้าเครื่องนุ่งห่ม ขาดจะโป๊...และเซ็กซี่ขนาดไหน นอกจากนี้ฝ้ายยังเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติด้วย "...ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงส่งสาวกซึ่งเป็นพระอรหันต์ชุด แรก จำนวน 60 องค์ ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระองค์ก็เสด็จสู่อุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูลใต้ต้าฝ้ายต้นหนึ่ง" แสดงว่า ต้นฝ้ายสมัยนั้นใหญ่โตมโหฬารถึงขนาดคนเข้าไปพักพิงอาศัยร่มเงาได้ แต่ปัจจุบันฝ้ายที่ปลูกเป็นการค้ามีลำต้นเล็กเก็บปุยง่าย แต่ก็เจอปัญหา หนอนเจาะสมอฝ้าย จนชาวไร่ฝ้ายต้องเสียค่ากำจัดหนอนและศัตรูฝ้ายสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุน... จนต้องขาดทุนไปตาม ๆ กัน
แล้วนักปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายใน "ยุคอาวุธเทคโนโลยีชีวภาพ" จึงแก้เผ็ดโดยการสร้างฝ้ายบีที.. ที่มีสารพิษอยู่ในตังเมื่อหนอนกินเข้าไปจึง ต้อง... ตายลูกเดียว! แต่หนทางของฝ้าบบีทีนั้นก็เต็มไปด้วยขวากหนามอุปสรรค... ใครที่เกี่ยวข้องเป็นต้องถูกประฌาม... สรุปว่าจะอนุญาตให้ปลูก ฝ้ายนี้ได้หรือไม่ ต้องไปถามเอ็นจีโอ เอ๊ย! รัฐบาลดูก็แล้วกัน ย้อนไปในอดีตประเทศไทยเคยมีพื้นที่ปลูกฝ้ายสูงสุดเกือบหนึ่งล้านไร่ ทำรายได้ จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบส่งไปขายต่างประเทศถึงปีละ 100,000 กว่าล้านบาท แต่ปัจจุบัน (ปี 2545/46) เหลือพื้นที่ปลูกฝ้ายเพียง แสนกว่าไร่ ผลิตฝ้ายได้เพียง 10% ของความต้องการโรงงานเท่านั้น อะไรที่ทำให้การปลูกฝ้ายต้องตกต่ำถึงเพียงนี้...

ประวัติของฝ้าย..ต้นไม้ป่าอินเดีย มีผลเป็นขนปุย

นักโบราณคดีมีบันทึกไว้ว่า พบซากฝ้าย ที่มีอายุ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชทางเหนือของประเทศปากีสถาน ต่อมาราวสี่ร้อยปีก่อนคริสต์ ศักราช Herodotus ได้บันทึกว่า มีต้นไม้ป่าในอินเดียมีผลเป็นขนปุย ...ซึ่งสวยงามและดีกว่าขนแกะ พอถึงราว คศ. 1300 ในบันทึกของมาร์โค โปโลก็กล่าวเป็นการคอนเฟิร์มอีกว่า ประเทศอินเดียผลิตฝ้ายได้สวยกว่าที่ใดในโลก หลังจากนั้นพ่อค้าอาหรับก็นำสินค้าฝ้ายจากอินเดียไปยัง เมืองเวนิสและขยายไปถึงเยอรมนี ฝ้ายโลกเก่า VS ฝ้ายโลกใหม่ - ฝ้ายที่พบในเขตดังได้กล่าวมาแล้ว เรียกว่า "ฝ้ายโลกเก่า" ขณะเดียวกัน ในอีกซีกโลกหนึ่งคือทวีป อเมริกาก็มีการพบซากฝ้ายเหมือนกันโดยมีอายุ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรียกว่าไม่น้อยหน้ากันฝ้ายในแถบทวีปอเมริกานี้จึงถูกเรียกว่า "ฝ้ายโลกใหม่" ฝ้ายเป็นพืชสกุล Gossypium มีมากมายหลายชนิด แต่ที่ปลูกเป็นการค้ามีเพียง 4 ชนิดเท่านั้น คือ G. arboreum L., G. her bceum L., G. barbadense และ G. Hirsutum ฝ้ายสองชนิดแรกหรือฝ้ายโลกเก่ามีถิ่นกำเนิดในปากีสถาน แล้วแผ่ขยายไป อินเดีย อินโดนี เซีย จีน และขยายไปถึงแมนจูเรีย เกาหลี ปรับตัวเข้ากับดินฟ้าอากาศได้ง่าย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฝ้ายเอเชีย มีเส้นใยหยาบสั้น ปัจจุบันมี เหลือปลูกอยู่บางในอินเดียหรือแอฟริกา และในไทย ที่ใช้ทำเป็นผ้านวม ด้ายสายสิญจน์ ส่วนสองชนิดหลังหรือฝ้ายโลกใหม่นั้น ชาวอินเดียน แดงในทวีปอเมริกาใช้ฝ้ายสองชนิดนี้ผลิตเป็นสินค้าก่อนที่โคลัมบัสจะพบทวีปอเมริกามานานแล้ว แต่ไม่ได้แพร่หลายเหมือนฝ้ายจากอินเดียใน สมัยนั้นนี่แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างในโลกนี้ย่อมมีพลิกผันเสมอเพราะต่อมาฝ้ายที่ปลูกเป็นการค้าเป็นฝ้ายโลกใหม่ทั้งหมด แต่ในโลกยุคท่องเว็บ ไม่ค่อยได้ตืดปากคำว่าฝ้ายโลกเก่าหรือหรือโลกใหม่ แต่จะเอ่ยถึงตามขนิดของเส้นใยฝ้ายมากกว่า ฝ้ายชนิดบาร์บาเด็นซ์ (G. barbadense ) มีเส้นใบยาวละเอียด ปลูกเป็นกาค้าในอียีปต์ราว คศ. 1800 จึงได้ชื่อว่า "อียิปเชี่ยน ค็อท ท็อน" ต่อมาสหรัฐอมริกาได้นำไปคัดเลือกเป็นพันธุ์ "อเมริกัน - อียิปเชี่ยน" ปลูกในเขตทะเลทราย ใช้น้ำชลประทาน ส่วนฝ้ายชนิดเฮอร์ชูตั้ม (G. Hirsutum) ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดในโลก ต่อมาเมื่อมีการคิดค้นเครื่องจักรหีบฝ้ายได้ การปลูกฝ้ายจึงได้ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายให้ผลผลิตสูงขึ้นจนแพร่หลายไปทั่วโลก แต่ที่ว่าผลผลืตสูงขึ้นในสมัยนั้นคือ เพียง 85 กิโลกรัม/ ไร่ เท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อเทียบกับสมัยนี้เรียกว่าห่างกันคนละชั้น เพราะนักปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายเดี๋ยวนี้สามารถปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายได้ผลผลิตถึงในระ ดับ 300 กิโลกรัม/ไร่

กรมวิชาการเกษตร... กับการปรับปรุงพันธุ์ฝ้าย

ฝ้ายถือว่าเป็นไม้มงคลในจำนวนไม้มงคลเก้าชนิดและ"ผ้าฝ้าย" ก็ถูกกำหนดอยู่ในพุทธบัญญัติเก่าแก่ของไทยให้ภิกษุใช้เป็นผ้าห่มครอง ได้ในยุคสุโขทัยก็กล่าวกันว่า "เมื่อเสร็จหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก" ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนก็ได้กล่าวถึงไร่ฝ้ายเช่นกีนฝ้ายถูก ส่งเสริมให้ปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ 2543 ตั้งแต่ยังเป็นพันธุ์ "ฝ้ายพื้นเมือง" (คือชนิด G. arboreum L.) มีปุยหยาบสั้น ต่อมาปี 2478 กระทรวงกลาโหมตั้งโรงหีบฝ้ายและโรงงานปั่นด้วยขึ้น ส่วนกระทรวงเกษตรที่เรียกว่ากรมเกษตรสมัยนั้น ก็นำฝ้ายเมริกันคุณภาพดี (คือ ขนิด G. Hirsutum ) มาทดลองปลูก ฝ้ายชนิดนี่ครองตลาดการค้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาจึงเป็นบาร์บาเด็นซ์ ที่มีเส้นใยยาวเหนียวและละ เอียดอ่อน ที่เหมาะสำหรับใช้ทำผ้าที่มีราคาแพงโดยเฉพาะ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อุตสาหกรรมสิ่งทอได้เจริญอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกฝ้ายอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และผลผลิตฝ้ายในประเทศก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงปี 2516 จากสูงสุดก็คืนสู่สามัญ...คือได้เกิดโรคแมลงศัตรูระบาดมาก ทำให้ผล ผลิตฝ้ายที่ได้เหลือเพียง 1 ใน 10 ของความต้องการฝ้ายทั้งหมด นับแต่นั้นมาประเทศไทยก็จำเป็นต้องสั่งฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามาป้อนโรง งานถึงปีละกว่าพันล้านบาท และนำเข้าฝ้ายเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ จนถึงขณะนี้ประเทศไทยต้องนำเข้าฝ้ายราวปีละ 17,000 ล้านบาท เรียกว่ามากกว่า 17 เท่าเลยทีเดียว
กรมวิชาการเกษตรกับบทบาทในการปรับปรุงพันธุ์ฝ้าย ในขณะที่ต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาได้มีการประดิษฐ์เครื่องหีบฝ้าย และ ต่อมามีโรงงานปั่นด้ายโรงแรกที่รัฐแมทสชาชูเชตส์ การปลูกฝ้ายและการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาจึงกลาย เป็นแหล่งผลิตฝ้ายใหญ่ และยังได้ส่งฝ้ายไปจำหน่ายให้ประเทศอังกฤษและยุโรปอีกด้วยในขณะที่ประเทศอังกฤษก็พยายามหันไปซื้อฝ้ายจากอิน เดีย อียิปต์ ซูดาน แล้วยังพยายามให้มีการปลูกฝ้ายในประเทศเครือจักรภพแบบว่าอัฐยายซื้อขนม (หลาน) ยาย นอกจากนี้ยังให้มีการทดลอง ปลูกฝ้ายในทวีปแอฟริกา แล้วยังมีการตั้งสมาคมปลูกฝ้ายขึ้นแบบว่าแข่งกันอยู่ในที ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้มีการตั้ง "สถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง" จังหวัดสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2479 แล้วได้มีการคัดเลือกฝ้ายได้ "พันธุ์เขมร 13" ลัคกี้นัมเบอร์เสียด้วย...ไม่บอกก็รู้ว่ามาจากประเทศไหน...แต่ว่าเนิ่นนานมาถึงป่านนี้ เขาคงไม่มาทวงคืนพันธุ์นี่จึงเป็นพันธุ์ ส่งเสริมตั้งแต่สมัยนั้น โดยเปลี่ยนสัญชาติเสียใหม่เป็นชื่อไทยๆ ว่า "พันธุ์ สข. 13" แล้วก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อได้มีการสั่ง พันธุ์ฝ้ายข้ามโลกไปถึงสหรัฐอเมริกามาผสมกับพันธุ์เขมร13 เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีขึ้น ได้เป็นพันธุ์ สข.14, พันธุ์ สข.32 แนะนำให้เกษตรกร ในปี 2504 แต่มีคำกล่าวว่า "ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด..มีแต่ที่ดีกว่า" และความจริงก็คงจะเป็นเช่นนั้นเมื่อนักปรับปรุงพันธุ์ได้พบพันธุ์ที่ดีกว่าชื่อ พันธุ์สโตนวิลล์ แนะนำให้เกษตรกรปลูก ต่อมาการเสาะแสวงหาพันธุ์ก็ข้ามไปถึงแอฟริกาใต้ทำให้ได้พันธุ์รีบาบี 50 ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าเส้น ใยดีกว่าและต้านทานต่อโรคสมอเน่าดีกว่าแนะนำให้ปลูกในปี 2509 แต่ก็ไม่มีพันธุ์ใดสมบูรร์แบบเพราะว่าคนทำพันธุ์ก็ยังสมบูรณ์แบบไม่ได้ จึงพบว่า พันธุ์บาบี 50 ซึ่งข้อเสียคือทรงพุ่มหนา ใบใหญ่นั้น พ่น ยายาก หนอนจึงระบาดได้มากกว่า นักปรับปรุงพันธุ์จึงได้พยายามหาพันธุ์ทรงต้นโปร่งใบเล็ก ได้ พันธุ์เดลต้าไพน์ สมูท ลีฟ มาเป็นพันธุ์ แนะนำแทนพันธุ์เดิมในปี 2515 นอกจากนี้พันธุ์เดลต้าไพน์ สมูท ลีฟ ยังให้ผลผลิตสูง คุณภาพเส้นใยตรงวตามความต้องการของโรงงาน แต่...ต่อมา...ก็พบว่า อ่อนแอต่อโรคใบหงิก ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญของฝ้ายในเวลาต่อมา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2516 จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ได้ พันธุ์รีบา บีทีเค 12 ซึ่งเป็นโรคใบหงิก น้อยกว่ามาแทน และในช่วง พ.ศ. 2521 ถึงปัจจุบันก็มีพันธุ์ฝ้ายดีๆ เป็นพันธุ์รับรองทยอยออกมาเรื่อยๆ เหมือนเปลี่ยนชุดรัฐบาล ได้แก่ "พันธุ์ฝ้ายตาก ฟ้า 1 (พันธุ์รีบา บีทีเค 12 ผสมกับพันธุ์สโตนวิลล์ 213) "พันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 2" "พันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 3" "พันธุ์ฝ้ายนครสวรรค์ 1" "พันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 60" และล่าสุด "พันธุ์ฝ้ายตากฟ้า 2" ซึ่งเป็นฝ้ายเส้นใยยางพันธุ์แรกของประเทศไทย และได้รับเสนอให้เป็นผลงาน วิจัยดีเด่นประจำปี 2545 ของกรมวิชาการเกษตร ประเภทพัฒนางานวิจัย


ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 : โอกาสทองของผ้าฝ้ายไทย

ฝ้ายตากฟ้า 2 เส้นใยยางพันธุ์แรก...เส้นใยยาวนั้นสำคัญไฉน พันธุ์ตากฟ้า 2 ที่แนะนำให้เกษตรกรในปี 2544 เป็นพันธุ์ฝ้ายเส้นใย ยาว พันธุ์แรกของประเทศไทยในขณะที่พันธุ์ฝ้ายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นฝ้ายเส้นใย (ยาว) ปานกลาง แล้วเส้นใยยาว...เส้นใยสั้นสำคัญอย่างไร ส่วนของฝ้ายที่เรานำมาใช้ทอผ้านั้น คือ เส้นใย คุณสมบัติของ เส้นใยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการซื้อขายส่วนใหญ่จะใช้ความยาวเส้นใยเป็น หลัก ฝ้ายที่มีความยาวมากกว่าจะเส้นเล็กกว่า ละเอียดกว่า ความยาวยิ่งมากก็จะปั่นเป็นด้วย เส้นเล็กได้แล้วนำมาทอเป็นผ้าละเอียดได้ มากขึ้น เส้นใยสั้นจะปั่นด้ายออกมาได้เส้นด้ายใหญ่และหยาบ ซึ่งใช้ทอเป็นผ้าเนื้อหยาบ เป็นพวกผ้าใบ ผ้าขนหนู ถ้าเส้นใยสั้นมาก ๆ ก็นำไปทำไส้ผ้า นวม สำลี เส้นใยที่เรียกว่า "ยาว" จะมีความยาว 1 นิ้วขึ้นไป และเส้นใย "สั้น" ก็คือ เส้นใยที่มีความยาวต่ำกว่านี้ ความยาวเส้นใยจะแบ่งออก เป็น 4 ชนิด คือ ต่ำกว่า 1.00 นิ้ว, 1.00 - 1.4 นิ้ว, 1.15 - 1.29 นิ้ว และยาวกว่า 1.25 นิ้ว จึงเรียกชื่อว่า เส้นใยสั้น...เส้นใยปานกลาง...เส้น ใยยาว...และเส้นใยยางพิเศษ ตามลำดับ ฝ้ายที่ปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์แนะนำในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยปานกลางบางครั้งก็เรียก เส้นใยยาวปานกลาง เพราะถ้าพูด "ปานกลาง" เฉย ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรปานกลาง เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านอย่าสับสนเพราะคนเคยทำฝ้ายก็สับ สนเหมือนกัน ฝ้ายพันธุ์ต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีความยาวเส้นใยประมาณ 1.14 - 1.15 นิ้ว ซึ่งเป็นเส้นใยยาวปานกลาง แต่พันธุ์ฝ้าย "ตากฟ้า 2" มี ความยาวเส้นใยถึง 1.18 นิ้ว จึงนับได้ว่าเป็นพันธุ์ฝ้ายเส้นใยยาวพันธุ์แรกของไทยนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติตัวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ จากคุณสมบัติพิเศษที่มีเส้นใยยาวถึง 1.18 นิ้ว (เทียบกับฝ่ายพันธุ์อื่น 1.14 นิ้ว) เมื่อนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยมือ...ขอย้ำว่า ด้วยมือ! จะทำให้ได้คุณภาพใกล้เคียงกับเส้นด้ายที่ปั่นจากโรงงาน ซึ่งเมื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ จะทำให้ได้ผืนผ้าที่มีคุณภาพดี และราคาสูง ดังนั้น หากส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรนำเส้นใยฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมือง จะทำให้สามารถเปิดตลาด เส้นใยใหม่ไปสู่อุตสาหกรรม สิ่งทอพื้นเมือง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าแล้ว ยังช่วยลดการพึ่งพาโรงงานอุตสาห กรรม สิ่งทอและยังเป็นการสนับสนุนนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสมาคมฝ้ายไทยจึงได้ร่วมมือกันสนับสนุนการปลูกฝ้ายนี้ โดย สมาคมฯได้ประกันราคาฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 ในราคาสูงกว่าฝ้ายพันธุ์อื่นอย่างน้อยกิโลกรัมละ 3 บาท และผลักดันให้นำฝ้ายตากฟ้า 2 ไปผลิต เป็นผ้าฝ้ายที่เป็นสัญลักษณ์ผ้าไทย ซึ่งเป็นผ้าไทยอย่างแท้จริงเพราะผู้พัฒนาพันธุ์ ชาวไร่ผู้ปลูก ผู้ปั่นเส้นด้ายและผู้ทอมือเป็นผืนผ้าล้วนเป็นฝี มือของคนไทยทั้งหมดอย่างครบวงจร เป็นครั้งแรกและเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง ฉบับหน้าเราจะมาพูดถึง "โอกาสทอง...ผ้าฝ้ายไหมไปตลาดโลก" ตามมาด้วย "ฝ้ายพันธุ์ดีมีมากมาย...แล้วปัญหาฝ้ายคืออะไร" ในยุคอาวุธชีวภาพนี้ฝ้ายจีเอ็มโอมีบทบาทอย่างไร "ฝ้ายจีเอ็มโอ..ที่ไม่ใช่แค่ฝ้ายบีที แต่มีฝ้ายราวนด์อัพเรดี ฝ้ายบีเอ็กซ์เอ็น เกิดขึ้นแล้ว" อะไรกันเนี่ย...สังคมไทยได้อะไรจากไบโอเทค...ความขัดแย้งเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกิดการแตกแยกและมีผลเสียหรือไม่ และที่พลาดไม่ ได้เรื่องสิ่งทอไทยซึ่งใช้วัตถุดิบจากฝ้ายเกินกว่าครึ่ง...คือข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เคยเห็นความรุ่งเรือง และล่มสลายในประเทศตนเองจะนำ ประสบการณ์มากล่าวกับคนไทยใน "อนาคตของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย..ค้นหาเงื่อนไขเพื่อความอยู่รอดในศตวรรษที่ 21"

มะนาว นอกฤดูในบริเวณบ้าน

 

le01

มะนาวเป็นพืชที่มีความสำคัญสำหรับคนไทย มีการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยการนำมาเป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารหรือ นำมาแปรรูปเป็นน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และในปัจจุบันนี้ก็นิยมนำมารับประทาน หรือเป็นส่วนผสมของเครื่องบำรุงผิวพรรณ เพื่อความสวยงามของ คุณสุภาพสตรี มะนาวจะให้ผลผลิตประมาณเดือนสิงหาคม - ตุลาคม มะนาวในช่วงระยะเวลานี้จะมีราคาถูกเนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวน มาก แต่ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน มะนาวจะมีราคาแพงมาก เนื่องจากมีผลผลิตน้อยด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกษตรกรต้องการ ผลิตมะนาวนอกฤดูกันมากขึ้น เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูนั้นทำได้หายวิธี เช่น การใช้สารเคมี การใช้วิธีรมควัน เป็นต้น แล้วแต่ผู้ปฏิบัติ ว่าจะทำด้วยวิธีใด ซึ่งการผลิตมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ในบริเวณบ้านก็เป็นวิธีการผลิตมะนาวนอกฤดูวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ
ผู้เขียนได้อ่านบทความเกี่ยวกับการผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์จากหลาย ๆ แห่ง พบว่าส่วนใหญ่จะกล่าวถึงคุณนรินทร์ พูลเพิ่ม นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร กรมวิชาการเกษตร ว่าเป็นผู้ที่ค้นพบวิธีการผลิตมะนาวนอกฤดูในวงบ่อซีเมนต์ ซึ่งจากการศึกษา จากหนังสือและเอกสารต่างๆ ผู้เขียนคิดว่าน่าจะมีความเป็นไปได้จึงได้ทดลองนำมาปฏิบัติจริงในบริเวณบ้าน โดยลงทุนซื้อบ่อซีเมนต์ขนาด 80 เซนติเมตร และแผ่นรองวงบ่อขนาดเดียวกันคิดเป็นเงินประมาณ 130 บาท/ชุด (ซื้อมาจำนวน 3 ชุด) โดยนำวงบ่อมาวางให้พอดีกับแผ่นรองวง บ่ออย่าเชื่อมติดกันต้องให้น้ำไหลผ่านออกได้สะดวก วางไว้ในบริเวณที่ว่างและสามารถรับแสงได้ ได้เตรียมดินโดยการผสมดินเหนียว ปุ๋ยคอก แกลบดิบ ในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 แต่ส่วนใหญ่ในเอกสารที่แนะนำจะให้ใส่ ดินร่วน : ปุ๋ยหมัก 3 : 2 หรือดินร่วน : ปุ๋ยคอก 3 : 1 หรือดินเหนียว : ปุ๋ยหมัก : ขี้เถ้าแกลบดำ 3: 2 : 1 ใส่ดินที่ผสมแล้วลงในวงบ่อให้เต็มวงบ่อ แล้วพูนดินปลูกขึ้นอีกเล็กน้อย แล้วขุดหลุมเล็ก ๆ ตรงกลางวงบ่อซี เมนต์ นำกิ่งพันธุ์มะนาวลงปลูก กลบดิน ทำหลักไม้ไผ่ผูกกับต้นมะนาวเพื่อป้องกันการโยกของต้น ใช้เศษหญ้าคลุมหน้าดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม โดยเริ่มปลูกมะนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544 ใช้มะนาวพันธุ์แป้นและพันธุ์ไข่ ในระยะแรกจะรดน้ำให้ต้นมะนาวทุกวัน ประมาณ 1 อาทิตย์ และหลังจากนั้นจึงให้น้ำเว้นวัน และต่อมาก็จะรดน้ำโดยดูจากลักษณะของดินว่ายังมีความชื้นอยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีความชื้นก็จะรดน้ำทันที มะนาวมี การเจริญเติบโตดี แต่จะมีปัญหาเรื่องหนอนกัดกิน ใบอ่อน หนอนชอนใบ ซึ่งทำการกำจัดโดยการทำลายหนอน ด้วยการบี้ด้วยมือ เนื่องจาก ปลูกมะนาวเพียง 3 ต้นเท่านั้นจึงมีแรงงานพอที่ป้องกันด้วยวิธีนี้ได้ และยังพบปัญหาเกี่ยวกับโรคแคงเกอร์เนื่องจากมะนาวทั้ง 2 พันธุ์ที่ปลูกนี้จะ อ่อนแอต่อโรคดังกล่าว จึงใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและเผาทำลายทิ้งไป
เมื่อมะนาวเจริญเติบโตได้ประมาณ 2 เดือนใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ปริมาณ 50 กรัม/ตัน โดยหว่านบริเวณรอบ ๆ โคนต้นแล้วรดน้ำ ตาม ควรใส่ปุ๋ยเคมีทุก 1 - 2 เดือน) ในเดือนมกราคม มะนาวจะเริ่มมีการออกดอก จึงต้องเด็ดดอกทิ้งไป ทั้งนี้เนื่องจากมะนาวยังมีอายุน้อยและ มีวัตถุประสงค์ว่าจะให้มะนาวออกดอกเพื่อให้ได้ผลผลิตในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มะนาวในตลาดมีปริมาณน้อย (การปลูกมะนาวใน วงบ่อซีเมนต์ ควรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉพาะช่วงนอกฤดูเท่านั้น ไม่ควรปล่อยให้มะนาวออกดอกติดผลอยู่บนต้นตลอดปี จะทำให้มะนาวทรุดโทรม เร็วกว่าปกติ) ต่อมาในเดือนมีนาคม พบว่ามะนาวเริ่มออกดอกอีกครั้ง ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นจึงต้องใช้วิธีการเด็ดดอกทิ้งเช่นเดิมเนื่อง จากมะนาวที่ปลูกมีจำนวนน้อย จึงมีแรงงานและเวลาเพียงพอที่จะเด็ดดอกทิ้ง และจากการอ่านเอกสารแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการทำให้ดอกมะนาว ร่วง ผู้เขียนเคยอ่าน ในวารสารสาระไม้ผล ซึ่งอาจารย์รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้กล่าวไว้เกี่ยว กับการปลิดดอกและผลอ่อนมะนาวเพื่อให้ได้ผลผลิตนอกฤดูนั้น มีความจะเป็นที่ต้องกำจัดดอก และผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลทิ้งออกไปก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไปได้บางส่วน แล้วยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ อีกด้วย ภายหลังจากตัดแต่งแล้วดอกและผลอ่อนที่เหลือก็สามารถใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตหรือฮอร์โมนมาช่วยได้สารเหล่านี้เท่าที่มีรายงาน ผลการทดลองใช้นั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ NAA เข้มข้น 2,000 ppm. สามารถปลิดผลอ่อนในระยะกลีบดอกโรยและระยะที่ผลมีอายุ 2 - 3 สัปดาห์ได้ดีกว่าในระยะที่เป็นตาดอกและระยะดอกบาน อย่างไรก็ตามการใช้ NAA ในความเข้มข้นระดับนี้ไม่สามารถกำจัดดอกและผลอ่อนให้ หมดไปได้ตามต้องการ การใช้ความเข้มข้มที่สูงมากกว่านี้อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษกับต้นมะนาวได้ สารควบคุมการเจริญเติบโตอีกชนิดหนึ่งที่ ใช้ในการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาวคือ เอทธีฟอน (ethephon) ในระดับเข้มข้น 300 ppm. สามารถกำจัดดอกและผลอ่อนได้อย่างดีมาก ซึ่ง ประสิทธิภาพของการปลิดทั้งดอกและผลอ่อนมีถึงกว่า 90% ระยะที่สามารถปลิดได้ผลดีที่สุดหรือปลิดได่อย่างสมบูรณ์ (100%) คือ ระยะดอกบาน ส่วนผลอ่อนที่มีอายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไปหรือผลที่มีขนาดใหญ่ แล้วไม่สามารถปลิดได้ การใช้ความเข้มข้นสูง 400 ppm. สามารถปลิดดอกและ ผลอ่อนได้ 100% แต่ผลข้างเคียงของเอทธีฟอนนี้ก็มีอยู่ค่อนข้างมาก โดยมีผลทำให้ใบร่วงและเกิดอาการยางไหลได้ ใบที่มีผลกระทบต่อการใช้ สารนี้มากที่สุดคือใบที่มีสภาพไม่ค่อยสมบูรณ์ เช่น ใบที่มีโรคแคงเกอร์และหนอนชอนใบเข้าทำลายมักมีการร่วงหล่นในระดับสูงมาก อย่างไรก็ ตามการใช้สารนี้หากใช้ในระยะที่มีแดดจัดอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ ดังนั้นระดับที่สมควรใช้จึงควรอยู่ที่ 300 ppm. เท่านั้น สำหรับผลที่ยัง ปลิดดอกไม่หมดนั้นสามารถใช้ปลิดด้วยมือได้อย่างไม่ลำบากภายหลังการปลิดด้วยสารเคมีแล้ว ทั้งนี้เพราะจำนวนผลที่เหลือติดอยู่นั้นมีน้อยมาก แต่ผู้เขียนยังไม่ได้ทดลองใช้สารเคมีทั้งสองชนิดปฏิบัติเนื่องจากว่ายังมีแรงงานและเวลาพอที่จะใช้วิธีเด็ดดอกทั้งไป คาดว่าในฤดูกาลหน้าถ้าพบ ปัญหาการออกดอกของมะนาวในระยะเวลาที่ไม่ต้องการ คงจะได้ใช้วิธีดังกล่าวเนื่องจากมะนาวคงจะมีการออกดอกเพิ่มมากขึ้นต้องใช้เวลาในการ เด็ดทิ้งนาน และบางครั้งอาจจะไม่ทั่วถึง จะทำให้มีการติดผลในเวลาที่ไม่ต้องการ

ในเรื่องของการตัดแต่งกิ่ง จะทำการตัดแต่งกิ่งเมื่อ เห็นว่ามีกิ่งที่เป็นโรคกิ่งผุ กิ่งที่อยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เช่น กิ่งไขว้กัน กิ่งที่อยู่ ชิดดินมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งการตัดแต่งกิ่งก็เป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการกำจัดดอกและผลที่ไม่ต้องการทิ้งไป เพื่อให้ได้ผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน ต้องงดน้ำในเดือนกันยายน - ตุลาคม (มะนาวจะใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวผล ผลิตประมาณ 4 - 5 เดือน) เริ่มงดให้น้ำมะนาวประมาณกลางเดือนกันยายน แต่เนื่องจากเป็นฤดูฝน จึงต้องควบคุมด้วยการใช้ผ้าพลาสติกคลุม โคนต้น (ปากวงบ่อ) ไม่ให้น้ำซึมลงไปในดินภายในวงบ่อ ส่วนทางรากมะนาวก็จะดูดน้ำไม่ได้ เนื่องจากมีฝารองวงบ่อกั้นอยู่ประมาณ 15 - 30 วัน ใบมะนาวจะเริ่มเหี่ยวหรือมีใบร่วง หลังจากนั้นนำผ้าพลาสติกคลุมโคนออก ให้น้ำและปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กรัม/ต้น ซึ่งเมื่อดอกเริ่ม บานจำเป็นต้องมีการจัดการให้น้ำโดยเริ่มให้ดินมีความชุ่มชื้นบ้างในระยะแรก และเพิ่มขึ้นเมื่อมีการติดผลทั่วต้น ซึ่งถ้าการควบคุมดูแลการให้ น้ำไม่ดีพอ อาจทำให้ต้นขาดน้ำและทำให้ผลอ่อนหลุดร่วงได้ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีให้ใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 200 กรัมต่อต้นร่วมกับ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 50 กรัม และเมื่อได้ผลผลิตแล้วต้องเตรียมบำรุงสภาพต้นให้สมบูรณ์กลับคืนโดยเร็วโดยการตัดแต่งกิ่ง ปลิดช่อดอกและ ผลเล็กออกให้หมด และใส่ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้พร้อมที่จะผลิตมะนาวนอกฤดูรุ่นต่อไป การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์เพื่อให้ได้ผลผลิตนอกฤดู จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้ผลผลิตนอกฤดูกาล ทำให้ ไม่ต้องซื้อมะนาวในราคาที่แพงแล้วยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับบริเวณบ้านได้อีกด้วย จึงขอเชิญชวนทุกท่านทดลองปลูก แม้เพียง 1 - 2 ต้นก็ ยังดีและเมื่อเกิดความชำนาญแล้วอาจจะกลายเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพใหม่ ต่อไปในอนาคตก็ได้…

ใช้วัชพืชเพาะเห็ด ผลงานศูนย์วิจัยเชียงราย

mush01

เห็ด ในบ้านเรามีมากมายหลายชนิด เช่น เห็ดโคน เห็ดฟาง เห็ดขอนขาว เห็ดสกุลนางรม เห็ดหูหนู เห็ดกระดุม เห็ดป่า

เห็ด เป็นอาหารที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รสชาติดี มีวิตามินสูง การได้มาซึ่งเห็ดนั้นมีทั้งเห็ดที่เกิดจากธรรมชาติ จากการเพาะในแปลงใช้วัสดุคลุม การเพาะในเรือนโรง ปัจจุบันนิยมการเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เพราะใช้เวลาสั้น ลงทุนต่ำ ได้เงินเร็ว อย่างไรก็ตาม การเพาะในถุงพลาสติกนั้น จำเป็นต้องใช้วัสดุเพาะ ได้แก่ ขี้เลื่อย ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้ฉำฉา ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ยางพารา ซึ่งจะต้องสั่งซื้อและขนย้ายมาจากจังหวัดทางภาคใต้ เพื่อเป็นการศึกษาหาวัสดุเพาะเห็ดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก ลดต้นทุน อีกทั้งเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จึงได้นำวัชพืชมาเป็นวัสดุเพาะเห็ด จนประสบความสำเร็จและขยายผลไปสู่เกษตรกร

นายบัณฑิต จันทร์งาม ผู้อำนวยการศูนย์กล่าวว่า การนำวัชพืชบางชนิดเพื่อเป็นวัสดุเพาะเห็ดนั้น เป็นผลงานของ คุณนันทินี ศรีจุมปา นักวิชาการเกษตรที่มีความชำนาญเรื่องการเพาะเห็ด และคุณเสกสรร สีหวงษ์ ผู้ชำนาญการจากศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อหาวัสดุอื่นมาทดแทนขี้เลื่อย อีกทั้งบ้านเรามีวัชพืชขึ้นอยู่มากมาย อยู่ข้างถนน หรือพื้นที่รกร้างทั่วไป ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเคยศึกษาการใช้หญ้าเพาะเห็ดมานานกว่า 20 ปีแล้ว เนื่องจากขาดแคลนวัสดุเพาะเห็ด จนปัจจุบันเทคนิคการใช้หญ้าเพื่อเพาะเห็ดเป็นที่ยอมรับและนิยมปฏิบัติกันแพร่หลาย มีหญ้าอย่างน้อย 29 ชนิด ที่ใช้เพาะเห็ดได้ดี หาได้ง่าย มีความสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดี มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สูง

คุณนันทินี ศรีจุมปา ให้รายละเอียดว่า จังหวัดเชียงรายมีวัชพืชขึ้นอยู่ทั่วไป จึงนำวัชพืชที่ศึกษาและประสบผลสำเร็จโดยใช้หญ้าแขม หญ้าเลา และหญ้าก๋งหรือหญ้ายูงที่ชาวบ้านใช้ดอกหญ้าทำไม้กวาด เพราะหญ้าทั้ง 3 ชนิดนี้มีลำต้นใหญ่ และเป็นวัชพืชที่ขึ้นทั่วไป ขั้นตอนการนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดนั้น เริ่มจากเก็บวัชพืชมาตากให้แห้งสนิท จากนั้นนำไปย่อยด้วยเครื่องสับย่อยวัชพืชที่ดัดแปลงมาจากเครื่องหั่นต้นข้าวโพด ให้มีขนาดประมาณ 2 หุน ผสมกับรำละเอียด 6% ยิปซัม 0.5% ดีเกลือ 0.2% โดยน้ำหนัก เติมน้ำเพื่อให้มีความชื้นประมาณ 60% หมักไว้ประมาณ 2 วัน เพื่อให้วัชพืชอ่อนตัวและชุ่มชื้น เมื่อบรรจุถุงจะไม่ทิ่มแทงถุงขาด จากนั้นจึงนำบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อนแบบพับข้าง หญ้าเลาบรรจุถุงละ 500 กรัม หญ้าแขม และหญ้าก๋ง บรรจุถุงละ 600 กรัม นำก้อนอาหารทั้งหมดไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยไอน้ำ อุณหภูมิประมาณ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง นำออกมาวางไว้ให้เย็นแล้วจึงนำเชื้อเห็ดที่เจริญในเมล็ดข้าวฟ่างใส่ลงไป นำไปบ่มในโรงบ่ม ปล่อยทิ้งไว้จนเชื้อเห็ดเดินเต็มถุง จึงนำไปเปิดถุงในเรือนโรง รดน้ำให้มีความชื้นภายในเรือนโรง ประมาณ 85-90% รอจนกระทั่งเห็ดเจริญเติบโตจากปากถุงพลาสติก จึงเริ่มเก็บไปรับประทานหรือจำหน่าย

การใช้วัชพืชเป็นวัสดุเพาะนี้ สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 4 เดือน เห็ดที่ทดลองกับวัชพืชทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เห็ดขอนขาว เห็ดหอม เห็ดนางรมฮังการี เห็ดนางฟ้าภูฏาน เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพของตนเองได้

การควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร

ผลิตผลการเกษตรชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ถั่วลิสง มันสำปะหลังแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้ง ยาสูบ แป้ง รำ อาหาร
สำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่มักถูกแมลงเข้าทำลายก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 80% ของผลผลิตหรือคิดเป็น
มูลค่าไม่ต่ำกว่า 13,000 ล้านบาทต่อปี จะเห็นได้ว่าแมลงเหล่านี้มีบทบาทที่ก่อให้เกิดผลเสียหายคิดเป็นมูลค่าสูง นอกจากนี้การพบแมลงหรือชิ้น
ส่วนของแมลง ปนเปื้อนไปกับผลิตผลเกษตรที่ส่งไปขายยังต่างประเทศ จะมีผลต่อการส่งออกอย่างมาก โดยเฉพาะมีผลต่อการกำหนดราคาผลิต
ผลเกษตร ฯลฯ
สำหรับแมลงศัตรูที่สำคัญ ที่พบทำลายผลผลิตการเกษตรในประเทศไทย ได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais ) , ด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae ) , มอดข้าวเปลือก (Rhyzopertha domimica ) , มอดแป้ง (Tribolium castaneum ) , ผีเสื้อข้าวเปลือก (Sitotroqacerealellaolivier ) , ผีเสื้อข้าวสาร (Corcyra cephalonica stainton ) , ด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculatus (Fabricius ) และมอดยาสูบ (Lasildermaserrirncorne (Fabricius )
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรมีการระบาดตลอดปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศร้อน และชื้น ทำให้ความเสียหายรุนแรงมากขึ้น


การป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดยุ้งโกดักไม้รองกระสอบ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงเนื่องจากแมลงส่วนใหญ่มีขนาดเล็กประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร เพียงเศษข้าวหรือเศษอาหารที่ติดตามกระสอบเพียงเล็กน้อยแมลงก็สามารถใช้ดำรงชีวิตได้ แมลงบางชนิดอาศัยทำลายเศษผลิตผลเกษตรที่ตกหล่นอยู่ตามพื้นโกดัง
2. ลดความชื้นเมล็ด แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตในเมล็ดพืชที่มีความชื้น 8% หรือต่ำกว่า ดังนั้นควรลดความชื้นเมล็ดหรือผลิตผลเกษตรให้ต่ำสุด และเก็บในถุงหรือภาชนะที่อากาศถ่ายเทไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดมีการแลกเปลี่ยนความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสามารถลดการเข้าทำลายของแมลงได้
3. เก็บเมล็ดหรือผลิตผลเกษตรในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 12 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า เป็นอุณหภูมิที่แมลงไม่สามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้
4. การใช้ความร้อน 55 - 60 องศาเซลเซียสนานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือความร้อน 70 องศาเซลเซียสนายอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต
5. เก็บในสภาพสูญญากาศ เช่น บรรจุผลิตผลเกษตรในถุงพลาสติกในสภาพสูญญากาศ การเก็บในโรงเก็บสำเร็จรูป สามารถเก็บผลิตผลเกษตรได้เป็นเวลานาน
6. การใช้น้ำมันพืชคลุกเมล็ดพืช เช่น น้ำมันปาล์ม นำมันมะพร้าว น้ำมันสะเดา น้ำมันมะกอกในอัตรา 10 - 20 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้นาน 3 - 12 เดือน
7. การใช้วัสดุบางอย่าง เช่น แกลบ ขี้เถ้าแกลบ ผงถ่าน คลุกเมล็ดอัตรา 40 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้
8. การใช้รังสี รังอัตรา 0.2 - 1 KGY สามารถทำลายแมลงในเมล็ดและในแป้งได้ FAO รายการใช้รังสิอัตรา 10 KGY หรือต่ำกว่าไม่มีพิษตกค้างในอาหาร ดังนั้นอาหารที่ฉายรังสีอัตราดังกล่าวหรือต่ำกว่าไม่จำเป็นต้องตรวจพิษตกค้างแต่การใช้รังสีมีผลทำให้วิตามิน A, C, E, และ B1 (Thiamine) และ K ในอาหารลดลง
9. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นผนังโกดัง และแหล่งหลบซ่อนแมลง เช่น ไม้รองกระสอบ มุมโกดัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงสารฆ่าแมลงที่ใช้คือ fenitrothion, pirimiphos - methyl และ chlorpyrifos - methyl อัตรา 0.5 - 2.0 กรัมเนื้อยาบริสุทธิ์ต่อ 1 ตารางเมตร
10. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นแบบหมอกควัน วิธีนี้เหมาะกับโกดังที่ปิดมิดชิดและมีการระบาดของแมลงระยะเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งระยะนี้แมลงมัก
ออกมาบินนอกกระสอบหรือภาชนะบรรจุ โดยใช้ pirimiphos - methyl อัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำมันโซล่า 100 มิลลิลิตร พ่นในบริเวณที่มีแมลง
บิน สามารถกำจัดแมลงได้
11. การใช้สารฆ่าแมลงคลุกเมล็ดพืช เหมาะสำหรับเมล็ดที่ใช้พันธุ์เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับเมล็ดที่จะนำมาบริโภค สารฆ่าแมลงคลุกเมล็ด
พืชเหมาะสำหรับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับเมล็ดที่จะนำมาบริโภคสารฆ่าแมลงที่ใช้ คือ fenitrothion, pirimiphos - methyl อัตรา
10 - 20 ppm. (ประมาณ 2 - 3 มิลลิลิตรผสมน้ำ 300 มิลลิลิตร ต่อเมล็ดพืช 100 กิโลกรัม) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้นาน 3 - 6
เดือน
12. การใช้สารรมฟอสฟีนหรืออลุมิเนียมฟอสไฟด์รมผลิตผลเกษตรที่มีแมลงเข้าทำลาย สามารถกำจัดแมลงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต อัต
ราที่ใช้ คือ 2 - 3 เม็ด (tablets) ต่อเมล็ด 1 ตัน รอนาน 7 - 10 วันในการรมโกดังใช้อัตรา 1 เม็ดต่อเนื้อที่ 1 ลูกบาศก์เมตร รมนาน 7 - 10 วัน
13. การใช้สารรมเมธิลโบรไมด์ ในกรณีที่ต้องการทำลายแมลงที่ทำลายเมล็ดพืช และมีเวลารม ไม่นานอาจใช้วิธีรมด้วยเมธิลโบรไมด์
โดยใช้อัตรา 2 ปอนด์ต่อเนื้อที่ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต (30 ลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลารมนาน 24 ชั่วโมง

การป้องกันกำจัดด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวอาจจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใดตามความเหมาะสมหรือใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันก็ได้เพื่อให้ผลดีในการควบ
คุมแมลงแต่ละชนิดและไม่เกิดผลเสียต่อผลิตผลเกษตรที่ต้องการเก็บรักษา

ตารางแสดงค่าอุณหภูมิที่มีผลต่อแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร

อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)

ผล

50 - 60
45 - 50
35
33 - 35
23 - 25
13 - 25
13 - 20
5
-10 ถึง -5
-25 ถึง -1

ตายภายในนาที
ตายภายในชั่วโมง
การเจริญเติบโตชะงัก
การเจริญเติบโตช้า
เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต
การเจริญเติบโตช้า
การเจิรญเติบโตชะงัก
ตายภายในวัน (ไม่เคลื่อนไหว)
ตายภายในสัปดาห์ - เดือนสำหรับชนิดที่ทนหนาว
ตายภายในนาที

กระแสผักปลอดภัยจากสารพิษ

v001

 

บริโภคในปัจจุบันคำนึกถึงสุขภาพอนามัยของตนเอง และคนในครอบครัวกันมากขึ้น จริงๆ แล้วก็ไม่แน่ใจเหมือน กันว่า อะไรเกิดก่อนอะไร ระหว่างความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าหรือผลผลิตที่บำรุงสุขภาพอนามัยอย่างแท้จริง กับความต้องการของ ผู้ขายที่พยายามจะใช้ การบำรุงสุขภาพอนามัยที่แท้จริงเป็นจุดขาย แต่จะอะไรเกิดก่อนอะไรคงไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ตาม ที่ต้องการหรือไม่ ผู้ขายมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าของตนมาน้อยเพียงไร กระบวนการตรวจสอบและรับรองว่าผลผลิตหรือสินค้านั้น มีคุณภาพตาม ต้องการจึงเกิดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และสร้างความเชื่อถือทางด้านการตลาดให้กับผู้ขาย พืชอาหาร เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคให้ความสนใจและเอาใจใส่พิถีพิถันในการเลือกซื้อเพิ่มมากขึ้น หลังจากพบว่า การผลิตพืชอาหารในอดีต หรือแม้แต่ในปัจจุบัน เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชกันอย่างมากมาย เป็นผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิต และทำ ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคผลผลิตเหล่านั้นเข้าไป มีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรงเสียชีวิตก็มี ผักและผลไม้ เป็นพืชอาหารที่ผู้บริโภคให้ความใสใจเรื่องสารพิษตกค้างเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่จะรับประทานผักผลไม้สด ๆ มากว่าการนำไปปรุงหรือแปรรูป ถ้าผักและผลไม้มีสารพิษตกค้าง ผู้บริโภคก็จะได้รับอันตรายได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง

โครงการนำร่อง

     อันที่จริง กรมวิชาการเกษตรได้ริเริ่มโครงการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่เรียกว่ า "พืชผักอนามัย" มาตั้งแต่ปี 2526 นับถึงวันนี้ เป็นเวลา 20 ปีแล้ว โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดแก้ปัญหาสารพิษในพืชผัก โดยการสนับสนุนทางวิชาการแก่เกษตรกร ในการ ผลิตพืชผักให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็กำหนดมาตรการในการจัดจำหน่ายผักอนามัยพร้อมกันไปด้วยผลการดำเนินงานในขณะนั้น มีเกษตรกรหลายร้อยครอบครัวจากหลายจังหวัดเข้าร่วมโครงการ ด้วยการเข้ารับการถ่ายทอดความรู้ และนำไปปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็ได้อนุญาต ให้ภาคเอกชนมีสถานที่จัดจำหน่ายผักสดอนามัย
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงโครงการผลิตพืชผักอนามัยเป็น "โครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนา มัย" มีการบริหารงานโดยคณะอนุกรรมการบริหารงาน โครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัย และคณะทำงานฝ่ายควบคุมและตรวจ สอบการใช้วัตถุมีพิษ หลักและวิธีการ ตลอดจนระเบียบการปฏิบัติงานของโครงการฯ ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลอด มา แต่วัตถุประสงค์หลักๆ ของโครงการที่ยังคงไว้ได้แก่
     - เป็นโครงการตัวอย่าง ถ่ายทอดความรู้ในการผลิต การจำหน่ายพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ
     - เพื่อสร้างแบบอย่างการปฏิบัติที่ถูกหลักวิชาการ โดยกำหนดระบบการผลิตและระบบตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และกำหนดมาตร ฐานของสินค้า
     - ผักและผลไม้อนามัยที่ได้รับจากขบวนการผลิตที่มีการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หรือการผลิตแบบเกษตรธรรมชาติที่ไม่ใช้สารเค มีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ผลผลิตจะต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ
     - การใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในระบบการผลิตพืชในผัก และผลไม้อนามัยให้ใช้การป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน- สารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิต ต้องเป็นสารเคมีที่อยู่ในรายการที่โครงการกำหนดให้เท่านั้น
     - ผักและผลไม้อนามัยคือ สินค้าที่ปลอดภัยจากสารพิษ ตามมาตรฐานที่กำหนดและเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ โดยยึดค่า MRL (Max imum Residue Limit) หรือค่าความปลอดภัย ซึ่งเป็นค่าที่อนุญาตให้มีได้สูงสุด ถ้าเกินจากนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคค่าดังกล่าว เป็นค่าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นผู้กำหนด

     ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายเคมีเกษตร โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการลดการใช้สารเคมีที่มีอัน ตรายในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้เพิ่มทางเลือกในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่จะ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ผลิต คือ เกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการเกษตร โดยว่าที่ ร.ต. มนตรี รุมาคม อธิบดีกรมวิชาการ เกษตรได้สนองนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินงานในช่วงแผนพัมนาเศรษฐกิจและสัง คมแห่งชาติฉบับที่ 7 โดยกำหนดเป้าหมายการลดสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้ เพื่อให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคมีความปลอดภัย ขณะเดียวกัน ก็จะส่งผลถึงการผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดของต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดประชาคมยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ ของไทย โครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัยจึงเป็นโครงการสำคัญของกรมวิชาการเกษตรในการสนับสนุนนโยบายเคมีเกษตรของกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังกล่าว ซึ่งยังคงดำเนินการมาจนถึงขณะนี้


ค่อยๆ เติบโต

     คุณนิตยา วีระกุล อดีตผู้อำนวยการสำนักประสานงานโครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัย เคยรายงานไว้ในการสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็ง การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในผักและผลไม้" เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2545 ว่า "…การดำเนินงานของโครงการนำร่อง การผลิตพืชผักและผลไม้อนามัยเริ่มรับสมาชิกมาตั้งแต่ปี 2537 ระยะ 4 ปีแรก มีสมาชิกที่สมัครเข้า ร่วมโครงการปีหนึ่งๆ ไม่เกิน 10 ราย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาสมาชิกเพิ่มเป็น 20 ราย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2544 มีสมาชิก 112 ราย สำหรับปี 2545 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2545 มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 24 ราย จนถึงเดือนเมษายน 2545 มีสมาชิก 305 ราย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 หมื่นไร่ ใน 50 จังหวัด เป็นพื้นที่การผลิตผักประมาณ 1 หมื่น ไร่ ผลไม้ประมาณ 1.6 หมื่นไร่ ผักและผลไม้รวมกันประมาณ 7.5 พันไร่ พื้นที่การผลิตชาหม่อนประมาณ 4.5 พันไร่ พื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งผลิตของสมาชิกมากที่สุด แหล่งผลิตผลไม้ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก จันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ผลผลิตผักของสมาชิกโครงการฯ มีหลายชนิด ทั้งชนิดที่รับประทานต้น ดอก และใบ ได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ ผักกาด ผักคะน้า กะหล่ำ ปลี กะหล่ำดอก บล็อคโคลี่ ผักกาดขาว ผักกาดหอม ปวยเล้ง ผักสลัดชนิดต่างๆ ผักรับประทานผล ได้แก่ พริก มะเขือ มะเขือเทศ พืชตระกูล แตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงไทย ฯลฯ ฟักทอง กระเจี๊ยบเขียว มะระขี้นก ผักรับประทานหัวหรือราก เช่น มันเทศ เผือก แครอท พืช สวนครัว เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะเพรา โหระพา หัวหอม กระเทียม และพืชอื่นๆ เช่น ว่านหางจระเข้ ผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ส้มโชกุน ชมพู่ มังคุด ลำไย สับปะรด เงาะ กล้วย แตงโม แคนตาลูป
      ผลผลิตจากสมาชิกโครงการดังกล่าว ส่วนใหญ่มีตลาดรองรับอยู่แล้ว โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศ สมาชิกของโครงการสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ ทั้งจากหน้าสวนของตนเอง หรือส่งตามแหล่งต่างๆ หรือมีพ่อค้าคนกลางรับไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง แหล่งจำหน่ายของสมาชิกฯ มีหลาย ระดับ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรือตลาดใหญ่ๆ ที่เป็นแหล่งรวมสินค้า เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาด อ.ต.ก. และปาก คลองตลาด นอกจากนี้ยังมีห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ เช่น เทสโก้โลตัส เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม บิ๊กซี โรบินสัน ท็อปส์ซุปเปอร์มาเก็ต คาร์ฟู แม็คโค โกลเด้นเพลส กรีนไลฟ์ ฟู้ดแลนด์ และเลมอนฟาร์ม เป็นต้น
     ปัจจุบันผู้บริโภคทุกระดับชั้น ให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อผักอนามัย หรือผักปลอดภัยจากสารพิษกันอย่างแพร่หลาย สังเกตจากการกระ จายตัวของแหล่งขาย และจำหน่ายสมาชิกโครงการนำร่องพืชผักและผลไม้อนามัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 1 - 2 ปีที่ ผ่านมาในจำนวนสมาชิกของโครงการฯ ทั้งหมด มีจำนวน 12 ราย ที่แจ้งว่าเป็นผู้ส่งออกผลผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงค ์โปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ผลผลิตส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลไม้ จำพวก เงาะ ทุเรียน กล้วยหอม ลำไย ส้ม สับปะรด และ แตงโม
     มีสมาชิกจำนวน 17 ราย ที่ผลิตผักด้วยระบบไฮโดรโพนิคส์ คือ ปลูกในน้ำยาที่มีสารอาหาร ซึ่งกำลังเป็นเทคนิคการผลิตอีกวิธีหนึ่งที่กำลัง ได้รับความสนใจ และยังมีสมาชิกอีก 1 รายที่ผลิตผักโดยใช้ระบบแอร์โรโพนิคส์ คือ การสเปรย์สารอาหารให้ทางราก ซึ่งกสิกรจะนำวิธีการปลูก ผักทั้ง 2 แบบ นี้มาเสนอในโอกาสต่อไป

สถานการณ์ปัจจุบัน

     คุณจันทร์ทิพย์ ธำรงศรีสกุล ผู้อำนวยการสำนักประสานงานโครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัย กรมวิชาการเกษตรท่านปัจจุบัน ได้เล่าถึงสถานการณ์การผลิตผักอนามัยของโครงการว่า ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคผักอนามัยในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาก ทางด้านผู้ผลิตก็ถือว่าผักอนามัยเป็นจุดขายอันหนึ่ง ส่วนผู้บริโภคถือว่าผักอนามัยปลอดภัยต่อการสุขภาพอนามัย
     โครงการฯ รับสมาชิกเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในปี 2545 ที่ผ่านมา มีสมาชิกร่วมโครงการฯ เพิ่มจาก 200 กว่าราย เป็น 359 ราย (จากเดือนเมษายน - ธันวาคม มีสมาชิกเพิ่มอีกกว่า 50 ราย) จนถึงตอนนี้เราหยุดรับสมาชิกชั่วคราวก่อนเพื่อเคลียร์สมาชิกเก่าให้หมดเหตุที่สมาชิกเพิ่มมากขึ้นมี 2 ประการ คือ หนึ่ง ความปลอดภัยในการบริโภค ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีความปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี สอง เพื่อประโยชน์ที่ผู้ผลิตนำไปเสนอขายให้กับแหล่งต่างๆ ที่ต้องการการรับรอง ประการหลังนี้ในระดับผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง หรือผู้ในแหล่งที่มีลูกค้าซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดี เช่น โรงแรมใหญ่ๆ ภัตตาคารหรูฯ เขาต้องการสินค้าซึ่งมีการรับรอง การรับรองในระดับนี้ของกรมวิชาการเกษตรจะได้เปรียบกว่าหน่วยงานอื่น เพราะเมื่อเรารับรองแล้ว เราดูแปลงปลูกด้วย มีการตรวจสอบขบวนการผลิต ว่าถูกต้องตามคำแนะนำหรือไม่"
     เมื่อถามถึงว่า มีสมาชิกในโครงการเพิ่มขึ้นมากเช่นนี้ จะดูแลทั่วถึงหรือไม่ คุณจันทร์ทิพย์ บอกว่า "โครงการฯ กำลังประสบปัญหาอย่างที่เรียนว่า ในช่วงปี 2545 ที่ผ่านมา ได้รับสมาชิกเพิ่มกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมดที่รับมาในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ไม่แน่ใจว่าปีหน้าหรือปีต่อๆ ไปจำนวนจะมากขึ้นๆ อีกหรือไม่ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราจึงต้องทำรูปแบบใหม่ กรมวิชาการเกษตรเห็นความสำคัญของโครงการนี้ จึงมีนโยบายให้เราจัดระบบการทำงานใหม่ จะมีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น และจะมีการประสานกับหน่วยงานของกรมฯ ในส่วนภูมิภาค คือ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆ ให้ช่วยดูแลสมาชิกในโครงการหรือ จัดการระบบต่างๆ ของโครงการให้ดีขึ้น" ผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า คำว่าผักอนามัยผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักปลอดสารพิษ หรือผักอินทรีย์ แตกต่างกันอย่างไร ทำไมไม่ใช้
คำใดคำหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณจันทร์ทิพย์ อธิบายว่า "แตกต่างกันที่ขั้นตอน หรือขบวนการ และแตกต่างกันตรงการรับรองของหน่วยงานขึ้นอยู่กับโลโก้ (Logo) หรือ สัญลักษณ์ ทุกวันนี้การรับรองแสดงโดยโลโก้ แต่ละโลโก้ที่ออกมาข้อจำกัดของแต่ละโลโก้แตกต่างกันต้องดูว่าโลโก้นั้นๆ รับรองโดยระบบอะไร ของหน่วยงานใด และรับรองอย่างไร
     โดยพื้นฐานแล้วผักในชื่อเรียกต่างๆ เหล่านั้น คือ ผักที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง แต่โดยวิธีการจัดการในขบวนการผลิต วิธีการตรวจสอบจะแตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้กล่าวอ้างไม่ได้ว่าของใครดีกว่าใคร นอกจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นที่รับรอง อีกหลายหน่วยงานเช่น กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจะดูแลเรื่องระบบการผลิต เป็นหลักรับผิดชอบทางด้านการให้การฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิตจะดูและรับรองว่าเกษตรกรทำตามขั้นตอนต่างๆ ตามคำแนะนำอย่างถูกต้องหรือไม่ แต่ไม่ได้ตรวจสอบสารพิษตกค้าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ้าสังเกตให้ดี โลโก้รับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า รับรองระบบการตรวจสอบไม่ได้รับรองผล คือ จะรับรองว่าวิธีการตรวจสอบของเขา ถ้าทำให้ถูกต้องจะสามารถตรวจสอบอะไรได้บ้าง อย่างไร
      ความเชื่อมั่นว่าผัก ผลไม้ ต่างๆ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างจริงๆ หรือไม่นั้น ต้องเริ่มต้นที่ผู้ผลิต เราต้องทราบก่อนว่า ผู้ผลิตคือเกษตรกร ใช้สารเคมีอะไรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เราถึงจะบอกได้ว่าการใช้สารตัวนี้ สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีนั้นๆ หรือไม่" สำหรับการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตว่ามีสารมีพิษตกค้างหรือไม่นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญของระบบควบคุมคุณภาพและให้การรับรองของกรม
วิชาการเกษตร ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรมีห้องปฏิบัติการที่ใช้เทคนิคโครโมโตกราฟฟี่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทั่วโลกใช้ในการตรวจสอบสารพิษตกค้าง และด้วยเทคนิคการสกัดแบบ moltiresidue ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจวิเคราะห์สารได้หลายกลุ่มพร้อมกัน โดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถจำแนกสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มต่างๆ ได้ คือ สารกลุ่มออริกาโนฟอสเฟต ออริกานคลอรีน ไพรีทรอยด์ และคาร์บาเมท
วิธีการตรวจสอบที่กรมวิชาการเกษตรใช้อยู่ในปัจจุบัน มี 2 วิธี คือ
     1) วิธี Thin Layer Chromotagraphy ของ Arpad Ambros 1998 (TLC) เป็นวิธีการที่ใช้ แผ่นเพลท สำเร็จรูปขนาด 20x20 เซนติเมตร ซึ่งเคลือบเจล 60 ส่วน ตัวอย่างสกัดด้วย เอทธิล อาซีเตท แล้วนำไปหยดลงแผนเพลท และใช้ O-Tolidine และ Potassium iodide เป็นสารที่ทำให้เกิดสี กับสารกำจัดศัตรูพืช สารตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืช หากมีอยู่ในผลผลิตจะแสดงผลบวกที่มีสีแตกต่างกันบางชนิดให้สีน้ำเงินบางชนิดให้สีม่วง และบางชนิดให้สีขาว บนพื้นสีขาวแกมเทา วิธี้การนี้มีข้อดีตรงที่สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละหลายๆ ตัวอย่างพร้อมกัน
     2) วิธี Rapid Bioassay Pesticide Residue (RBPR) เป็นวิะการที่ใช้เทคนิคการยับยั้งเอ็น ไซม์ โคลีน เอสเทอเรส ตามหลักการของ Ellman's Test และใช้ Ellman's reaqent หรือ DTNB (5,5'-dithio-bis- (2 mitroloenzoate) เป็นสารที่ทำให้เกิดสี วิธีการนี้ใช้ตรวจสอบสารได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มคาร์บาเมท ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยการออกฤทธิ์ ยับยั่งการทำงานของเอ็นไซม์อะเซทชิลโคลีนเอสเทอเรส ผลของปฏิกิริยา เกิดเป็นสีเหลือง ซึ่งสามารถตรวจวัดค่าดูกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเป็คโตรโฟโตมิเตอร์ (Speetrophotometer) ที่มีความยาวคลื่น 412 หรือ 415 นาโนเมตร ค่าความเข้มของสีเหลืองที่เกิดขึ้นนำมาคำนวณเป็น % inhibition การจัดระดับความปลอดภัยของผลผลิตดูจากค่า % inhibition นี้เป็นหลัก ซึ่งแต่ละประเทศจะกำหนดค่าแตกต่างกันไป เช่น เวียดนาม และไต้หวัน กำหนดค่าเกินกว่า35% ถือว่าไม่ปลอดภัย ฟิลิปปินส์ กำหนดว่าถ้าค่าที่ได้น้อยกว่า 20% จัดว่าผลผลิตมีความปลอดภัย สามารถปล่อยออกสู่ตลาดได้ ถ้ามีค่าระหว่าง 20 และ 50% ผลผลิตจะถูกยึดไว้ และเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้คำแนะนำแก่เกษตรกรด้านการใช้สารเคมีให้ถูกต้องและต้องยืดเวลาเก็บเกี่ยวให้ยาวนานขึ้น เพื่อให้สารสลายตัวก่อน สำหรับประเทศไทยกำหนดค่านี้ไว้ที่ระดับ 25%

ปลูกผักในอากาศ เทคโนโลยีการปลูกพืชไร้ดิน

plant01

จริง ๆ แล้วการปลูกผักแบบไฮโดรโพนิกส์ (hydropoincs) หรือการปลูกพืชในน้ำ หนือน้ำยาเป็นลักษณะหนึ่งของการปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless Culture) แต่ที่ไร่วโนทยาน เรียกการปลูกผักทั้ง 2 ลักษณะแยกกัน เป็น 2 ประเภท คือ ถ้าปลูกในน้ำยาเรียก ไฮโดรโพนิคส์ และเรียกการปลูกผักในวัสดุปลูกอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ดินว่า "ซอยเลส" (Soilless)
ดร. นภดล เรียบเลิศหิรัญ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียนไว้ในหนังสือเรียน "การปลูกพืชไร้ดิน" เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการปลูกแบบไร้ดินว่าเริ่มครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2479 ผู้เริ่มคือ ดร. เกอริก ได้ทดสอบการปลูกมะเขือเทศในน้ำยาผสมธาตุอาหาร ตามสูตรที่เขาดัดแปลงขึ้นและประสบความสำเร็จ เนื่องจากต้นมะเขือเทศเจริญเติบโตดีมาก จนกระทั่งออกดอก และติดผลที่มีขนาดรับประทานได้ผลงานของดร.เกอริก ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง
ดร. เกอริก เรียกการปลูกพืชในลักษณะนี้ว่า "hydropoincs" ซึ่งเป็นคำภาษากรีกมาจากคำว่า "hydro" ซึ่งแปลว่า "น้ำ" และ "ponics" แปลว่า "การทำงาน" รวมกันเป็น "hydroponics" แปลว่า "การทำงานของน้ำ"
แต่ในเว็บไซต์ของ biocontrols.com บอกว่า ผู้ที่พัฒนาระบบการปลูกพืชแบบ hydroponics รายแรกคือ Dr.Hoagland และ D.L Amon แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เช่นเดียวกัน แต่ดำเนินการเมื่อปี 1938 หรือ ปี 2481 ถ้าดูระยะเวลาก็ต้องบอกว่ามาทีหลัง ดร. เกอริก ใครจะเป็นรายแรก รายหลังก็ไม่เป็นไร เพราะทั้งคู่อยู่ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย มาดูประเทศไทยดีกว่า ดร. นภด เรียบเลิศหิรัญ กล่าวไว้ในหนังสือ "การปลูกพืชไร้ดิน" ของท่านว่า สำหรับประเทศไทย การปลูกพืชแบบไร้ดิน เริ่มมาจากการทดลองของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เสียมากกว่า มีผู้ริเริ่มปลูกเป็นการค้าจริงๆ ที่ตำบลนาดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยชาวไต้หวันเป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาแนะนำ โดยเริ่มด้วยการเน้นปลูกผักที่ราคาแพง ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจัดเป็นผักอนามัยปลอดภัยจากสารพิษที่แท้จริงและเจ้าของสวนให้ชื่อว่า "ผักลอยฟ้า" หลังจากนั้นเทคโนโลยีนี้จึงได้ขยายผลไปยังผู้ประกอบการรายอื่น ๆ แต่ก็นับว่าได้ใช้เวลาเกือบ 10 ปี กว่าเทคโนโลยีจะแพร่หลาย

คุณสุภาพร รัตนะรัต นักวิทยาศาสตร์ กองเกษตรเคมี (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร) กรมวิชาการเกษตร เขียนไว้ในหนังสือ "หลักและวิธีการผลิตผักอนามัย" ของกรมวิชาการเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2544 เรื่อง "การปลูกพืชไร้ดิน : การปลูกผักอนามัยในสารละลายธาตุอาหาร" ว่า การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน หรือ Soilless culture เป็นการปลูกผักโดยให้รากอยู่ในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน ได้แก่ การปลูกให้รากแช่อยู่ในน้ำ (water culture หรือ hydroponics) ปลูกให้รากอยู่ในอากาศ (aeroponics) และปลูกให้รากอยู่ในวัสดุปลูกอื่น ๆ (substrate culture) ได้แก่ วัสดุอินทรีย์ เช่น ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ ขี้เลื่อย วัสดุผสมต่าง ๆ และวัสดุอนินทรีย์ เช่น ทราย กรวด ฟองน้ำ ใยหิน (rock wool) เพอไลท์ (perlite) และเวอร์มิคูไลท์ (vermiculite) เป็นต้น ซึ่งการปลูกในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดินเหล่านี้ ต้องให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชอย่างพอเหมาะและต่อเนื่อง จึงจะทำให้พืชเจริญเติบโต การปลูกผักในลักษณะนี้ ถือเป็นการปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless culture) อีกวิธีหนึ่ง

ดร. นภดล เรียบเลิศหิรัญ บอกว่าประโยชน์ของการปลูกพืชแบบไร้ดิน มีหลายประการ คือ
     - ใช้ทดแทนการปลูกพืชในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินกรวด และดินด่าง
     - ประหยัดพื้นทีที่จะใช้ปลูก เพราะระบบไร้ดินปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าปลูกในดิน
     - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปลูก และบำรุงรักษาพืช เพราะธาตุอาหารและน้ำอยู่ในระบบที่หมุนเวียนได้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช
     - อายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าการปลูกในดิน
     - สามารถควบคุมโรคและแมลงได้สะดวกกว่าการปลูกในดิน เนื่องจากใช้พื้นที่ปลูกขนาดเล็กกว่า
     - ใช้ปลูกบำรุงรักษาพืชให้อยู่รอดมากขึ้น โดยเฉพาะพืชจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     - เหมาะสำหรับการปลูกพืชในเมืองใหญ่ หรือเมืองอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชน้อย หรือบนตึกสูง เช่น คอมโดมีเนียม โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น
     - ใช้ปลูกพืชในยานอวกาศได้ ปัญหาของการปลูกพืชแบบไร้ดินก็มีอยู่บ้างเช่นกันคือ ต้องลงทุนสูงกว่าการปลูกพืชในดินทั่ว ๆ ไป ผู้ปลูกต้องทราบ เทคนิค หรือเทคโนโลยีพอสมควร ที่สำคัญคือถ้าจะปลูกเป็นการค้า ต้องเลือกปลูกพืชที่มีราคาและมีตลาดรองรับ จึงจะประสบความสำเร็จ

ไร้ดินแบบไฮโดรโพนิคส์

ดังที่กล่าวแล้วว่า การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว โดยชาวไต้หวัน นำเข้ามาแนะนำให้ผู้ประกอบการคนไทยทำเป็นการค้าที่เรียกว่า "ผักลอยฟ้า"
ไฮโดรโพนิคส์ เข้ามามีบทบาทเพื่อแก้ปัญหาของการปลูกพืชในดิน ซึ่งมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืช รวมทั้งเชื้อโรคพืชที่อาศัยอยู่ในดิน ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิตเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ปลูก นอกจากนี้การปลูกพืชในดินยังต้องใช้น้ำมาก   ถ้าปราศจากแหล่งน้ำก็ก่อให้เกิดปัญหาในการเพาะปลูกอีกการปลูกพืชในดินต้องมีการเตรียมดิน ปรับสภาพดิน และต้องใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ตามอายุพืช "ไฮโดรโพนิคส์" จึงเป็นระบบการปลูกพืชที่เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไฮโดรโพนิคส์ก็เหมาะสมสำหรับพืชบางชนิดเท่านั้น ไฮโดรโพนิคส์ เป็นการปลูกพืชไร้ดิน ในรูปแบบของการปลูกพืชให้รากพืชแช่อยู่ในน้ำ หรือสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งคุณสุภาพร รัตนะรัต บอกว่า การปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน วิธีที่ง่ายและสะดวก เป็นที่นิยมกันมี 2 วิธี คือ

- การปลูกพืชในสารละลายแบบไม่ไหลเวียน เป็นการปลูกแบบให้รากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่มีเครื่องพ่นอากาศ เป่าอากาศลงในสารละลายนั้น การปลูกในระบบนี้เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมาก เหมาะสำหรับปลูกในครัวเรือน เป็นงานอดิเรก หรือเป็นงานทดลองภาชนะที่ปลูกอาจจะเป็นภาชนะเดี่ยวหรือเป็นกระบะรวม การปลูกในภาชนะเดี่ยวมีข้อดี คือ ไม่ต้องเสี่ยงกับความเสียหายทั้งหมด ในกรณีที่มีโรคติดมากับรากพืชที่ปลูก ความเสียหายจะเกิดเฉพาะต้นที่เป็นโรคเท่านั้นและการเคลื่อนย้ายภาชนะปลูกสามารถทำได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ อาจต้องสิ้นเปลืองแรงงานมากกว่า
- การปลูกในสารละลายแบบไหลเวียน (Nutrient Flow Tecnnique หรือ NFT) เป็นวิธีให้รากแช่อยู่ในสารละลายที่ไหลเวียนภายในภาชนะปลูกรวม โดยใช้ปั๊มทำการผลักดันให้สารละลายเกิดการไหลเวียน มี 2 แบบ คือ แบบสารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ตามความลาดชันของรางปลูก (Nutrient Flow Tecnnique) และระบบสารละลายไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่อง (Natrient Flow Tecnnique) การปลูกในระบบนี้ สารละลายธาตุอาหารที่ไหลผ่านรากพืชจะไหลลงสู่ถังภาชนะบรรจุ แล้วถูกสูบด้วยปั้มน้ำขึ้นมาให้พืชได้ใช้ใหม่ โดยวิธีนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากสารละลายธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำสารละลายธาตุอาหารกลับมาใช้ใหม่ จึงเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากสารละลายเหลือใช้ แต่ข้อเสียของระบบนี้คือ ถ้าเกิดโรคที่ติดมากับรากพืช จะทำให้แพร่กระจายได้มากและรวดเร็ว จากการที่รากแช้อยู่ในสารละลายเดียวกัน ซึ่งยากที่จะกำจัด หรือรักษาให้หายได้ การแพร่ระบาดของโรคอย่างรุนแรงทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกไว้ทั้งหมด

การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ โดยเฉพาะพืชผักจะต้องปลูกในโรงเรือนมุ้งตาข่าย ภาชนะปลูกส่วนใหญ่จะเป็นกระบะ สำหรับใส่น้ำสารละลายธาตุอาหารพืช มีแผ่นโฟมปิดบนกระบะแผ่นโฟมจะเจาะเป็นช่อง ๆ สำหรับวางต้นกล้าให้รากลงไปแช่ในสารละลาย ปัจจุบันมีการพัฒนาภาชนะปลูกให้ทันสมัยขึ้น ประหยัดเนื้อที่และประหยัดน้ำมากขึ้น โดยการทำเป็นรางน้ำแทนกระบะนอกจากนี้ยังต้องมีเครื่องปั๊มอากาศ สำหรับปั๊มอากาศเข้าไปในภสชนะปลูกพืชให้ออกซิเจนแก่รากพืช เพื่อพืชใช้ในการดูดซึมอาหาร
สำหรับธาตุอาหารที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต มี 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โมลิบดินัม สังกะสี คลอรีน และโบรอน นอกจากนี้อาจจะมีธาตุอาหารอื่นๆ บ้าง เช่น อะลูเนียม แกลเลียม ซิลิกอน ไอโดดีน ซีลีเนียม และโซเดียม แต่จากการวิเคราะห์พบว่า ธาตุอาหารที่พืชต้องการมากคือ คาร์บอน
และออกซิเจน ทั้ง 2 ชนิดรวมกันประมาณ 90% ของธาตุอาหารพืชทั้งหมด ที่เหลือเป็นไฮโดรเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ คุณสุภาพร รัตนะรัต กล่าวถึงข้อดี และข้อจำกัดของการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ โดยเฉพาะพืชผักไว้ดังนี้

ข้อดี คือ
* ให้ผลผลิตที่สะอาด ถูกอนามัย ปลอดภัยจากสารพิษ เนื่องจากปลูกในโรงเรือนที่มีมุ้งตาข่ายปิดมิดชิดจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช
* พืชเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกในดิน เนื่องจากพืชได้รับธาตุอาหารต่างๆ ครบถ้วนในสัดส่วนที่พอเหมาะและตลอดเวลาที่พืชต้องการ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและรสชาติดี
* พืชที่ปลูกอยู่รอดมากขึ้น และให้ผลผลิตสูง เพราะสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้ดีกว่าปลูกในดิน ลดความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่แน่นอน เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง
* ใช้พื้นที่น้อย เพราะปลูกพืชได้หนาแน่นกว่าปลูกในดิน และปลูกต่อได้ทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวพืชชุดแรกแล้ว จึงสามารถปลูกได้หลายครั้งต่อปี
* ประหยัดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช
* ทดแทนการปลูกพืชในดินที่มีปัญหา เช่น ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง ดินที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกพืช เช่น ดินลูกรัง ดินที่มีน้ำท่วมขังบ่อยครั้ง
* เหมาะสำหรับปลูกในสถานที่ที่มีพื้นผิวดินสำหรับปลูกพืชน้อย เช่น ระเบียงบ้าน หรือ คอนโดมีเนียม
* ปลูกได้ตลอดปี ไม่ต้องรอฤดูกาล สามารถเลือกปลูกพืชในช่วงที่มีราคาแพง ทำให้ผลผลิตได้ราคาดีขึ้น
* ใช้แรงงานในการดูแลน้อย

ข้อจำกัด
คือ ลงทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมีอย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน

ไร้ดินแบบแอโรโพนิคส์

การปลูกพืชในระบบแอโรโพนิคส์ (aeroponics) คล้าย ๆ กับไฮโดรโพนิคส์ แต่แทนที่รากพืชจะแช่อยู่ในน้ำยาซึ่งเป็นสารละลายธาตุอาหารพืช ก็ใช้วิธีการฉีดพ่นสารละลายธาตุอาหารพืชให้แก่พืชทางรากเป็นระยะ ๆ ตลอด 24 ชั่วโมงแทน วิธีการนี้พืชได้อาหารครบถ้วนและพอเพียง แต่การปลูกด้วยระบบแอโรโพนิคส์ ต้องใช้ระบบควบคุมการฉีดพ่นธาตุอาหารแบบอัตโนมัติ เช่น ฉีดพ่นทุก ๆ 1 นาที ระยะเวลาฉีดพ่น 1 นาที หยุด 1 นาที เป็นต้น วิธีการนี้ใช้นน้ำน้อยมาก การปลูกพืชในระบบแอโรโพนิคส์นี้ ความชื้นจากการฉีดพ่นสารละลายธาตุอาหารจะไปกระตุ้นให้รากพืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ภายใน 10 วัน และต้นพืชโดยเฉพาะพืชผักสามารถเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวได้ภายในระยะเวลาเพียง 30 วัน ใน www.biocontrols.com ระบุว่า การปลูกพืชในระบบแอโรโพนิคส์นี้ มีประโยชน์และข้อดีหลายประการคือ
* ไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืช
* ไม่ต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
* ประหยัดน้ำและสารละลายธาตุอาหารพืช
* พืชโตเร็ว เก็บเกี่ยวได้เร็ว และให้ผลผลิตสูง
* สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกได้ ทั้งนี้มีตัวเลขยืนยัน ดังนี้
     สามารถลดการใช้น้ำได้ 98%
     สามารถลดปริมาณปุ๋ยเคมี ได้ 95%
     สามารถลดปริมาณสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชได้ 99%
     สามารถเพิ่มผลผลิตในแต่ละรอบการเพาะปลูกได้ 45%
ได้ผลผลิตที่สะอาด