กระแสผักปลอดภัยจากสารพิษ

v001

 

บริโภคในปัจจุบันคำนึกถึงสุขภาพอนามัยของตนเอง และคนในครอบครัวกันมากขึ้น จริงๆ แล้วก็ไม่แน่ใจเหมือน กันว่า อะไรเกิดก่อนอะไร ระหว่างความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าหรือผลผลิตที่บำรุงสุขภาพอนามัยอย่างแท้จริง กับความต้องการของ ผู้ขายที่พยายามจะใช้ การบำรุงสุขภาพอนามัยที่แท้จริงเป็นจุดขาย แต่จะอะไรเกิดก่อนอะไรคงไม่สำคัญเท่ากับว่า ผู้บริโภคได้รับประโยชน์ตาม ที่ต้องการหรือไม่ ผู้ขายมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าของตนมาน้อยเพียงไร กระบวนการตรวจสอบและรับรองว่าผลผลิตหรือสินค้านั้น มีคุณภาพตาม ต้องการจึงเกิดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค และสร้างความเชื่อถือทางด้านการตลาดให้กับผู้ขาย พืชอาหาร เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคให้ความสนใจและเอาใจใส่พิถีพิถันในการเลือกซื้อเพิ่มมากขึ้น หลังจากพบว่า การผลิตพืชอาหารในอดีต หรือแม้แต่ในปัจจุบัน เกษตรกรใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชกันอย่างมากมาย เป็นผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผลผลิต และทำ ให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการบริโภคผลผลิตเหล่านั้นเข้าไป มีตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรงเสียชีวิตก็มี ผักและผลไม้ เป็นพืชอาหารที่ผู้บริโภคให้ความใสใจเรื่องสารพิษตกค้างเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่จะรับประทานผักผลไม้สด ๆ มากว่าการนำไปปรุงหรือแปรรูป ถ้าผักและผลไม้มีสารพิษตกค้าง ผู้บริโภคก็จะได้รับอันตรายได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง

โครงการนำร่อง

     อันที่จริง กรมวิชาการเกษตรได้ริเริ่มโครงการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่เรียกว่ า "พืชผักอนามัย" มาตั้งแต่ปี 2526 นับถึงวันนี้ เป็นเวลา 20 ปีแล้ว โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดแก้ปัญหาสารพิษในพืชผัก โดยการสนับสนุนทางวิชาการแก่เกษตรกร ในการ ผลิตพืชผักให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็กำหนดมาตรการในการจัดจำหน่ายผักอนามัยพร้อมกันไปด้วยผลการดำเนินงานในขณะนั้น มีเกษตรกรหลายร้อยครอบครัวจากหลายจังหวัดเข้าร่วมโครงการ ด้วยการเข้ารับการถ่ายทอดความรู้ และนำไปปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็ได้อนุญาต ให้ภาคเอกชนมีสถานที่จัดจำหน่ายผักสดอนามัย
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงโครงการผลิตพืชผักอนามัยเป็น "โครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนา มัย" มีการบริหารงานโดยคณะอนุกรรมการบริหารงาน โครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัย และคณะทำงานฝ่ายควบคุมและตรวจ สอบการใช้วัตถุมีพิษ หลักและวิธีการ ตลอดจนระเบียบการปฏิบัติงานของโครงการฯ ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลอด มา แต่วัตถุประสงค์หลักๆ ของโครงการที่ยังคงไว้ได้แก่
     - เป็นโครงการตัวอย่าง ถ่ายทอดความรู้ในการผลิต การจำหน่ายพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ
     - เพื่อสร้างแบบอย่างการปฏิบัติที่ถูกหลักวิชาการ โดยกำหนดระบบการผลิตและระบบตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และกำหนดมาตร ฐานของสินค้า
     - ผักและผลไม้อนามัยที่ได้รับจากขบวนการผลิตที่มีการใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช หรือการผลิตแบบเกษตรธรรมชาติที่ไม่ใช้สารเค มีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ผลผลิตจะต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ
     - การใช้สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในระบบการผลิตพืชในผัก และผลไม้อนามัยให้ใช้การป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน- สารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิต ต้องเป็นสารเคมีที่อยู่ในรายการที่โครงการกำหนดให้เท่านั้น
     - ผักและผลไม้อนามัยคือ สินค้าที่ปลอดภัยจากสารพิษ ตามมาตรฐานที่กำหนดและเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ โดยยึดค่า MRL (Max imum Residue Limit) หรือค่าความปลอดภัย ซึ่งเป็นค่าที่อนุญาตให้มีได้สูงสุด ถ้าเกินจากนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคค่าดังกล่าว เป็นค่าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นผู้กำหนด

     ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายเคมีเกษตร โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการลดการใช้สารเคมีที่มีอัน ตรายในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้เพิ่มทางเลือกในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเพื่อลดและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่จะ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ผลิต คือ เกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม กรมวิชาการเกษตร โดยว่าที่ ร.ต. มนตรี รุมาคม อธิบดีกรมวิชาการ เกษตรได้สนองนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินงานในช่วงแผนพัมนาเศรษฐกิจและสัง คมแห่งชาติฉบับที่ 7 โดยกำหนดเป้าหมายการลดสารพิษตกค้างในพืชผักและผลไม้ เพื่อให้ผู้ผลิต และผู้บริโภคมีความปลอดภัย ขณะเดียวกัน ก็จะส่งผลถึงการผ่อนคลายมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดของต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดประชาคมยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดสำคัญ ของไทย โครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัยจึงเป็นโครงการสำคัญของกรมวิชาการเกษตรในการสนับสนุนนโยบายเคมีเกษตรของกระ ทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังกล่าว ซึ่งยังคงดำเนินการมาจนถึงขณะนี้


ค่อยๆ เติบโต

     คุณนิตยา วีระกุล อดีตผู้อำนวยการสำนักประสานงานโครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัย เคยรายงานไว้ในการสัมมนาเรื่อง "กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็ง การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในผักและผลไม้" เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2545 ว่า "…การดำเนินงานของโครงการนำร่อง การผลิตพืชผักและผลไม้อนามัยเริ่มรับสมาชิกมาตั้งแต่ปี 2537 ระยะ 4 ปีแรก มีสมาชิกที่สมัครเข้า ร่วมโครงการปีหนึ่งๆ ไม่เกิน 10 ราย ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาสมาชิกเพิ่มเป็น 20 ราย และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2544 มีสมาชิก 112 ราย สำหรับปี 2545 ตั้งแต่เดือนมกราคม - มีนาคม 2545 มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 24 ราย จนถึงเดือนเมษายน 2545 มีสมาชิก 305 ราย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 หมื่นไร่ ใน 50 จังหวัด เป็นพื้นที่การผลิตผักประมาณ 1 หมื่น ไร่ ผลไม้ประมาณ 1.6 หมื่นไร่ ผักและผลไม้รวมกันประมาณ 7.5 พันไร่ พื้นที่การผลิตชาหม่อนประมาณ 4.5 พันไร่ พื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งผลิตของสมาชิกมากที่สุด แหล่งผลิตผลไม้ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก จันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ผลผลิตผักของสมาชิกโครงการฯ มีหลายชนิด ทั้งชนิดที่รับประทานต้น ดอก และใบ ได้แก่ ผักตระกูลกะหล่ำ ผักกาด ผักคะน้า กะหล่ำ ปลี กะหล่ำดอก บล็อคโคลี่ ผักกาดขาว ผักกาดหอม ปวยเล้ง ผักสลัดชนิดต่างๆ ผักรับประทานผล ได้แก่ พริก มะเขือ มะเขือเทศ พืชตระกูล แตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงไทย ฯลฯ ฟักทอง กระเจี๊ยบเขียว มะระขี้นก ผักรับประทานหัวหรือราก เช่น มันเทศ เผือก แครอท พืช สวนครัว เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กะเพรา โหระพา หัวหอม กระเทียม และพืชอื่นๆ เช่น ว่านหางจระเข้ ผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ส้มโชกุน ชมพู่ มังคุด ลำไย สับปะรด เงาะ กล้วย แตงโม แคนตาลูป
      ผลผลิตจากสมาชิกโครงการดังกล่าว ส่วนใหญ่มีตลาดรองรับอยู่แล้ว โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศ สมาชิกของโครงการสามารถจำหน่ายผลผลิตได้ ทั้งจากหน้าสวนของตนเอง หรือส่งตามแหล่งต่างๆ หรือมีพ่อค้าคนกลางรับไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่ง แหล่งจำหน่ายของสมาชิกฯ มีหลาย ระดับ ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร ภัตตาคาร หรือตลาดใหญ่ๆ ที่เป็นแหล่งรวมสินค้า เช่น ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไท ตลาด อ.ต.ก. และปาก คลองตลาด นอกจากนี้ยังมีห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ เช่น เทสโก้โลตัส เดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม บิ๊กซี โรบินสัน ท็อปส์ซุปเปอร์มาเก็ต คาร์ฟู แม็คโค โกลเด้นเพลส กรีนไลฟ์ ฟู้ดแลนด์ และเลมอนฟาร์ม เป็นต้น
     ปัจจุบันผู้บริโภคทุกระดับชั้น ให้ความสำคัญต่อการเลือกซื้อผักอนามัย หรือผักปลอดภัยจากสารพิษกันอย่างแพร่หลาย สังเกตจากการกระ จายตัวของแหล่งขาย และจำหน่ายสมาชิกโครงการนำร่องพืชผักและผลไม้อนามัยของกรมวิชาการเกษตร ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 1 - 2 ปีที่ ผ่านมาในจำนวนสมาชิกของโครงการฯ ทั้งหมด มีจำนวน 12 ราย ที่แจ้งว่าเป็นผู้ส่งออกผลผลิตไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงค ์โปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ผลผลิตส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลไม้ จำพวก เงาะ ทุเรียน กล้วยหอม ลำไย ส้ม สับปะรด และ แตงโม
     มีสมาชิกจำนวน 17 ราย ที่ผลิตผักด้วยระบบไฮโดรโพนิคส์ คือ ปลูกในน้ำยาที่มีสารอาหาร ซึ่งกำลังเป็นเทคนิคการผลิตอีกวิธีหนึ่งที่กำลัง ได้รับความสนใจ และยังมีสมาชิกอีก 1 รายที่ผลิตผักโดยใช้ระบบแอร์โรโพนิคส์ คือ การสเปรย์สารอาหารให้ทางราก ซึ่งกสิกรจะนำวิธีการปลูก ผักทั้ง 2 แบบ นี้มาเสนอในโอกาสต่อไป

สถานการณ์ปัจจุบัน

     คุณจันทร์ทิพย์ ธำรงศรีสกุล ผู้อำนวยการสำนักประสานงานโครงการนำร่องการผลิตพืชผักและผลไม้อนามัย กรมวิชาการเกษตรท่านปัจจุบัน ได้เล่าถึงสถานการณ์การผลิตผักอนามัยของโครงการว่า ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคผักอนามัยในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาก ทางด้านผู้ผลิตก็ถือว่าผักอนามัยเป็นจุดขายอันหนึ่ง ส่วนผู้บริโภคถือว่าผักอนามัยปลอดภัยต่อการสุขภาพอนามัย
     โครงการฯ รับสมาชิกเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะในปี 2545 ที่ผ่านมา มีสมาชิกร่วมโครงการฯ เพิ่มจาก 200 กว่าราย เป็น 359 ราย (จากเดือนเมษายน - ธันวาคม มีสมาชิกเพิ่มอีกกว่า 50 ราย) จนถึงตอนนี้เราหยุดรับสมาชิกชั่วคราวก่อนเพื่อเคลียร์สมาชิกเก่าให้หมดเหตุที่สมาชิกเพิ่มมากขึ้นมี 2 ประการ คือ หนึ่ง ความปลอดภัยในการบริโภค ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีความปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี สอง เพื่อประโยชน์ที่ผู้ผลิตนำไปเสนอขายให้กับแหล่งต่างๆ ที่ต้องการการรับรอง ประการหลังนี้ในระดับผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง หรือผู้ในแหล่งที่มีลูกค้าซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจดี เช่น โรงแรมใหญ่ๆ ภัตตาคารหรูฯ เขาต้องการสินค้าซึ่งมีการรับรอง การรับรองในระดับนี้ของกรมวิชาการเกษตรจะได้เปรียบกว่าหน่วยงานอื่น เพราะเมื่อเรารับรองแล้ว เราดูแปลงปลูกด้วย มีการตรวจสอบขบวนการผลิต ว่าถูกต้องตามคำแนะนำหรือไม่"
     เมื่อถามถึงว่า มีสมาชิกในโครงการเพิ่มขึ้นมากเช่นนี้ จะดูแลทั่วถึงหรือไม่ คุณจันทร์ทิพย์ บอกว่า "โครงการฯ กำลังประสบปัญหาอย่างที่เรียนว่า ในช่วงปี 2545 ที่ผ่านมา ได้รับสมาชิกเพิ่มกว่าครึ่งของจำนวนทั้งหมดที่รับมาในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ไม่แน่ใจว่าปีหน้าหรือปีต่อๆ ไปจำนวนจะมากขึ้นๆ อีกหรือไม่ เพราะฉะนั้นตอนนี้เราจึงต้องทำรูปแบบใหม่ กรมวิชาการเกษตรเห็นความสำคัญของโครงการนี้ จึงมีนโยบายให้เราจัดระบบการทำงานใหม่ จะมีบุคลากรเพิ่มมากขึ้น และจะมีการประสานกับหน่วยงานของกรมฯ ในส่วนภูมิภาค คือ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตต่างๆ ให้ช่วยดูแลสมาชิกในโครงการหรือ จัดการระบบต่างๆ ของโครงการให้ดีขึ้น" ผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่า คำว่าผักอนามัยผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักปลอดสารพิษ หรือผักอินทรีย์ แตกต่างกันอย่างไร ทำไมไม่ใช้
คำใดคำหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณจันทร์ทิพย์ อธิบายว่า "แตกต่างกันที่ขั้นตอน หรือขบวนการ และแตกต่างกันตรงการรับรองของหน่วยงานขึ้นอยู่กับโลโก้ (Logo) หรือ สัญลักษณ์ ทุกวันนี้การรับรองแสดงโดยโลโก้ แต่ละโลโก้ที่ออกมาข้อจำกัดของแต่ละโลโก้แตกต่างกันต้องดูว่าโลโก้นั้นๆ รับรองโดยระบบอะไร ของหน่วยงานใด และรับรองอย่างไร
     โดยพื้นฐานแล้วผักในชื่อเรียกต่างๆ เหล่านั้น คือ ผักที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง แต่โดยวิธีการจัดการในขบวนการผลิต วิธีการตรวจสอบจะแตกต่างกัน ซึ่งตรงนี้กล่าวอ้างไม่ได้ว่าของใครดีกว่าใคร นอกจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นที่รับรอง อีกหลายหน่วยงานเช่น กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งจะดูแลเรื่องระบบการผลิต เป็นหลักรับผิดชอบทางด้านการให้การฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ผลิตจะดูและรับรองว่าเกษตรกรทำตามขั้นตอนต่างๆ ตามคำแนะนำอย่างถูกต้องหรือไม่ แต่ไม่ได้ตรวจสอบสารพิษตกค้าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ้าสังเกตให้ดี โลโก้รับรองของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า รับรองระบบการตรวจสอบไม่ได้รับรองผล คือ จะรับรองว่าวิธีการตรวจสอบของเขา ถ้าทำให้ถูกต้องจะสามารถตรวจสอบอะไรได้บ้าง อย่างไร
      ความเชื่อมั่นว่าผัก ผลไม้ ต่างๆ ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างจริงๆ หรือไม่นั้น ต้องเริ่มต้นที่ผู้ผลิต เราต้องทราบก่อนว่า ผู้ผลิตคือเกษตรกร ใช้สารเคมีอะไรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เราถึงจะบอกได้ว่าการใช้สารตัวนี้ สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีนั้นๆ หรือไม่" สำหรับการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตว่ามีสารมีพิษตกค้างหรือไม่นั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญของระบบควบคุมคุณภาพและให้การรับรองของกรม
วิชาการเกษตร ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรมีห้องปฏิบัติการที่ใช้เทคนิคโครโมโตกราฟฟี่ ซึ่งเป็นวิธีการที่ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทั่วโลกใช้ในการตรวจสอบสารพิษตกค้าง และด้วยเทคนิคการสกัดแบบ moltiresidue ซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจวิเคราะห์สารได้หลายกลุ่มพร้อมกัน โดยอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถจำแนกสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มต่างๆ ได้ คือ สารกลุ่มออริกาโนฟอสเฟต ออริกานคลอรีน ไพรีทรอยด์ และคาร์บาเมท
วิธีการตรวจสอบที่กรมวิชาการเกษตรใช้อยู่ในปัจจุบัน มี 2 วิธี คือ
     1) วิธี Thin Layer Chromotagraphy ของ Arpad Ambros 1998 (TLC) เป็นวิธีการที่ใช้ แผ่นเพลท สำเร็จรูปขนาด 20x20 เซนติเมตร ซึ่งเคลือบเจล 60 ส่วน ตัวอย่างสกัดด้วย เอทธิล อาซีเตท แล้วนำไปหยดลงแผนเพลท และใช้ O-Tolidine และ Potassium iodide เป็นสารที่ทำให้เกิดสี กับสารกำจัดศัตรูพืช สารตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืช หากมีอยู่ในผลผลิตจะแสดงผลบวกที่มีสีแตกต่างกันบางชนิดให้สีน้ำเงินบางชนิดให้สีม่วง และบางชนิดให้สีขาว บนพื้นสีขาวแกมเทา วิธี้การนี้มีข้อดีตรงที่สามารถตรวจตัวอย่างได้คราวละหลายๆ ตัวอย่างพร้อมกัน
     2) วิธี Rapid Bioassay Pesticide Residue (RBPR) เป็นวิะการที่ใช้เทคนิคการยับยั้งเอ็น ไซม์ โคลีน เอสเทอเรส ตามหลักการของ Ellman's Test และใช้ Ellman's reaqent หรือ DTNB (5,5'-dithio-bis- (2 mitroloenzoate) เป็นสารที่ทำให้เกิดสี วิธีการนี้ใช้ตรวจสอบสารได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มคาร์บาเมท ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลง โดยการออกฤทธิ์ ยับยั่งการทำงานของเอ็นไซม์อะเซทชิลโคลีนเอสเทอเรส ผลของปฏิกิริยา เกิดเป็นสีเหลือง ซึ่งสามารถตรวจวัดค่าดูกลืนแสงได้ด้วยเครื่องสเป็คโตรโฟโตมิเตอร์ (Speetrophotometer) ที่มีความยาวคลื่น 412 หรือ 415 นาโนเมตร ค่าความเข้มของสีเหลืองที่เกิดขึ้นนำมาคำนวณเป็น % inhibition การจัดระดับความปลอดภัยของผลผลิตดูจากค่า % inhibition นี้เป็นหลัก ซึ่งแต่ละประเทศจะกำหนดค่าแตกต่างกันไป เช่น เวียดนาม และไต้หวัน กำหนดค่าเกินกว่า35% ถือว่าไม่ปลอดภัย ฟิลิปปินส์ กำหนดว่าถ้าค่าที่ได้น้อยกว่า 20% จัดว่าผลผลิตมีความปลอดภัย สามารถปล่อยออกสู่ตลาดได้ ถ้ามีค่าระหว่าง 20 และ 50% ผลผลิตจะถูกยึดไว้ และเจ้าหน้าที่จะเข้าไปให้คำแนะนำแก่เกษตรกรด้านการใช้สารเคมีให้ถูกต้องและต้องยืดเวลาเก็บเกี่ยวให้ยาวนานขึ้น เพื่อให้สารสลายตัวก่อน สำหรับประเทศไทยกำหนดค่านี้ไว้ที่ระดับ 25%

0 ความคิดเห็น: