ฝ้ายเป็นพืชไร่...หนึ่งในปัจจัยสี่ที่ขาดไม่ได้ หนึ่งในปัจจัยที่ขาดไม่ได้ หนึ่งในปัจจัยสี่นี้คือเครื่องนุ่งห่ม ลองนึกภาพดูซิว่า ถ้าเครื่องนุ่งห่ม ขาดจะโป๊...และเซ็กซี่ขนาดไหน นอกจากนี้ฝ้ายยังเป็นต้นไม้ในพุทธประวัติด้วย "...ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงส่งสาวกซึ่งเป็นพระอรหันต์ชุด แรก จำนวน 60 องค์ ไปโปรดเวไนยสัตว์แล้ว พระองค์ก็เสด็จสู่อุรุเวลาประเทศ ครั้นถึงไร่ฝ้ายจึงหยุดยังรุกขมูลใต้ต้าฝ้ายต้นหนึ่ง" แสดงว่า ต้นฝ้ายสมัยนั้นใหญ่โตมโหฬารถึงขนาดคนเข้าไปพักพิงอาศัยร่มเงาได้ แต่ปัจจุบันฝ้ายที่ปลูกเป็นการค้ามีลำต้นเล็กเก็บปุยง่าย แต่ก็เจอปัญหา หนอนเจาะสมอฝ้าย จนชาวไร่ฝ้ายต้องเสียค่ากำจัดหนอนและศัตรูฝ้ายสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุน... จนต้องขาดทุนไปตาม ๆ กัน
แล้วนักปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายใน "ยุคอาวุธเทคโนโลยีชีวภาพ" จึงแก้เผ็ดโดยการสร้างฝ้ายบีที.. ที่มีสารพิษอยู่ในตังเมื่อหนอนกินเข้าไปจึง ต้อง... ตายลูกเดียว! แต่หนทางของฝ้าบบีทีนั้นก็เต็มไปด้วยขวากหนามอุปสรรค... ใครที่เกี่ยวข้องเป็นต้องถูกประฌาม... สรุปว่าจะอนุญาตให้ปลูก ฝ้ายนี้ได้หรือไม่ ต้องไปถามเอ็นจีโอ เอ๊ย! รัฐบาลดูก็แล้วกัน ย้อนไปในอดีตประเทศไทยเคยมีพื้นที่ปลูกฝ้ายสูงสุดเกือบหนึ่งล้านไร่ ทำรายได้ จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ใช้ฝ้ายเป็นวัตถุดิบส่งไปขายต่างประเทศถึงปีละ 100,000 กว่าล้านบาท แต่ปัจจุบัน (ปี 2545/46) เหลือพื้นที่ปลูกฝ้ายเพียง แสนกว่าไร่ ผลิตฝ้ายได้เพียง 10% ของความต้องการโรงงานเท่านั้น อะไรที่ทำให้การปลูกฝ้ายต้องตกต่ำถึงเพียงนี้...
ประวัติของฝ้าย..ต้นไม้ป่าอินเดีย มีผลเป็นขนปุย
นักโบราณคดีมีบันทึกไว้ว่า พบซากฝ้าย ที่มีอายุ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชทางเหนือของประเทศปากีสถาน ต่อมาราวสี่ร้อยปีก่อนคริสต์ ศักราช Herodotus ได้บันทึกว่า มีต้นไม้ป่าในอินเดียมีผลเป็นขนปุย ...ซึ่งสวยงามและดีกว่าขนแกะ พอถึงราว คศ. 1300 ในบันทึกของมาร์โค โปโลก็กล่าวเป็นการคอนเฟิร์มอีกว่า ประเทศอินเดียผลิตฝ้ายได้สวยกว่าที่ใดในโลก หลังจากนั้นพ่อค้าอาหรับก็นำสินค้าฝ้ายจากอินเดียไปยัง เมืองเวนิสและขยายไปถึงเยอรมนี ฝ้ายโลกเก่า VS ฝ้ายโลกใหม่ - ฝ้ายที่พบในเขตดังได้กล่าวมาแล้ว เรียกว่า "ฝ้ายโลกเก่า" ขณะเดียวกัน ในอีกซีกโลกหนึ่งคือทวีป อเมริกาก็มีการพบซากฝ้ายเหมือนกันโดยมีอายุ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เรียกว่าไม่น้อยหน้ากันฝ้ายในแถบทวีปอเมริกานี้จึงถูกเรียกว่า "ฝ้ายโลกใหม่" ฝ้ายเป็นพืชสกุล Gossypium มีมากมายหลายชนิด แต่ที่ปลูกเป็นการค้ามีเพียง 4 ชนิดเท่านั้น คือ G. arboreum L., G. her bceum L., G. barbadense และ G. Hirsutum ฝ้ายสองชนิดแรกหรือฝ้ายโลกเก่ามีถิ่นกำเนิดในปากีสถาน แล้วแผ่ขยายไป อินเดีย อินโดนี เซีย จีน และขยายไปถึงแมนจูเรีย เกาหลี ปรับตัวเข้ากับดินฟ้าอากาศได้ง่าย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฝ้ายเอเชีย มีเส้นใยหยาบสั้น ปัจจุบันมี เหลือปลูกอยู่บางในอินเดียหรือแอฟริกา และในไทย ที่ใช้ทำเป็นผ้านวม ด้ายสายสิญจน์ ส่วนสองชนิดหลังหรือฝ้ายโลกใหม่นั้น ชาวอินเดียน แดงในทวีปอเมริกาใช้ฝ้ายสองชนิดนี้ผลิตเป็นสินค้าก่อนที่โคลัมบัสจะพบทวีปอเมริกามานานแล้ว แต่ไม่ได้แพร่หลายเหมือนฝ้ายจากอินเดียใน สมัยนั้นนี่แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างในโลกนี้ย่อมมีพลิกผันเสมอเพราะต่อมาฝ้ายที่ปลูกเป็นการค้าเป็นฝ้ายโลกใหม่ทั้งหมด แต่ในโลกยุคท่องเว็บ ไม่ค่อยได้ตืดปากคำว่าฝ้ายโลกเก่าหรือหรือโลกใหม่ แต่จะเอ่ยถึงตามขนิดของเส้นใยฝ้ายมากกว่า ฝ้ายชนิดบาร์บาเด็นซ์ (G. barbadense ) มีเส้นใบยาวละเอียด ปลูกเป็นกาค้าในอียีปต์ราว คศ. 1800 จึงได้ชื่อว่า "อียิปเชี่ยน ค็อท ท็อน" ต่อมาสหรัฐอมริกาได้นำไปคัดเลือกเป็นพันธุ์ "อเมริกัน - อียิปเชี่ยน" ปลูกในเขตทะเลทราย ใช้น้ำชลประทาน ส่วนฝ้ายชนิดเฮอร์ชูตั้ม (G. Hirsutum) ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดในโลก ต่อมาเมื่อมีการคิดค้นเครื่องจักรหีบฝ้ายได้ การปลูกฝ้ายจึงได้ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายให้ผลผลิตสูงขึ้นจนแพร่หลายไปทั่วโลก แต่ที่ว่าผลผลืตสูงขึ้นในสมัยนั้นคือ เพียง 85 กิโลกรัม/ ไร่ เท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อเทียบกับสมัยนี้เรียกว่าห่างกันคนละชั้น เพราะนักปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายเดี๋ยวนี้สามารถปรับปรุงพันธุ์ฝ้ายได้ผลผลิตถึงในระ ดับ 300 กิโลกรัม/ไร่
กรมวิชาการเกษตร... กับการปรับปรุงพันธุ์ฝ้าย
ฝ้ายถือว่าเป็นไม้มงคลในจำนวนไม้มงคลเก้าชนิดและ"ผ้าฝ้าย" ก็ถูกกำหนดอยู่ในพุทธบัญญัติเก่าแก่ของไทยให้ภิกษุใช้เป็นผ้าห่มครอง ได้ในยุคสุโขทัยก็กล่าวกันว่า "เมื่อเสร็จหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก" ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผนก็ได้กล่าวถึงไร่ฝ้ายเช่นกีนฝ้ายถูก ส่งเสริมให้ปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่ 2543 ตั้งแต่ยังเป็นพันธุ์ "ฝ้ายพื้นเมือง" (คือชนิด G. arboreum L.) มีปุยหยาบสั้น ต่อมาปี 2478 กระทรวงกลาโหมตั้งโรงหีบฝ้ายและโรงงานปั่นด้วยขึ้น ส่วนกระทรวงเกษตรที่เรียกว่ากรมเกษตรสมัยนั้น ก็นำฝ้ายเมริกันคุณภาพดี (คือ ขนิด G. Hirsutum ) มาทดลองปลูก ฝ้ายชนิดนี่ครองตลาดการค้ามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาจึงเป็นบาร์บาเด็นซ์ ที่มีเส้นใยยาวเหนียวและละ เอียดอ่อน ที่เหมาะสำหรับใช้ทำผ้าที่มีราคาแพงโดยเฉพาะ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อุตสาหกรรมสิ่งทอได้เจริญอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกฝ้ายอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 และผลผลิตฝ้ายในประเทศก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงปี 2516 จากสูงสุดก็คืนสู่สามัญ...คือได้เกิดโรคแมลงศัตรูระบาดมาก ทำให้ผล ผลิตฝ้ายที่ได้เหลือเพียง 1 ใน 10 ของความต้องการฝ้ายทั้งหมด นับแต่นั้นมาประเทศไทยก็จำเป็นต้องสั่งฝ้ายจากต่างประเทศเข้ามาป้อนโรง งานถึงปีละกว่าพันล้านบาท และนำเข้าฝ้ายเพิ่มขึ้นทุกปี ๆ จนถึงขณะนี้ประเทศไทยต้องนำเข้าฝ้ายราวปีละ 17,000 ล้านบาท เรียกว่ามากกว่า 17 เท่าเลยทีเดียว
กรมวิชาการเกษตรกับบทบาทในการปรับปรุงพันธุ์ฝ้าย ในขณะที่ต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาได้มีการประดิษฐ์เครื่องหีบฝ้าย และ ต่อมามีโรงงานปั่นด้ายโรงแรกที่รัฐแมทสชาชูเชตส์ การปลูกฝ้ายและการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สหรัฐอเมริกาจึงกลาย เป็นแหล่งผลิตฝ้ายใหญ่ และยังได้ส่งฝ้ายไปจำหน่ายให้ประเทศอังกฤษและยุโรปอีกด้วยในขณะที่ประเทศอังกฤษก็พยายามหันไปซื้อฝ้ายจากอิน เดีย อียิปต์ ซูดาน แล้วยังพยายามให้มีการปลูกฝ้ายในประเทศเครือจักรภพแบบว่าอัฐยายซื้อขนม (หลาน) ยาย นอกจากนี้ยังให้มีการทดลอง ปลูกฝ้ายในทวีปแอฟริกา แล้วยังมีการตั้งสมาคมปลูกฝ้ายขึ้นแบบว่าแข่งกันอยู่ในที ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้มีการตั้ง "สถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง" จังหวัดสุโขทัย ในปี พ.ศ. 2479 แล้วได้มีการคัดเลือกฝ้ายได้ "พันธุ์เขมร 13" ลัคกี้นัมเบอร์เสียด้วย...ไม่บอกก็รู้ว่ามาจากประเทศไหน...แต่ว่าเนิ่นนานมาถึงป่านนี้ เขาคงไม่มาทวงคืนพันธุ์นี่จึงเป็นพันธุ์ ส่งเสริมตั้งแต่สมัยนั้น โดยเปลี่ยนสัญชาติเสียใหม่เป็นชื่อไทยๆ ว่า "พันธุ์ สข. 13" แล้วก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ประเทศเพื่อนบ้าน เมื่อได้มีการสั่ง พันธุ์ฝ้ายข้ามโลกไปถึงสหรัฐอเมริกามาผสมกับพันธุ์เขมร13 เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีขึ้น ได้เป็นพันธุ์ สข.14, พันธุ์ สข.32 แนะนำให้เกษตรกร ในปี 2504 แต่มีคำกล่าวว่า "ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด..มีแต่ที่ดีกว่า" และความจริงก็คงจะเป็นเช่นนั้นเมื่อนักปรับปรุงพันธุ์ได้พบพันธุ์ที่ดีกว่าชื่อ พันธุ์สโตนวิลล์ แนะนำให้เกษตรกรปลูก ต่อมาการเสาะแสวงหาพันธุ์ก็ข้ามไปถึงแอฟริกาใต้ทำให้ได้พันธุ์รีบาบี 50 ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าเส้น ใยดีกว่าและต้านทานต่อโรคสมอเน่าดีกว่าแนะนำให้ปลูกในปี 2509 แต่ก็ไม่มีพันธุ์ใดสมบูรร์แบบเพราะว่าคนทำพันธุ์ก็ยังสมบูรณ์แบบไม่ได้ จึงพบว่า พันธุ์บาบี 50 ซึ่งข้อเสียคือทรงพุ่มหนา ใบใหญ่นั้น พ่น ยายาก หนอนจึงระบาดได้มากกว่า นักปรับปรุงพันธุ์จึงได้พยายามหาพันธุ์ทรงต้นโปร่งใบเล็ก ได้ พันธุ์เดลต้าไพน์ สมูท ลีฟ มาเป็นพันธุ์ แนะนำแทนพันธุ์เดิมในปี 2515 นอกจากนี้พันธุ์เดลต้าไพน์ สมูท ลีฟ ยังให้ผลผลิตสูง คุณภาพเส้นใยตรงวตามความต้องการของโรงงาน แต่...ต่อมา...ก็พบว่า อ่อนแอต่อโรคใบหงิก ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญของฝ้ายในเวลาต่อมา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2516 จึงได้ปรับปรุงพันธุ์ได้ พันธุ์รีบา บีทีเค 12 ซึ่งเป็นโรคใบหงิก น้อยกว่ามาแทน และในช่วง พ.ศ. 2521 ถึงปัจจุบันก็มีพันธุ์ฝ้ายดีๆ เป็นพันธุ์รับรองทยอยออกมาเรื่อยๆ เหมือนเปลี่ยนชุดรัฐบาล ได้แก่ "พันธุ์ฝ้ายตาก ฟ้า 1 (พันธุ์รีบา บีทีเค 12 ผสมกับพันธุ์สโตนวิลล์ 213) "พันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 2" "พันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 3" "พันธุ์ฝ้ายนครสวรรค์ 1" "พันธุ์ฝ้ายศรีสำโรง 60" และล่าสุด "พันธุ์ฝ้ายตากฟ้า 2" ซึ่งเป็นฝ้ายเส้นใยยางพันธุ์แรกของประเทศไทย และได้รับเสนอให้เป็นผลงาน วิจัยดีเด่นประจำปี 2545 ของกรมวิชาการเกษตร ประเภทพัฒนางานวิจัย
ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 : โอกาสทองของผ้าฝ้ายไทย
ฝ้ายตากฟ้า 2 เส้นใยยางพันธุ์แรก...เส้นใยยาวนั้นสำคัญไฉน พันธุ์ตากฟ้า 2 ที่แนะนำให้เกษตรกรในปี 2544 เป็นพันธุ์ฝ้ายเส้นใย ยาว พันธุ์แรกของประเทศไทยในขณะที่พันธุ์ฝ้ายที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นฝ้ายเส้นใย (ยาว) ปานกลาง แล้วเส้นใยยาว...เส้นใยสั้นสำคัญอย่างไร ส่วนของฝ้ายที่เรานำมาใช้ทอผ้านั้น คือ เส้นใย คุณสมบัติของ เส้นใยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการซื้อขายส่วนใหญ่จะใช้ความยาวเส้นใยเป็น หลัก ฝ้ายที่มีความยาวมากกว่าจะเส้นเล็กกว่า ละเอียดกว่า ความยาวยิ่งมากก็จะปั่นเป็นด้วย เส้นเล็กได้แล้วนำมาทอเป็นผ้าละเอียดได้ มากขึ้น เส้นใยสั้นจะปั่นด้ายออกมาได้เส้นด้ายใหญ่และหยาบ ซึ่งใช้ทอเป็นผ้าเนื้อหยาบ เป็นพวกผ้าใบ ผ้าขนหนู ถ้าเส้นใยสั้นมาก ๆ ก็นำไปทำไส้ผ้า นวม สำลี เส้นใยที่เรียกว่า "ยาว" จะมีความยาว 1 นิ้วขึ้นไป และเส้นใย "สั้น" ก็คือ เส้นใยที่มีความยาวต่ำกว่านี้ ความยาวเส้นใยจะแบ่งออก เป็น 4 ชนิด คือ ต่ำกว่า 1.00 นิ้ว, 1.00 - 1.4 นิ้ว, 1.15 - 1.29 นิ้ว และยาวกว่า 1.25 นิ้ว จึงเรียกชื่อว่า เส้นใยสั้น...เส้นใยปานกลาง...เส้น ใยยาว...และเส้นใยยางพิเศษ ตามลำดับ ฝ้ายที่ปรับปรุงพันธุ์เป็นพันธุ์แนะนำในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยปานกลางบางครั้งก็เรียก เส้นใยยาวปานกลาง เพราะถ้าพูด "ปานกลาง" เฉย ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรปานกลาง เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านอย่าสับสนเพราะคนเคยทำฝ้ายก็สับ สนเหมือนกัน ฝ้ายพันธุ์ต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีความยาวเส้นใยประมาณ 1.14 - 1.15 นิ้ว ซึ่งเป็นเส้นใยยาวปานกลาง แต่พันธุ์ฝ้าย "ตากฟ้า 2" มี ความยาวเส้นใยถึง 1.18 นิ้ว จึงนับได้ว่าเป็นพันธุ์ฝ้ายเส้นใยยาวพันธุ์แรกของไทยนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติตัวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ จากคุณสมบัติพิเศษที่มีเส้นใยยาวถึง 1.18 นิ้ว (เทียบกับฝ่ายพันธุ์อื่น 1.14 นิ้ว) เมื่อนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยมือ...ขอย้ำว่า ด้วยมือ! จะทำให้ได้คุณภาพใกล้เคียงกับเส้นด้ายที่ปั่นจากโรงงาน ซึ่งเมื่อนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ จะทำให้ได้ผืนผ้าที่มีคุณภาพดี และราคาสูง ดังนั้น หากส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรนำเส้นใยฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมือง จะทำให้สามารถเปิดตลาด เส้นใยใหม่ไปสู่อุตสาหกรรม สิ่งทอพื้นเมือง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มมูลค่าให้กับประชาชนในระดับรากหญ้าแล้ว ยังช่วยลดการพึ่งพาโรงงานอุตสาห กรรม สิ่งทอและยังเป็นการสนับสนุนนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสมาคมฝ้ายไทยจึงได้ร่วมมือกันสนับสนุนการปลูกฝ้ายนี้ โดย สมาคมฯได้ประกันราคาฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 2 ในราคาสูงกว่าฝ้ายพันธุ์อื่นอย่างน้อยกิโลกรัมละ 3 บาท และผลักดันให้นำฝ้ายตากฟ้า 2 ไปผลิต เป็นผ้าฝ้ายที่เป็นสัญลักษณ์ผ้าไทย ซึ่งเป็นผ้าไทยอย่างแท้จริงเพราะผู้พัฒนาพันธุ์ ชาวไร่ผู้ปลูก ผู้ปั่นเส้นด้ายและผู้ทอมือเป็นผืนผ้าล้วนเป็นฝี มือของคนไทยทั้งหมดอย่างครบวงจร เป็นครั้งแรกและเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง ฉบับหน้าเราจะมาพูดถึง "โอกาสทอง...ผ้าฝ้ายไหมไปตลาดโลก" ตามมาด้วย "ฝ้ายพันธุ์ดีมีมากมาย...แล้วปัญหาฝ้ายคืออะไร" ในยุคอาวุธชีวภาพนี้ฝ้ายจีเอ็มโอมีบทบาทอย่างไร "ฝ้ายจีเอ็มโอ..ที่ไม่ใช่แค่ฝ้ายบีที แต่มีฝ้ายราวนด์อัพเรดี ฝ้ายบีเอ็กซ์เอ็น เกิดขึ้นแล้ว" อะไรกันเนี่ย...สังคมไทยได้อะไรจากไบโอเทค...ความขัดแย้งเรื่องเทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกิดการแตกแยกและมีผลเสียหรือไม่ และที่พลาดไม่ ได้เรื่องสิ่งทอไทยซึ่งใช้วัตถุดิบจากฝ้ายเกินกว่าครึ่ง...คือข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เคยเห็นความรุ่งเรือง และล่มสลายในประเทศตนเองจะนำ ประสบการณ์มากล่าวกับคนไทยใน "อนาคตของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย..ค้นหาเงื่อนไขเพื่อความอยู่รอดในศตวรรษที่ 21"
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น