การควบคุมแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร

ผลิตผลการเกษตรชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ถั่วลิสง มันสำปะหลังแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้ง ยาสูบ แป้ง รำ อาหาร
สำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่มักถูกแมลงเข้าทำลายก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 80% ของผลผลิตหรือคิดเป็น
มูลค่าไม่ต่ำกว่า 13,000 ล้านบาทต่อปี จะเห็นได้ว่าแมลงเหล่านี้มีบทบาทที่ก่อให้เกิดผลเสียหายคิดเป็นมูลค่าสูง นอกจากนี้การพบแมลงหรือชิ้น
ส่วนของแมลง ปนเปื้อนไปกับผลิตผลเกษตรที่ส่งไปขายยังต่างประเทศ จะมีผลต่อการส่งออกอย่างมาก โดยเฉพาะมีผลต่อการกำหนดราคาผลิต
ผลเกษตร ฯลฯ
สำหรับแมลงศัตรูที่สำคัญ ที่พบทำลายผลผลิตการเกษตรในประเทศไทย ได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด (Sitophilus zeamais ) , ด้วงงวงข้าว (Sitophilus oryzae ) , มอดข้าวเปลือก (Rhyzopertha domimica ) , มอดแป้ง (Tribolium castaneum ) , ผีเสื้อข้าวเปลือก (Sitotroqacerealellaolivier ) , ผีเสื้อข้าวสาร (Corcyra cephalonica stainton ) , ด้วงถั่วเขียว (Callosobruchus maculatus (Fabricius ) และมอดยาสูบ (Lasildermaserrirncorne (Fabricius )
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรมีการระบาดตลอดปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศร้อน และชื้น ทำให้ความเสียหายรุนแรงมากขึ้น


การป้องกันกำจัด

1. ทำความสะอาดยุ้งโกดักไม้รองกระสอบ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงเนื่องจากแมลงส่วนใหญ่มีขนาดเล็กประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร เพียงเศษข้าวหรือเศษอาหารที่ติดตามกระสอบเพียงเล็กน้อยแมลงก็สามารถใช้ดำรงชีวิตได้ แมลงบางชนิดอาศัยทำลายเศษผลิตผลเกษตรที่ตกหล่นอยู่ตามพื้นโกดัง
2. ลดความชื้นเมล็ด แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตในเมล็ดพืชที่มีความชื้น 8% หรือต่ำกว่า ดังนั้นควรลดความชื้นเมล็ดหรือผลิตผลเกษตรให้ต่ำสุด และเก็บในถุงหรือภาชนะที่อากาศถ่ายเทไม่ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดมีการแลกเปลี่ยนความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสามารถลดการเข้าทำลายของแมลงได้
3. เก็บเมล็ดหรือผลิตผลเกษตรในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำประมาณ 12 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า เป็นอุณหภูมิที่แมลงไม่สามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้
4. การใช้ความร้อน 55 - 60 องศาเซลเซียสนานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง หรือความร้อน 70 องศาเซลเซียสนายอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต
5. เก็บในสภาพสูญญากาศ เช่น บรรจุผลิตผลเกษตรในถุงพลาสติกในสภาพสูญญากาศ การเก็บในโรงเก็บสำเร็จรูป สามารถเก็บผลิตผลเกษตรได้เป็นเวลานาน
6. การใช้น้ำมันพืชคลุกเมล็ดพืช เช่น น้ำมันปาล์ม นำมันมะพร้าว น้ำมันสะเดา น้ำมันมะกอกในอัตรา 10 - 20 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพืช 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้นาน 3 - 12 เดือน
7. การใช้วัสดุบางอย่าง เช่น แกลบ ขี้เถ้าแกลบ ผงถ่าน คลุกเมล็ดอัตรา 40 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้
8. การใช้รังสี รังอัตรา 0.2 - 1 KGY สามารถทำลายแมลงในเมล็ดและในแป้งได้ FAO รายการใช้รังสิอัตรา 10 KGY หรือต่ำกว่าไม่มีพิษตกค้างในอาหาร ดังนั้นอาหารที่ฉายรังสีอัตราดังกล่าวหรือต่ำกว่าไม่จำเป็นต้องตรวจพิษตกค้างแต่การใช้รังสีมีผลทำให้วิตามิน A, C, E, และ B1 (Thiamine) และ K ในอาหารลดลง
9. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นผนังโกดัง และแหล่งหลบซ่อนแมลง เช่น ไม้รองกระสอบ มุมโกดัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์แมลงสารฆ่าแมลงที่ใช้คือ fenitrothion, pirimiphos - methyl และ chlorpyrifos - methyl อัตรา 0.5 - 2.0 กรัมเนื้อยาบริสุทธิ์ต่อ 1 ตารางเมตร
10. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นแบบหมอกควัน วิธีนี้เหมาะกับโกดังที่ปิดมิดชิดและมีการระบาดของแมลงระยะเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งระยะนี้แมลงมัก
ออกมาบินนอกกระสอบหรือภาชนะบรรจุ โดยใช้ pirimiphos - methyl อัตรา 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำมันโซล่า 100 มิลลิลิตร พ่นในบริเวณที่มีแมลง
บิน สามารถกำจัดแมลงได้
11. การใช้สารฆ่าแมลงคลุกเมล็ดพืช เหมาะสำหรับเมล็ดที่ใช้พันธุ์เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับเมล็ดที่จะนำมาบริโภค สารฆ่าแมลงคลุกเมล็ด
พืชเหมาะสำหรับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์เท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับเมล็ดที่จะนำมาบริโภคสารฆ่าแมลงที่ใช้ คือ fenitrothion, pirimiphos - methyl อัตรา
10 - 20 ppm. (ประมาณ 2 - 3 มิลลิลิตรผสมน้ำ 300 มิลลิลิตร ต่อเมล็ดพืช 100 กิโลกรัม) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงได้นาน 3 - 6
เดือน
12. การใช้สารรมฟอสฟีนหรืออลุมิเนียมฟอสไฟด์รมผลิตผลเกษตรที่มีแมลงเข้าทำลาย สามารถกำจัดแมลงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต อัต
ราที่ใช้ คือ 2 - 3 เม็ด (tablets) ต่อเมล็ด 1 ตัน รอนาน 7 - 10 วันในการรมโกดังใช้อัตรา 1 เม็ดต่อเนื้อที่ 1 ลูกบาศก์เมตร รมนาน 7 - 10 วัน
13. การใช้สารรมเมธิลโบรไมด์ ในกรณีที่ต้องการทำลายแมลงที่ทำลายเมล็ดพืช และมีเวลารม ไม่นานอาจใช้วิธีรมด้วยเมธิลโบรไมด์
โดยใช้อัตรา 2 ปอนด์ต่อเนื้อที่ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต (30 ลูกบาศก์เมตร) ระยะเวลารมนาน 24 ชั่วโมง

การป้องกันกำจัดด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวอาจจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใดตามความเหมาะสมหรือใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันก็ได้เพื่อให้ผลดีในการควบ
คุมแมลงแต่ละชนิดและไม่เกิดผลเสียต่อผลิตผลเกษตรที่ต้องการเก็บรักษา

ตารางแสดงค่าอุณหภูมิที่มีผลต่อแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร

อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)

ผล

50 - 60
45 - 50
35
33 - 35
23 - 25
13 - 25
13 - 20
5
-10 ถึง -5
-25 ถึง -1

ตายภายในนาที
ตายภายในชั่วโมง
การเจริญเติบโตชะงัก
การเจริญเติบโตช้า
เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต
การเจริญเติบโตช้า
การเจิรญเติบโตชะงัก
ตายภายในวัน (ไม่เคลื่อนไหว)
ตายภายในสัปดาห์ - เดือนสำหรับชนิดที่ทนหนาว
ตายภายในนาที

0 ความคิดเห็น: