*การผลิตกุยช่ายขาว

กลุ่มพัฒนาอาชีพการผลิตผักกุยช่ายขาว(หรือผักแป้น) ภายใต้การนำของนายบุญชู สีแสนชุยประธานกลุ่ม เป็นเกษตรกรที่ชอบแสวงหาสิ่งใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาชุมชนอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเรื่องการพัฒนาสินค้าเกษตร    ได้เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นหาวิธีการเพิ่มมูลให้กับกุยช่ายที่กลุ่มปลูกไว้ ด้วยการนำกระถางดอกไม้ทรงสูงมาครอบกอผักกุยช่าย(ผักแป้น)ไม่ให้โดนแดด จะทำให้ผักมีสีขาวดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกุยช่ายไปในตัวด้วย

ขั้นตอนการปลูกกุยช่ายขาว :
1.เริ่มด้วยการเตียมดิน โดยการยกแปลงให้สูงขึ้นขนาด 1.20 เมตร
2.ปรับปรุงดินโดยการใช้ป๋ยหมักชีวภาพ
3.จัดการเตรียมพันธ์กุยช่ายขาวมาปลูก ระยะห่างประมาณ 25-30 ซม. แปลงกว้าง 1.20 เมตรปลูกได้ 4 แถว
4.รดน้ำประมาณ 2 ครั้งและรดน้ำหมักชีวภาพทุกๆ 7 วัน

ในการผลิตกุยช่ายขาว จะผลิตสลับกับกุยช่ายเขียว กล่าวคือ หลังจากตัดกุยช่ายเขียวแล้วนำกระถางดินเผาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18-20 ซม.มาครอบที่กอกุยช่ายให้น้ำวันละครั้ง โดยไม่ต้องเปิดกระถางจะใช้เวลา 8-10 วัน กุยช่ายจะมีความยาวประมาณ 1 ฟุตก็จะทำการเปิดกระถางและทำการตัดแล้วปล่อยให้กุยช่ายเจริญเติบโตเป็นผักกุยช่ายเขียวเป็นเวลา 45 วันก็จะตัดจะทำการตัดให้ตรงตามความต้องการของตลาดจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้อีกเท่าตัว
ด้านการตลาด : ตอนนี้กุยช่ายเขียวจะตกกิโลกรัมละ 14-15 ต่อกิโลกรัม ส่วนกุยช่ายขาวจะตัดส่งให้แม่ค้าที่มารับชื้อถึงสวนกิโลกรัมละ 80 บาท

*การปลูกมะระด้วยเทคนิคการห่อผลป้องกันแมลง

มะระ เป็นพืชผักที่นิยมปลูกกันมากในพื้นที่ภาคเหนือ เนื่องจากมะระเป็นพืชอายุสั้น ให้ผลผลิตตั้งแต่ 40-45 วันขึ้นไป และจะเก็บไปได้ประมาณ 80-90 วัน 
เกษตรกรที่ปลูกมะระเป็นอาชีพ และประสบความสำเร็จสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายได้ในราคาดีต้องเริ่มจากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี มีการจัดการและดูแลที่ดี โดยได้รับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

วิธีการปลูกมะระ :
เริ่มจากวิธีการเพาะกล้า - โดยต้องนำเมล็ดมาแช่น้ำ ประมาณ 5-6 ชั่วโมง แล้วนำมาห่อด้วยกระดาษทิชชู่นำไปเก็บไว้ในถังพลาสติกปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อเปิดดูจะเห็นรากโผล่ แล้วก็เลือกเมล็ดที่รากงอกนั้น นำไปปลูกในถาดเพาะเมล็ดเป็นเวลา 1 อาทิตย์ จากนั้นนำไปปลูกในหลุม โดยขุดหลุมให้ลึกพอประมาณ ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละประมาณ 1 กระป๋องนม เอาดินใส่ลงไปในหลุมจนหลุมตื้นแล้วจึงนำมะระลงปลูก ควรปลูกในช่วงเย็น เมื่อปลูกเสร็จแล้วให้ใช้ฟางคลุมรอบโคนต้น เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน
การทำค้าง :
มะระเป็นพืชที่ต้องเลื้อยขึ้นค้าง ดังนั้น จำเป็นจะต้องทำค้างให้ขึ้น การปลูกมะระต้องใช้ความขยันเป็นพิเศษ เพราะแมลงชอบเข้าทำลายผลมะระเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแมลงวันทอง วิธีการป้องกันแมลงวันทองเจาะผล ให้ทำการห่อผลมะระด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เป็นการช่วยทำให้ผลมะระไม่ถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืชและยังทำให้ผลมีสีเขียวอ่อนน่ารับประทาน
วิธีการห่อผล :
เมื่อมะระเป็นลูกประมาณ 30 วันหลังปลูก จะเป็นที่ชื่นชอบของแมลงต่างๆ โดยเฉพาะแมลงวันทอง เราจึงจำเป็นต้องหากระดาษมาห่อผลไว้ นอกจากจะป้องกันแมลงแล้วยังทำให้ผลมะระเขียวน่ารับประทานอีกด้วย
การเก็บเกี่ยวผลผลิต :
ในการปลูกมะระ ฤดูหนึ่งจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน และเริ่มเก็บผลผลิตหลังปลูก ประมาณ 45-50 วัน เมื่อเก็บจนหมดฤดูจะเก็บได้ประมาณ 15-20 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตส่งขายได้ทุกวันขอแนะนำว่าควรจะเก็บ 2 วันครั้ง
ราคา :
ราคาผลผลิตที่เกษตรกรจำหน่ายได้ ขึ้นอยู่กับราคาในท้องตลาด แต่ราคาที่เกษตรกรขายได้(ราคาออกจากสวน)จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 บาท ขึ้นไป

*การปลูกฟักทองและเทคนิคการเพิ่มขนาดผล

คุณนิภา นวลน้อย เกษตรกร บ้านวัดนอก ต.วิสัยเหนือ อ.เมือง จ.ชุมพร ปลูกฟักทองเป็นอาชีพเสริมในช่วงฤดูแล้ง โดยปลูกแซมในสวนปาล์มน้ำมันที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ในพื้นที่ 7 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณรอบละ 10 – 12 ตัน จำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท สามารถเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้ เป็นอย่างดี และมีเทคนิคและวิธีการปลูกฟักทองให้ได้ผลผลิตดี ดังนี้


ขั้นตอนการเตรียมดิน :
-ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก
-ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง
-ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุย
-เก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด
ขั้นตอนการปลูก :
-โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตรใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม
-ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน
-เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวันเมื่อต้นกล้าเจริญจนมีใบจริง 4 ใบ
-ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น
-เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 14-14-21โรยรอบๆ ต้น ( ประมาณ 1 กำมือ ) แล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน
-การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ
เทคนิคต่างๆในการปลูกฟักทอง :
-การผสมเกสร เมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไป เคาะละออง เกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป
-การกำจัดแมลงวันทองโดยใช้กล้วยเล็บมือนางเป็นตัวล่อ โดยใช้ขวดน้ำพลาสติกเจาะรูขนาด 3x3 นิ้วทั้งสองด้าน จากนั้นนำกล้วยเล็บมือนางที่สุกจัดๆมาใส่ในขวด แล้วนำยาฆ่าแมลงมาใส่ในขวด เมื่อแมลงวันทองได้กลิ่น กล้วย ก็จะเข้ามากินก็จะทำให้โดนยาฆ่าแมลงตาย
-การทำให้ฟักทองผลโต เมื่อฟักทองติดผลอ่อนได้ประมาณ 5 วันให้ทำการตัดยอดฟักทองออกเพื่อให้น้ำเลี้ยงต่างๆ มา เลี้ยงที่ผลฟักทองได้เต็มที่ จะได้ผลฟักทองที่โตเต็มที่ (ประมาณ 7–10 กก./ ผล )
การเก็บเกี่ยว :
เมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวได้ให้สังเกตสีเปลือก สีจะกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก ดูนวล ขึ้นเต็มทั้งผล คือมีนวลขึ้นตั้งแต่ขั้วไปจนตลอดก้นผล แสดงว่าแก่จัด การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วยสักพอประมาณเพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขาย ได้นานๆ จะทยอยเก็บผลได้ 5-6 ครั้ง จนหมด

*การปลูกเผือกให้หัวมีขนาดใหญ่

การปลูกเผือก หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าหากปลูกโดยขาดความรู้ความเข้าใจแล้วก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ  คุณลุงยิ่งเกษตรกรบ้านคอกม้ามีวิธีการปลูกเผือกที่ให้ผลผลิตดี ได้เผือกขนาดใหญ่ซึ่งมีวิธีการปลูกง่ายๆไม่ยุ่งยากดังนี้

การเตรียมพื้นที่
1.ทำการตัดหญ้าและกำจัดวัชพืชออกไปให้หมด
2.จากนั้นให้ทำการไถและตากดินไว้ประมาณ 7 วัน
3.ทำการขุดหลุมให้มีขนาดกว้างประมาณ 20 ซม.ลึก 20 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1 เมตร
4.ให้นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้มารองก้นหลุมให้เกือบเต็มปากหลุมแล้วนำดินมากลบให้เต็มหลุมที่ขุดไว้
การปลูก
1.จากนั้นให้นำหัวเผือกอ่อน ( ขนาดหัวประมาณ 3 ซม )ที่เตรียมไว้มาปลูกโดยให้นำหัวเผือกมาวางบนปากหลุมแล้วนำดินมาโรยให้พอมิดหัวเผือก **ห้ามปลูกเผือกในหลุมลึกเพราะจะทำให้เผือกหัวเล็ก**
2.จากนั้นให้นำฟางแห้งมาคลุมเพื่อรักษาความชื้นในดิน
3.ประมาณ 7 วันเผือกก็จะแตกต้นอ่อน

การดูแลรักษา
-การ “พูนโคน” เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการปลูกเผือกเพราะถ้าหากว่าเราคอยพูนโคนอยู่เสมอให้สูงจะทำให้หัวเผือกมีขนาดใหญ่ เนื่องจากหัวเผือกก็คือลำต้นใต้ดินที่ขยายออกเพื่อสะสมอาหาร จึงเจริญขึ้นบนมากกว่าลงหัวลึกลงไป โดยจะทำการพูนโคนครั้งแรกตอนใสปุ๋ยครั้งแรก และพูนโคนครั้งที่สองตอนที่ใส่ปุ๋ยรอบที่สอง และพูนโคนครั้งสุดท้ายเมื่อเผือกมีอายุ 120 วัน
-การใส่ปุ๋ยเมื่อปลูกได้ประมาณ 45 วันให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วพูนดินกลบโคน และเมื่อปลูกได้ 90 วันให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13- 13- 21 ต้นละ 1.5 ช้อนโต๊ะแล้วพูนดินกลบโคน
-การให้น้ำควรให้น้ำเมื่อฝนทิ้งช่วงประมาณ 2- 3 วัน/ครั้ง ถ้าหากว่าปล่อยให้เผือกขาดน้ำมากจะทำให้เผือกใบเหลืองและหัวมีขนาดเล็ก

การเก็บเกี่ยว : จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อเผือกมีอายุ150วันหรือ 5 เดือนซึ่งจะได้เผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ ประมาณ 1 กก./หัว

*การเร่งรากด้วยเครื่องดื่มชูกำลัง

ในปัจจุบันมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น  โดยเฉพาะการปลูกไม้ประดับ  กระถางและไม้ประดับที่ให้ในงานจัดสวน ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ทำให้ต้องมีการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นมากมาย เพื่อให้ทันความต้องการใช้ ซึ่งการขยายพันธุ์ไม้ประดับที่ได้รับความนิยมและให้ผลดีสุด คือ การขยายพันธุ์โดยวิธีการชำกิ่ง และวิธีการนี้มักนิยมใช้สารเร่งร่างเช่น เซราดิกซ์ 1,2,3 แช่กิ่งก่อนนำไปชำ แต่วันนี้เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดมีวิธีการเร่งรากที่ช่วยประหยัดต้นทุน ในการซื้อสารเคมี โดยการใช้เครื่องดื่มชูกำลังที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้

เทคนิคการเร่งรากของคุณลุงไสว ศรียา เกาตรกรสำนึกรักบ้านเกิด จ.นครนายก คือ ถ้าต้องการเร่งรากและทำให้พืชแข็งแรงโตไวเคล็ดลับหรือเทคนิคง่ายๆ ก็คือการใส่เครื่องดื่มชูกำลัง หรือลิโพลงไปเวลารดน้ำหรือแช่กิ่งก่อนปักชำ จะทำให้รากงอกเร็วขึ้น และทำให้พืชแข็งแรงโตไว โดยไม่ต้องพึ่งน้ำยาเร่งรากแต่อย่างใด

คุณค่าจากน้ำนมข้าวยาคู

ทำน้ำนมข้าวยาคู
เงินลงทุน
ประมาณ 5,000 บาท (เตาพร้อมถังแก๊ส 2,000 บาท เครื่องบดอาหาร         700 บาท)
รายได้
ประมาณ  15-20  บาท/ขวดขนาด 250 ซีซี
วัสดุ/อุปกรณ์
เตาพร้อมถังแก๊ส  หม้อ  ทัพพี  เครื่องบดอาหาร  กะละมัง  ผ้าขาวบาง  มีด  
ขวดแก้วบรรจุพร้อมฝาจุกปิดขวด  กรวยสำหรับบรรจุ
แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์
ย่านเวิ้งนาครเขษม  สำเพ็ง  ห้างสรรพสินค้าทั่วไป

 

ส่วนผสม
รวงข้าวอ่อน (ข้าวเจ้าหอมมะลิ) 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
ถั่วเหลือง 2 ถ้วยตวง
ใบเตยหั่นละเอียด ½ ถ้วยตวง
น้ำสะอาดพอประมาณ
วิธีทำ
1.นำรวงข้าวอ่อนผสมน้ำสะอาดปั่นจนละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำนมข้าว
2.นำถั่วเหลืองแช่น้ำ 1 ชั่วโมง แล้วผสมน้ำสะอาดปั่นจนละเอียดกรองเอาแต่น้ำนมถั่วเหลือง
3.นำใบเตยหั่นละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย ปั่นจนละเอียด กรองเอาแต่น้ำใบเตย
4.นำน้ำนมถั่วเหลืองตั้งไฟ เคี่ยวให้ข้นใส่น้ำนมข้าว คนเรื่อย ๆ ใส่น้ำตาลทราย คนให้น้ำตาลละลายและข้น จึงใส่น้ำใบเตย ต้มจนเดือด
5.ยกขึ้นจากเตา ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วบรรจุขวดนำไปจำหน่าย 

ข้อแนะนำ
1.ข้าวเจ้าทุกพันธุ์สามารถนำมาทำน้ำนมข้าวยาคูได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรเป็นข้าวหอมมะลิ เพราะจะเพิ่มความหอมน่ารับประทาน
2.น้ำนมข้าวยาคูมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินบี แมกนิเซียม คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไฟเบอร์ ซึ่งเป็นกากใยอาหารที่คอยดูดซับไขมันทำให้ไม่อ้วน เหมาะที่จะนำไปเป็นของฝาก ของเยี่ยมไข้ หรือถวายพระ

วิธีการทำน้ำหมักจากหอยเชอรี

คุณ.หรอผาน ยุทธิอาด  มีอาชีพปลูกข้าว อายุ 62 ปี อยู่บ้านเลข ที่ 36/1 ม.5 ต.ปากนคร จ.นครศรีธรรมราช    คุณลุง เป็นประธานศูนย์ข้าวปาก นคร โดยอาชีพหลักของคุณลุงก็ทำนาเป็นหลักซึ่งมีพื้นที่ในการทำนาทั้ง หมด ประมาณ 50 ไร่ เป็นนาของตนเอง10 กว่าไร่ อีก 40 ไร่ก็เช่าที่ของญาติๆทำ นา โดยพื้นที่ทั้งหมดจะปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 เพียงพันธุ์เดียวเท่านั้น เพราะพันธุ์นี้ปลูกง่าย ลักษณะของพันธุ์ข้าว มีเมล็ดที่ยาวใหญ่และ ยัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นขนมจีนหรือทำขนมได้ ด้วย

การปลูกข้าวพันธุ์ ชัยนาท 1ให้ต้นแข็งแรงด้วยน้ำหมักประหยัดต้นทุนน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากหอยเชอรี่ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยในนาข้าวของคุณลุงได้ค่ะ
วิธีการวัสดุที่ใช้
1. หอยเชอร์รี่ 10 กก. (โขกละเอียด)
2. น้ำสะอาด 4 ลิตร
3. หัวน้ำส้ม 1 ขวดใหญ่
4. เหล้าขาว 1 ขวด
5. มะกรูด(ทั้งลูก) 40 ลูก
6. EM. 1 ลิตร
7.กากน้ำตาล 1 ลิตร
วิธีทำ
- ผสมทุกอย่างในภาชนะที่พอเหมาะปิดฝาให้สนิทอย่าให้อากาศเข้า หมักไว้ 7 วันขึ้นไป
- กรองเอาแต่น้ำใส่ภาชนะควรใช้ให้หมดภายใน 3 เดือน
วิธีใช้
- 1 ผสมน้ำ 1 : 100 หยอดตามริมคันนา หรือฉีดพ่นทั่วให้ทั่วแปลงนาในช่วงเย็นทุกๆวัน

เทคนิคการขับไล่แมลงศัตรูไม้ผล

เกษตรกรที่ทำการปลูกไม้ผลชนิดต่างๆไม่ว่าจะ เป็น พุทรา , ชมพู่ , กระท้อน ซึ่งถือว่าเป็นไม้ผลที่สามมารถสร้างรายได้ให้ กับเกษตรกรผู้ปลูกได้เป็นกรอบกำ ไม่แพ้ไม้ผลเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ เช่นกัน  แต่ สิ่งที่เกษตรกรกังวลก็คือในเรื่องของแมลงศัตรูไม้ผลที่เข้ามาทำลายทำให้ผล ผลิตเกิดความเสียหายและรายรับของเกษตรกรก็จะได้รับน้อยลงด้วยครับ  แต่ก็มี เกษตรกรบ้างท่านที่ไม่กังวลกับแมลงศัตรูของไม้ผลเหล่านี้เลย เช่นกับคุณลุง ฉิน ขำวังยาง ที่มีสูตรดีๆที่ใช้ในการป้องกันแมลงศัตรูไม้ผลเข้ามาทำลายได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ลองมาดูวิธีการกันดูครับ

 

วัสดุอุปกรณ์
1.ขวดน้ำพลาสติก 1 ขวด
2.ลูกเหม็น 10-20 ก้อน
วิธีการทำ
นำขวดน้ำพลาสติกมาทำการเจาะรูที่ฝาขวดและรอบขวด จากนั้นก็ให้นำลูกเหม็นมาใส่ในขวดพลาสติกประมาณ 10-20 ก้อน เพียงเท่านี้ก็สามารถนำไปผูกแขวนไว้ที่ใต้ต้นไม้ผลได้เลยครับ1ขวดต่อ 1 ต้น แมลงก็จะไม่มารบกวน

สูตรบำรุงต้นข้าวให้แข็งแรงก่อนตั้งท้อง

       เกษตรกรผู้ที่ทำนาข้าวส่วนใหญ่ยังใช้สารเคมีในการบำรุงต้นข้าวช่วง ที่ต้นข้าวสะสมอาหาร ก่อนตั้งท้อง ซึ่งบางครั้ง ถ้าต้นข้าวไม่ใหญ่ อวบ และ สมบูรณ์ ก็จะทำให้รวงข้าวเล็กและน้ำหนักน้อย หรือถ้าออกรวงแล้วรวงใหญ่ ก็จะ ทำให้ต้นข้าวล้มไม่สามารถรับน้ำหนักรวงได้ จึงต้องบำรุงต้นข้าวให้สมบูรณ์ ก่อนเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนตั้งท้อง

 

ส่วนผสม
1.ซากสัตว์ที่ตายแล้ว เช่น ไส้ปลา ไส้ไก่ รวมทั้งเนื้อสัตว์ต่างๆ 1 ส่วน
2.กากน้ำตาล 1 ส่วน
3.น้ำเปล่า(ใช้ละลายกากน้ำตาลพอเจือจาง)
4.สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง
วิธีทำ
1.หั่นเนื้อสัตว์ที่ได้มาให้ขนาดเล็ก เท่าที่จะทำได้
2.ผสมกากน้ำตาลกับน้ำให้ละลาย
3.ละลายสารเร่ง พด.2 ในน้ำอุ่น คนให้เข้ากัน ประมาณ 5 นาที
4. นำเนื้อสัตว์ที่ได้ใส่ภาชนะพลาสติก เติมกากน้ำตาลและสารเร่ง พด.2 ที่เตรียมไว้ คนให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 2 เดือน
อัตราการใช้
น้ำหมัก 80 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร/ไร่ เริ่มใช้ตอนข้าว อายุ 15 วัน ฉีดติดต่อกัน 4 ครั้ง ทุก 7 วัน ถ้าจะให้ได้ผลดีควรฉีดพ่นตอนเย็น
ประโยชน์
บำรุงต้นข้าว ให้ต้นใหญ่ อวบ สมบูรณ์ ก่อนตั้งท้อง เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับรวงข้าวที่ใหญ่และน้ำหนักดี ไม่ทำให้ต้นข้าวล้มง่าย

วิธีขจัดปัญหากวนใจนกเป็ดน้ำลงกวนนาข้าว

   นกเป็ดน้ำ  เป็นนกน้ำลำตัวป้อม  ปากแบนใหญ่ หางสั้น  มีแผ่นพังผืดยึด นิ้วตีน  ช่วยให้ว่ายน้ำได้ดี  ตัวเมียมีลายสีน้ำตาลไม่ค่อยสวยงาม ต่างจาก ตัวผู้ที่มีสีสดใสกว่าชอบลอยตัวรวมกันเป็นฝูงในแหล่งน้ำ มีทั้งว่ายใช้ปาก ไซ้จิกพืชน้ำ จับกินสัตว์น้ำตามผิวน้ำ และดำลงไปจับใต้น้ำ ส่วนใหญ่ทำรังตาม ริมน้ำด้วยพืชน้ำ บางชนิดทำรังในโพรงไม่หรือซอกกำแพง ลักษณะทั่วไป คอ ยาวกว่านกเป็ดน้ำชนิดอื่น หางแหลม และขาสีเทา ตัวผู้ หัวสีน้ำตาลเข้ม คอ ด้านหน้าและอกสีขาว ลำตัวสีเทา สีข้างมีแถบสีเหลือง  ตัวเมีย ขนปกคลุมลำตัว สีน้ำตาล พฤติกรรม ตอนกลางวันลอยตัวรวมกับนกเป็ดน้ำอื่น ๆ ในแหล่งน้ำขนาด ใหญ่ หากินโดยใช้ปากไซ้ตามผิวน้ำ และมุดน้ำโผล่หางแหลมชี้ขึ้นมาให้สังเกต ได้ชัดเจน  วันนี้คุณแม่ทองหยิบ  ประจักษ์สุข  เกษตรกร ชุมชนบ้านท่า งาม  เลขที่ 25  หมู่ที่ 2  ตำบลท่างาม  อำเภอเมือง  จังหวัดปราจีนได้แนะนำ วิธีการไล่นกเป็ดน้ำในช่วงกลางคืนโดยการใช้อุปกรณ์ที่ทำได้เองแบบง่ายๆนั้น ก็คือ ตะเกียงไฟไล่นำเป็ดน้ำนั้นเอง

อุปกรณ์สำหรับการทำตะเกียง
1.ไม้หลักสูงประมาณ 80 เซนติเมตร จำนวน 4 อัน
2.พลาสติกใสหุ้ม (ตามภาพ)
3.ขวดสปอนเซอร์ 1 ขวด
4.น้ำมันดีเซล (ประมาณ ครึ่งขวดสปอนเซอร์)
5.ไส้ตะเตียง โดยใช้เศษผ้าชุบน้ำมัน ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
วิธีการทำ
1.เริ่มจากนำเสาทั้งสี่หลักตกลงในไปดิน ให้มีระยะห่างที่เหมาะสมทำมุมเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส แล้วนำพลาสติกใสมาพันให้รอบเหมือนตะเกียงตั้งโต๊ะนั้นเอง
2.เมื่อตัวตะเกียงด้านนอกเสร็จแล้วก็มาดูในส่วนของการจุดติดไฟกัน โดยเริ่มจากการนำฝาขวดสปอนเซอร์มาเจาะรูเพื่อหย่อยเศษผ้าที่ชุบน้ำมันลงแล้ว ก็เทน้ำมันลงไปในขวดสปอนเซอร์แล้วปิดฝา ทดลองจุดไฟถ้าติดไฟแสดงว่าเป็นอันใช้ได้
วิธีใช้
จุดในเวลากลางคืน ช่วงที่มีนกเป็ดน้ำมารบกวนจะช่วยป้องกันได้ โดยนกเป็ดน้ำจะไม่เข้าใกล้แสงสว่างและบริเวณรอบๆด้วย

ใช้เศษหน่อไม้แทนปุ๋ยเคมีเพิ่มการแตกหน่อ ไผ่นอกฤดู

บ้านห้วยเดื่อ ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย   เป็นพื้นที่ที่ยังคงมีความอุดม สมบูรณ์ของผืนป่า เนื่องจากอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  ซึ่งส่วน หนึ่งเกษตรในพื้นที่มีการดูแลป่าไม้ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ทำให้ชุมชนมีส่วน ร่วมในการรักษาป่า ทำให้ป่าได้มีส่วนเกื้อกูลให้เกิดรายได้นั่นคือ อาชีพจาก การแปรรูปหน่อไม้ป่า ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ดัง นั้นก็ไม่แปลกที่จะมีส่วนเศษเหลือจากการแปรรูปหน่อไม้อยู่วันละ  ไม่ต่ำ กว่า 500  กก. /วัน/ครอบครัว  ซึ่งแนวคิดที่จะนำเอาเศษเหลือจากหน่อไม้ที่ เหลือไปใช้ให้เกิดประโยชน์นี้เป็นของคุณปราณี  เขตมนตรี  เกษตรกรผู้แปรรูป หน่อไม้และปลูกไผ่เลี้ยง แห่งบ้านห้วยเดื่อ มาฝากกัน

วิธีการทำ
นำเศษหน่อไม้ที่เหลือจากการแปรรูปมาใส่บริเวณทรงพุ่มของไผ่กอละ 20 ก.ก. จากนั้นราดทับด้วยน้ำหมักจุลินทรีจากหอยเชอรี่ สัดส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ /น้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วทั้งกองเศษหน่อไม้ให้ชุ่ม ปล่อยทิ้งให้ย่อยสลายเอง เพียง 20 วัน ให้น้ำไผ่ปกติ ผลที่ได้รับคือ ในช่วงหน้าแล้งแม้ว่าขาดน้ำก็ตาม ดินในพื้นที่ป่าไผ่จะยังคงชุ่มอยู่ และจะมีการแตกหน่อของไผ่นอกฤดูได้ดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ นอกการการนำไปใส่ในพื้นที่สวนไผ่นอกฤดูแล้ว ยังสามารถนำไปใส่นาข้าว ทำให้นาข้าวไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ก็มีผลผลิตใกล้เคียงกันกับการใส่ปุ๋ยเคมีเลยทีเดียว ที่สำคัญคือลดต้นทุนการผลิตได้มาก

ข้อควรคิดก่อน''ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสาน''

“ปาล์มน้ำมัน” กลายเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ถูกจับตามองในฐานะแหล่งพลังงานทดแทน กอปรกับปาล์มเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์หลายด้านทั้งอุปโภค บริโภคและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมาก ส่งผลให้ในช่วงปีที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามกำหนด แนวทางการส่งเสริมการปลูกปาล์มในพื้นที่อื่น ๆ โดยเฉพาะในภาคอีสาน เพื่อพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันและช่วยขจัดปัญหาความยากจน แต่เนื่องจากปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่สูงมาก จึงเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้วพื้นที่ในภาคอีสานซึ่งยังคงประสบปัญหาภัยแล้งนั้นเหมาะสมกับการปลูกปาล์มมากน้อยเพียงไร

นายธีระพงษ์ จันทรนิยม คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า
การปลูกปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานนั้นสามารถปลูกได้ แต่ต้องคำนึงถึงสภาพดินและน้ำเป็นหลัก เนื่องจากธรรมชาติปาล์มเป็นพืชที่ชอบขึ้นในบริเวณเขตร้อนชื้น ดินคุณภาพดีมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร/ปี และมีการกระจายตัวสูงอาทิ ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือบริเวณภาคใต้ของไทย ดินต้องดี และมีฝนตกตลอดปีผลผลิตจะมากหรือน้อยจึงขึ้นอยู่กับ ปริมาณปุ๋ยและธาตุอาหารที่ปาล์มได้รับเป็นหลัก
แต่สำหรับภาคอีสานปัจจัยหลักของการเพิ่มผลผลิตนั้นอยู่ที่ ดินและน้ำ เช่น พื้นที่เป็นดินทรายก็จะมีปัญหาเรื่องการอุ้มน้ำอีกทั้งหากต้องประสบภาวะฝนทิ้งช่วงนาน มีช่วงแล้งยาวจะทำให้ปาล์มเกิดสภาวะการขาดน้ำ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพผลผลิตของปาล์มได้ ทั้งนี้เนื่องจากผลวิจัยใน “โครงการผลของการให้น้ำต่อการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมัน” ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
ซึ่งได้ติดตามศึกษาผลของสภาวะแล้งที่มีต่อการพัฒนาปาล์มถึงระบบการให้น้ำต้นปาล์มในช่วงฤดูแล้ง โดยมีการจัดระบบให้น้ำต้นปาล์มเปรียบเทียบกับกลุ่มปาล์มที่ไม่ได้รับน้ำ พบว่า การขาดน้ำมีผลต่อการเจริญเติบโต และปริมาณผลผลิตของปาล์มโดยในสภาพที่ไม่มีฝนตกต่อเนื่อง 2-3 เดือน ในช่วงแตกใบ จะทำให้ทางใบหักต้องมีการตัดใบทิ้ง การสังเคราะห์แสงเพื่อเป็นอาหารจึงไม่เพียงพอหากช่วงแล้งเกิดขึ้นในช่วงการกำหนดเพศนั้น จะทำให้มีสัดส่วนเพศผู้มากขณะที่เกษตรกรต้องการดอกเพศเมีย ซึ่งมีปริมาณการให้น้ำมันมากกว่าสำหรับในช่วงการผสมเกสร หากเจอภาวะแล้ง จะทำให้ประสิทธิภาพ ในการผสมเกสรลดลง การพัฒนาเป็นผลน้อย ปริมาณผลผลิตที่ได้จึงลดลง เนื่องจากจำนวนผลต่อทะลายต่ำน้ำหนักทะลาย ลดลง 10-15% มีผลให้ปริมาณการผลิตผลปาล์มน้ำมันโดยรวมลดลงเหลือเพียง 2 ตัน/ไร่/ปี ในขณะปาล์มซึ่งปลูกในบริเวณที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม ได้รับน้ำตลอดปีจะสามารถผลิตผลปาล์มได้สูงถึงประมาณ 3-3.5 ตัน/ไร่/ปี
นายธีระพงษ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ดีหากภาครัฐยังคงมีนโยบาย การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคอีสานก็สามารถปลูกได้ โดยแนะนำให้มีการเลือกพื้นที่การเพาะปลูกให้ดีดินจะต้องไม่เป็นดินทราย มีสภาวะเป็นเกลือ หรือเป็นดินลูกรังสิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ มีระบบการจัดการน้ำที่ดีสามารถผันน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
การติดตั้งระบบการให้น้ำปาล์มในภาคอีสาน:
ให้วางเป็นท่อยาวที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตรจากผิวดิน ควบคุมการให้น้ำให้มีความชื้นเพียง 70% หรือสังเกตได้จากการกำดินเป็นก้อนนั้นเพียงพอที่จะช่วยให้ปาล์ม มีศักยภาพในการผลิตมากที่สุด ขณะที่การให้น้ำมากเกินไปไม่เพียงสิ้นเปลือง ยังเป็นผลเสียทำให้น้ำชะปุ๋ยลงไปใต้ดินลึกมากขณะที่ราก ซึ่งทำหน้าที่ดูดอาหารจะอยู่ที่บริเวณ 15-20 เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนวิธีการให้ปุ๋ยจากเดิมซึ่งใช้วิธีการหว่านให้เปลี่ยนเป็นการให้ปุ๋ยทางระบบน้ำ ซึ่งทำให้ปุ๋ยสามารถละลายไปพร้อมกับน้ำลงสู่ต้นปาล์มได้รวดเร็ว โดยใช้ได้กับการให้น้ำแบบหยด หรือมินิสปริงเกิล หากระบบการให้น้ำมีการกระจายอย่างสม่ำเสมอ ธาตุอาหารก็จะกระจายทั่วทั้งแปลงดี ลดการสูญเสียจากการชะล้าง มีประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสูง ช่วยลดต้นทุนการผลิตคุ้มค่าในระยะยาว
ผลการวิจัย “โครงการจัดการระบบการให้น้ำและปุ๋ยทางระบบน้ำเพื่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน” โดยนายสมเกียรติ สีสนอง คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พบว่า
การให้ปุ๋ยทางระบบน้ำจะทำให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น โดยแปลงที่ให้ผลผลิตสูงสุดที่ระดับ 4.0 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.72 บาท/กก. เมื่อเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ 2.72 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุน 1.52 บาท/กก. และผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศมาเลเซีย 3.01 ตัน/ไร่/ปี ที่ต้นทุนการผลิต 0.70–1.00 บาท/กก.
เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการจัดการแปลงในแต่ละปีแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนของปุ๋ยลดลงประมาณ 45–60% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขณะที่ปริมาณผลผลิตและธาตุอาหารในดินและ ใบพืชยังอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ต้นทุนที่ลดลงก็สามารถนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบน้ำได้
ข้อควรพิจารณาก่อนปลูกปาล์ม:
อย่างไรก็ดีการพิจารณาว่าควรจะปลูกปาล์มในภาคอีสานหรือไม่นั้นก็ควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่เพาะปลูกเป็นสำคัญว่า มีสภาพแล้งรุนแรงมากน้อยเพียงใด มีแหล่งน้ำพอที่จะนำน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นปาล์มได้ตลอดฤดูแล้งหรือไม่ ที่สำคัญ ต้องพิจารณาด้วยว่าผลกำไรที่ได้จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนค่าใช้จ่าย ในการวางระบบน้ำหรือไม่เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องใช้เวลาในการเพาะยาวนานกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลาหลายปีฉะนั้นการวางแผนการปลูกปาล์มจึงมีความจำเป็น ทั้งในเรื่องของสภาพของดิน การให้ปุ๋ยและระบบการให้น้ำ เพื่อให้การปลูกปาล์มของเกษตรกรประสบผลสำเร็จมากที่สุด.

การจัดการสวนปาล์มให้ได้ผลผลิตดีตลอดทั้งปี

จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูล ของเจ้าหน้าที่ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร จ.ชุมพร ทำให้ได้พบกับสวนปาล์มน้ำมันของลุงหีต ซึ่งมีรายรับที่มากกว่าเกษตรกรท่านอื่นที่ทำสวนปาลฺมน้เทนเช่นเดียวกัน ซึ่งเคล็ดลับของรายรับที่มากขึ้นของลุงหีตก็คือ การจัดการสวนปาล์มน้ำมันที่ดี ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้นกว่าเดิมเกือบเท่าตัว


ทั้งนี้เลุงหีตจึงได้เผยเคล็ดลับในการจัดการสวนปาล์มอย่างง่ายๆ กับทางทีมงานว่า เราต้องทำความเข้าใจปาล์มน้ำมันให้ถ่องแท้เสียก่อน เราต้องรู้ว่าปาล์มน้ำมันต้องการอะไรบ้าง หลังจากนั้นจึงค่อยดูแลให้ตรงกับความต้องการของปาล์มน้ำมัน ซึ่งลุงหีตจะยึดหลักปฏิบัติเพื่อเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันตามรายละเอียด ดังนี้
 ปาล์มน้ำมันต้องการน้ำมากแต่ต้องไม่มีน้ำขังที่โคนต้น
 คุณภาพดินต้องดี ร่วนซุย
 ปริมาณสารอาหารในดินครบถ้วน
 ระยะในการปลูกต้องเหมาะสม
 พันธุ์ปาล์มต้องดี
เทคนิคในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน :
พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ต้องเป็นพันธุ์ที่ดี สามารถซื้อจากศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน (จะดีมาก)
ระยะในการปลูก ปาล์มน้ำมัน ต้องปลูกในระยะที่เหมาะสมคือประมาณ 9-10 เมตร เพราะถ้าหากว่าปลูกถี่กว่านี้จะทำให้ทะลายที่ได้เล็กไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากว่าปลูกห่างกว่านี้จะทำให้เสียพื้นที่และได้รับผลผลิตน้อยเช่นกัน
การตัดแต่งทางใบ ต้องมีการตัดแต่งทางใบที่ไม่จำเป็นออกให้ปีละประมาณ 3 ครั้ง (ให้เหลือทางใบประมาณ 28-30 ใบ)
การให้น้ำต้องให้น้ำตลอดในช่วงของฝนทิ้งช่วงหรือในช่วงฤดูแล้งโดยทำการขุดร่องน้ำระหว่างกลางของแถวปาล์ม ขนาดความกว้างของร่องประมาณ 50 ซม. ลึก 50 ซม. ให้ทั่วทั้งสวน หลังจากนั้นให้ทำการรดน้ำในตอนที่ฝนทิ้งช่วงประมาณ 10-15 วันต่อครั้ง ตลอดทั้งปี **สวนปาล์มน้ำมันโดยทั่วไปจะไม่ค่อยมีการรดน้ำในช่วงฤดูแล้ง**
การปรับปรุงคุณภาพดินให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จะช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
การใส่ปุ๋ยเคมี นอกจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วต้องใส่ปุ๋ยเคมีควบคู่ไปด้วย เพราะปาล์มน้ำมันต้องการปริมาณสารอาหารสูงมากจึงต้องใส่ปุ๋ยเคมี ปีละประมาณ 3 ครั้ง โดยใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 (บำรุงผล), 21-7-35 ( , 21-0-0 (บำรุงต้น)
***ลุงหีตบอกว่าถ้าหากจัดการประเด็นดังกล่าวครบถ้วนก็จะทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตดี (ไม่ต้องเสียดายในเรื่องของการรดน้ำและใส่ปุ๋ยเพราะถึงอย่างไรก็ได้รับผลตอบแทนที่ดีแน่นอน)
ที่มา :นายประดิษฐ์ สมศรี หรือลุงหีต เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน

ข้าวแคบขนมตามเทศกาลของภาคเหนือ

   ข้าวแคบ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่ทำมาจากข้าวเหนียว มีวิธีทำคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อ แต่การทำข้าวแคบ เป็นการนำเอาแผ่นแป้งไปตากแดดให้แห้ง ทำให้สุกโดยปิ้งหรือทอด นิยมเก็บไว้รับประทานในงานเทศกาลสำคัญ เช่น ปีใหม่เมือง งานบวชลูกแก้ว งานปอยหลวง ในอดีตข้าวแคบเป็นที่นิยมทานกันทั้งลูกเด็กเล็กแดง ทั้งวัยรุ่น พ่อแม่ปู่ย่าตายาย เรียกว่านิยมทานกันทุกรุ่นก็ว่าได้  คุณอ้าย หัตถผสุ ผู้สืบทอดอาชีพการแปรรูปข้าวเหนียวเป็นของขบเคี้ยว

 

วัสดุอุปกรณ์การทำข้าวแคบ
1.ข้าวสารเหนียว 4 ลิตร
2.งาดำ 2 ขีด
3.เกลือป่น 1 ขีด
4.อุปกรณ์สำหรับทำข้าวเกรียบปากหม้อ
วิธีทำเตรียมแป้ง
1.แช่ข้าวสาร 1 คืน
2.โม่ข้าวสารให้ละเอียด
3.ผสมน้ำสะอาดให้พอเหลว
4.ใส่งาดำ เกลือป่น ลงไปแล้วผสมให้เข้ากัน
วิธีทำแผ่น
1.คลุมหม้อด้วยผ้าขาวบาง ตั้งน้ำให้เดือด ละเลงแป้งลงบนผ้าเป็นแผ่นวงกลม
2.พอแป้งสุก ใช้ไม้พายช้อนขึ้น
3.วางแป้งลงบนแผ่นหญ้าคา ทำต่อเรื่อยๆ จนเต็ม
4.ตากแดดให้แห้ง ประมาณ 1 วัน
วิธีรับประทาน
ให้นำแผ่นข้าวแคบไปทอดกับน้ำมันเดือด แล้ว รอให้เย็นก็สามารถรับประทานเป็นของขบเคี้ยวได้เลย

สูตรการทำน้ำหมักรักษาโรคขอบใบแห้ง

โรคข้าว(1)สูตรการทำน้ำหมักรักษาโรคขอบใบแห้งในแปลงนาใช้ฮอร์โมนไข่100cc
       โรคข้าว(2)ปุ๋ยโปแตสเซียม 2 ช้อนแกง น้ำเปล่า20ลิตร ฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง

     โรคขอบใบแห้ง มักจะพบมากตั้งแต่ช่วงระยะต้นกล้าจนถึงช่วงข้าวออกรวง ลักษณะอาการจะเริ่มมีรอยช้ำสีเทาตามขอบใบและลุกลามไปตามแนวยาวของใบข้าวจากนั้นจะแห้งเป็นสีเหลือง ถ้าไม่รักษาจะส่งผลทำให้เชื้อลุกลามไปยังต้นข้าวและเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด

สาเหตุของโรคขอบใบแห้งที่เกษตรกรพบปัจจุบันมี 2 สาเหตุ สาเหตุแรกเกิดจากกระแสลมที่พัดแรงผิดฤดูทำให้ใบข้าวโดนลมและแห้งตามขอบใบ อาการจากสาเหตุดังกล่าวไม่รุนแรงแต่จะหายไปเองเมื่อต้นข้าวมีอายุมากขึ้น ส่วนอีกหนึ่งสาเหตุนั้นเกิดจากเชื้อบักเตรี ซึ่งจะลุกลามอย่างรวดเร็วในระยะ 10-15 วันโดยมีน้ำในนาข้าวเป็นตัวนำเชื้อให้ลุกลามไปยังแปลงอื่นๆ ส่งผลทำให้ต้นข้าวชะลอการเจริญเติบโต ผลผลิตได้ไม่เต็มที่ เป็นปัญหาที่เกษตรกรต้องรีบแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับคุณวิเชียร โชติเฉลิมพงษ์ เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วมีวิธีการจำกัดโรคขอบใบไหม้ ที่เกษตรกรทั่วไปสามารถทำได้โดยมีสูตร ดังนี้
ส่วนผสมที่ใช้
ฮอร์โมนไข่สำหรับพืช 100 ซีซี
ปุ๋ยโปแตสเซียม (ชนิดละลายน้ำ) 2 ช้อนแกง
น้ำเปล่า 20 ลิตร
วิธีทำและการนำไปใช้
นำฮอร์โมนไข่ ปุ๋ยโปแตสเซียมซัลเฟต ชนิดละลายน้ำผสมในน้ำเปล่า 20 ลิตร คนให้ละลายเข้ากัน จากนั้นฉีดพ่นในนาข้าวที่มีอาการของโรคขอบใบแห้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง อาการของโรคจะค่อยๆดีขึ้น และยังเป็นการบำรุงการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกด้วย
**การทำ ฮอร์โมนไข่ใช้ไข่ไก่สดทั้งเปลือก 5 กก. + กากน้ำตาล 5 กก. + ยาคูลท์ 1 ขวด( 80 ซีซี)+แป้งข้าวหมาก 1 ลูก นำทั้งหมดบดผสมรวมกัน หมักในภาชนะปิดฝาคนทุกวันเช้า-เย็นครบ 14 วันนำมาใช้ได้

กลิ่นมะนาวช่วยลด''เครียด''


       กลิ่นมะนาว(1)โดยเฉพาะจากเปลือกช่วยลดความเครียดเป็นการใช้กลิ่นหอม
       กลิ่นมะนาว(2)แทนการใช้ยาอีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตได้อีกด้วย

อโรมาเทอราปี (Aromatherapy) เป็นศาสตร์ของการใช้ "กลิ่นระเหย" มาช่วยดูแลสุขภาพ

ในรูปของน้ำมันระเหยที่สกัดออกมาอย่างเข้มข้น ใช้ได้ทั้งเพื่อความงาม ในรูปของเครื่องสำอาง ใช้เพื่อสุขภาพ และใช้เพื่อพิธีกรรม โดยเฉพาะเพื่อความงาม ใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการฟื้นฟูเซลล์ผิว การขับสารพิษ การระงับเชื้อ ฯลฯ เราสามารถใช้เพื่อรักษาความอ่อนเยาว์ของผิวพรรณ ซ่อมแซมรอยแผล แต้มสิว บำรุงผม หรือการลดริ้วรอยความเหี่ยวย่น โดยใช้ในรูปแบบของโลชั่น น้ำมันนวด สบู่อาบน้ำ หรือแชมพู การใช้เพื่อสุขภาพ ด้วยคุณสมบัติของการคลายกล้ามเนื้อ ลดความเจ็บปวด การฆ่าเชื้อ ฯลฯ เราสามารถนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ลดอาการหรือช่วยบำรุงสุขภาพเราได้ทั้งทางกายและทางใจ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากความเครียด ซึ่งยาเคมีสังเคราะห์มีผลข้างเคียงสูง ขณะที่น้ำมันหอมระเหยเป็นสารธรรมชาติ มีการตกค้างและผลข้างเคียงที่น้อยกว่าหรือไม่มีเลย ทำและใช้กันมาตั้งแต่โบราณกาลทีเดียว
ยิ่ง "มะนาว" นักวิทยาศาสตร์และการแพทย์ศึกษาแล้วพบว่า กลิ่นของมะนาว โดยเฉพาะจากเปลือก ช่วยลดความเครียดได้ เป็นการใช้กลิ่นหอมทดแทนการใช้ยา น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะนาวนี้ มีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ผ่านทางผิวหนัง ช่วยระงับเชื้อจากบาดแผล แมลงกัดต่อย ฯลฯ รวมถึงกลิ่นมะนาวยังช่วยลดความดันโลหิตอีกด้วย

การต่อยอดมะม่วงให้ออกผลนอกฤดูกาล

มะม่วง เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันมาก เพราะนอกจากจะรับประทานกับแบบดิบๆ ยังสามารถรับประทานสุก หรือนำมาแปรรูป เป็นมะม่วงแผ่น มะม่วงกวน มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงดอง และใส่ในขนมต่างๆ ได้อีกด้วย มะม่วงมีหลายพันธุ์ แต่ที่นิยมนำมาขยายพันธุ์ได้แก่ พิมเสนมัน แรด เขียวสวย อกร่อง น้ำดอกไม้ ฯลฯ การขยายพันธุ์สามารถทำได้หลายวิธี อาจใช้การเพาะเมล็ด ปักชำ ตอน ติดตา ทาบกิ่งหรือต่อยอด โดยวิธีการเสียบยอดหรือต่อยอดสามารถทำได้ง่าย คุณภาพดี และปริมาณมาก ลงทุนน้อย และแม่พันธุ์ไม่ทรุดโทรม ด้วยเหตุนี้ คุณหนูกัน มนตรีโพธิ์ เจ้าสวนมะม่วง บ้านคำแดง ม.17 ต.เดิด อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธรที่ปลูกมะม่วงทั้งหมด 6 สายพันธุ์คือ พันธุ์เขียวเสวย พันธุ์น้ำดอกไม้ ฟ้าลั่น หนองแซง โชคอนันต์และมะม่วงแรด จำนวน 400 กว่าต้นให้ผลผลิตถึงปีละ 17-18 ตัน จึงเลือกวิธีการขยายพันธุ์มะม่วงในสวน โดยวิธีการต่อยอด ซึ่งการต่อยอดโดยวิธีของคุณหนูกัน จะทำให้มะม่วงสามารถออกผลได้เร็วกว่าปกติและออกผลนอกฤดูกาลได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

 

การคัดเลือกพันธุ์
1.เลือกสายพันธุ์ที่ออกผลจำนวนมาก
2.คัดเลือกพันธุ์ที่มีความแข็งแรงและต้านทานโรคได้ดี
3.คัดเอาเฉพาะยอดที่กำลังออกดอกหรือกำลังจะผลัดใบ
วิธีทำ : ตัดยอดให้มีความยาว 6 เซนติเมตรแล้วทำการตัดเฉียงยอดพันธุ์ที่เตรียมไว้นำมาประกบกับพันธุ์ของต้นตอแล้วนำพลาสติกมาพันให้มิดชิดโดยไม่ให้น้ำและอากาศเข้าได้ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ยอดที่เปลี่ยนเข้าไปจะงอกขึ้นมาแทนยอดเดิมแล้วจึงแกะพลาสติกที่หุ้มไว้ออก
ประโยชน์ :
-สามารถเลือกสายพันธุ์ของกิ่งพันธุ์ได้
-กิ่งพันธุ์ที่ได้รับจากการเปลี่ยนยอดจะสามารถออกผลได้เร็วกว่าปกติและออกผลนอกฤดูกาลได้
ขอบคุณข้อมูลจาก “ไร่มณทิรา” บ.คำแดง ม.17 ต.เดิด อ.เมืองยโสธร จ.ยโสธร

การทำแยมมะม่วง

มะม่วงเป็นไม้ผลที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด และทุกสพภาพภูมิอากาศในประเทศไทย เละเป็นผลไม่ที่คนไทยทุกเพศทุกวัยรู้จักกันดี มีให้บริโภคกันตลอดทั้งปี แต่ผลผลิตจะออกสู่ท้องตลาดมากในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มีมะม่วงออกมามากที่สุด บางครัวเรือนถึงกับบริโภคไม่ทัน จำต้องหาวิธีการแปรรูปเก็บไว้ทาน ซึ่งหนึ่งในการแปรรูปผลผลิตมะม่วง ก็คือ การนำมาทำเป็นแยม ซึ่งได้รสชาติที่อร่อยและเป็นเอกลักษณ์ของผลไม้ไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้มีมากขึ้นด้วย


ส่วนผสมสำหรับการทำแยมมะม่วง :

- มะม่วงสุกบดละเอียด 3 ถ้วยตวง
- น้ำตาลทราย 1 ½ ถ้วยตวง
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือ กรดมะนาว ก็สามารถใช้ได้)
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีการทำแยมมะม่วง :
1. ผสมมะม่วงสุก น้ำมะนาว เกลือ ในสัดส่วนดังกล่าว คนให้เข้ากัน เติมน้ำตาลทรายทีละน้อย คนส่วนผสมอยู่ตลอดเวลาจนน้ำตาลละลายหมด
2. ตั้งไฟปานกลาง เพิ่มไฟให้แรงขึ้นจนส่วนผสมเดือด ช้อนฟองทิ้ง คนตลอดเวลา ระวังอย่าให้ติดกระทะ หรี่ไฟลง คนจนข้นยกลง
3. บรรจุแยมลงในขวดที่ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว
*** เมื่อเย็นแล้วอย่าทิ้งไว้นานเกิดไปเพราะจะทำให้ตกผลึกแข็ง การเก็บแยม ควรใส่ในขวดปากกว้างที่ล้างและต้มในน้ำเดือดประมาณ 15 - 20 นาที ปิดฝาให้แน่น

การปลูกถั่วพร้าบำรุงดินในสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน

  เนื่องจากสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราโดยส่วนมากจะเป็นแบบพืชเชิงเดี่ยว ประกอบกับการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ดินเสื่อมสภาพ อินทรียวัตถุในดินก็มีน้อยส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ก็ลดลงตามไปด้วย การฟื้นฟูสภาพดินจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเกษตรกร ซึ่งการฟื้นฟูสภาพดินสามารถทำได้หลายวิธี การปลูกถั่วพร้า ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการฟื้นฟูสภาพดิน ซึ่งมีวิธีง่ายๆดังนี้

วิธีการฟื้นฟูสภาพดินในสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราด้วยถั่วพร้า
•ทำการไถพรวนพื้นที่ระหว่างร่องของต้นปาล์มน้ำมันหรือต้นยางพารา ( ควรเริ่มต้นในช่วงของต้นฤดูฝนเนื่องจากมีน้ำเพียงพอทำให้ถั่วพร้าเจริญเติบโตได้ดี )
•ทำการตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน
•ทำการหว่านเมล็ดถั่วพร้าให้ทั่วทั้งแปลง ในปริมาณ 10 กก./ไร่
•นำดินมากลบบางๆให้พอมิดเมล็ดถั่ว
•ให้ปล่อยทิ้งไว้จนต้นถั่วพร้าออกดอกจึงทำการตัดด้วยเครื่องตัดหญ้าให้หมดทั้งแปลง
•ต้นของถั่วพร้าจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
•หรือนำต้นถั่วพร้าและเศษพืชต่างมาทำเป็นปุ๋ยหมักแล้วค่อยนำไปใส่ในสวนก็ได้

ข้อดีของการฟื้นฟูสภาพดินในสวนปาล์มน้ำมันและสวนยางพาราด้วยถั่วพร้า
•ทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ดินมีความร่วนซุย
•ถั่วพร้าสามารถเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดินได้ประมาณ 30 กก./ไร่
•ต้นยางพารา และต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
•ดินมีความชุ่มชื้นมากขึ้นเนื่องจากถั่วเป็นพืชคลุมดินรักษาความชื้นได้ดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : นายจิรศักดิ์ เศรษสระ บ้านเขาน้อย ม.8 ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร โทร.081-6766271

ต้นพญาคชราช ไม้เศรษฐกิจ โตเร็ว มาแรง

พญาคชราช(Payakocharach) เป็นชื่อใหม่ของต้น ปอหู ที่ตั้งขึ้นโดย นายชูพงศ์วรินทร์ ซุ้นสุวรรณ ประธานโครงการประเทศสีเขียว ซึ่งพญาคชราชเป็นชื่อที่เป็นมงคล ตามที่เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลสายพันธุ์หนึ่ง และ เพื่อนำมาใช้เรียก เฉพาะในโครงการประเทศสีเขียวนั้น เนื่องจากอาจมีการเข้าใจผิดโดยการนำเอาไม้ชนิดอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่คุณสมบัติแตกต่างกันมาใช้เรียกว่าเป็นต้นพญาคชราช  

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น(Stem) พญาคชราช เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูง 15-30 เมตร (สำหรับในประเทศไทยต้น พญาคชราช โตเต็มที่ ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอกประมาณ 280 ซม. สูงประมาณ 27 เมตร) ผลัดใบและผลิใบใหม่พร้อมกับดอก ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอน
เรือนยอด เป็นพุ่มทรงกลมหรือรูปกรวย กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรง มีการผลิใบใหม่พร้อมกับดอกตามธรรมชาติ
เปลือก(Bark) สีน้ำตาลอมเขียวอ่อน มีมีเทาแต้มเป็นรอยด่างและมีรอยย่นกระจายทั่วไป เปลือกเป็นเส้นใยสีน้ำตาลแดง
ใบ (Leaf) เป็นชนิดใบเดี่ยว (Simple leaf) ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปหัวใจ มีขนาดประมาณ 5-12 x10-24 ซม.โคนหยัก เว้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อค่อยข้างหนา และมีขนนุ่มทั่วไป ใบแก่ ผิวใบเกลี้ยง หน้าใบเข้ม หลังใบเขียวอ่อน และ จะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบ มี 7-14 คู่เห็นชัดทั้งสองด้าน
ดอก(Flower) เป็นชนิดช่อแบบ Raceam สีส้มอ่อนๆ หรือเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อ เป็นพวงสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง
ผล(Fruit) เป็นชนิดผลเดี่ยว เป็นประเภทผลแห้งแบบ Nut รูปทรงกระสวยเกลี้ยง ๆ เป็นผลชนิดปีกเดียว ลักษณะปีกเป็นกาบบางสีแดงเรื่อๆ เป็นกระโดงโค้งยาวแระมาณ 10 ซม. หุ้มส่วนหนึ่งของผล ดูคล้ายใบเรือ
เมล็ด (Seed) มี 1 เมล็ด เมื่อแกะเปลือกและขนอ่อนๆ รอบเมล็ดออกจะเห็นเมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างคล้ายเงินจีนขนาด 0.35 x 0.55 ซม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 20-30 ล้านเมล็ด

ปัจจัยควบคุมการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช :
1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นของดิน ต้นพญาคชราชสามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติที่มีปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 – 5,000 มล. แต่ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช คือ 1,500-5,000 มล. มีช่วงฤดูแล้งไม่เกิน 3 เดือน ส่วนต้นพญาคชราชที่ขึ้นในที่แห้งแล้งจะแคระแกร็น มีรูปร่างที่เป็นพุ่ม มีการเจริญเติบโตน้อย ในทางตรงกันข้ามในพื้นที่ที่มีความชันสูงมาก ต้นพญาคชราช จะมีขนาดใหญ่และสูงมาก ซึ่งความใกล้ไกลจากแหล่งน้ำจะมีผลต่อปริมาณความชื้นในดินด้วย
2. อุณหภูมิและปริมาณความชื้นในบรรยากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้น พญาคชราช ซึ่งสามารถจะพบต้น พญาคชราช ได้ในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 15-35 องศาเซลเซียส ปริมาณความชื้นในบรรยากาศไม่ต่ำกว่า 80% น้ำค้างแข็ง มีอิทธิพลต่อต้นพญาคชราช โดยจะทำอันตรายต่อส่วนที่อวบน้ำของต้น เช่น ยอด ใบอ่อน และ เยื่อเจริญของเปลือก จะทำให้เกิดการตายจากยอดลงมา
3. แสง ต้นพญาคชราช ต้องการแสงมากและไม่ทนร่ม ความเข้มแสงที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นกล้าพญาคชราช จะอยู่ระหว่าง 75-94% ของปริมาณแสง และถ้าได้รับคามเข้มของแสงน้อยกว่านี้ในเวลากลางวัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งของลำต้น ลดลง
การปลูก :
ต้นพญาคชราชเป็นไม้โตเร็ว ประกอบกับมีเรือนยอดแผ่กว้างตั้งฉากกับลำต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมจึงไม่ควรน้อยกว่า 3 x 3 เมตร หรือความหนาแน่นของหมู่ไม้ไม่ควรเกิน 182 ต้นต่อไร่ หากปลูกในระบบวนเกษตร ควรใช้ระยะปลูก 3 x 3 , 3 x 6, 4 x 6 หรือ 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชคบคุม และจำนวนปีที่ต้องการปลูกพืชแทรก
ตามที่ต้นพญาคชราชสามารถปลูกได้ทุกสภาพดิน แต่หากเป็นดินทราย ดินลูกรัง หรือ ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ควรเพิ่มระบบการให้น้ำในระยะแรกของการปลูกด้วย สำหรับระยะห่างการปลูกต้นกล้าควรเป็น 4 x 4 เมตร (100 ต้น/ไร่ ) เมื่อต้นไม้มีอายุได้ประมาณ 7 ปี ก็ยังจะมีพื้นที่ให้รถและเครื่องจักรกลเข้าไปตัดต้นไม้ได้ (หากปลูกมากกว่าน้ำลำต้นจะมีขนาดเล็กลง)
การบำรุงและการดูแลรักษา :
เนื่องจากต้นพญาคชราช เป็นไม้โตเร็วและพบรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงน้อยมาก การบำรุงและดูแลรักษาจึงไม่ยุ่งยาก แต่ควรหาวิธีป้องกันไม้ให้สัตว์เลี้ยงที่กินพืชเข้าไปรบกวนในแปลงปลูก เพราะอาจเข้าไปกัดกินยอดและใบ หรือ เหยียบทำลายได้ อย่างไรก็ตามในช่วงแรกควรให้ปุ๋ยและสร้างไม้ค้ำยัน ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะ 6 เดือนแรกของการปลูก ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอดังนี้
- ระยะ 1-6 เดือนแรกของการปลูก ให้ปุ๋ยเดือนละ 2 ครั้ง
- ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ให้ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง
เมื่อพ้น 1 ปี ต้นไม้จะแข็งแรงเพียงพอที่จะเติบโตได้เองตามธรรมชาติ เกษตรอาจให้ปุ๋ยบำรุงต้นเพิ่มเติมเพียงปีละ 1 ครั้ง และควรมีการปลูกซ่อมแซม ปราบวัชพืช ทำแนวกันไฟ การชิงเผาเพื่อลดเชื้อเพลิง แลการตัดสางขยายระยะ เพื่อส่งเสริมการเจริญเตอบโตของไม้ที่เหลือ

อัตราการเจริญเติบโต :
อัตราการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช ในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังจากย้ายปลูกแล้ว 1 ปีอาจสูงถึง 3 เมตร อัตราการเจริญเติบโตทางความสูงโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2-3 เมตร/ปี ติดต่อกันไปนาน 6-8 ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.3-7.6 ซม./ปี
ลักษณะและประโยชน์ของต้นพญาคชราช :
1. หลังปลูกได้ 1-2 ปี ความสูงอยู่ระดับ 6-10 เมตร ขึ้นอยู่กับการดูแล จะนำเปลือกไม้ไปทำเป็นเชือกปอ ส่วนเนื้อไม้เอาไปทำดอกไม้จันทน์ และ ถ้ามีอายุมากกว่านี้แก่นของไม้จะเริ่มแข็งขึ้น
2. หลังปลูกได้ 5-7 ปี เส้นรอบวงอยู่ที่ประมาณ 100-120 เซนติเมตร สูงไม่ต่ำกว่า 14 เมตร และจะมีแก่นลายไม้สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะเนื้อไม้คล้ายไม้พะยูงหรือไม้สัก เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัวเรือน กรอบและบานหน้าต่าง งานกลึงแกะสลักทำพื้นและฝาที่ใช้งานในที่ร่ม (**กรณีที่ใช้งานภายนอกควรใช้เนื้อไม้ที่มีอายุมากและควรใช้สารเคลือบไม้เพื่อเพิ่มความทนทาน) ใช้ทำไม้อัดพาร์ติเคิลบอร์ด วีเนียร์ ทำกระดานไม้ฝา
**สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ “โครงการประเทศสีเขียว" 0-2917-4760-61 www.greencoun.com

เทคนิคการเปลี่ยนเพศมะละกอและทำให้มีลูกดก

ในสมัยก่อนการปลูกมะละกอไว้หลังบ้านๆ ครอบครัวละต้นสองต้น เกษตรกรจะแสวงหาพันธุ์ที่ให้ลูกยาวเท่าแขนถึงแม้ต้นหนึ่งๆ ให้ลูกเพียง 3-4 ลูก ก็พอใจ ใครเห็นใครชม แต่ปัจจุบันนี้ครับการทำสวนมะละกอก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้อย่างดี ดังนั้นเกษตรกรจะต้องชื้อปุ๋ยและฮอร์โมนมาฉีดเร่งให้มะละกอ มีลูกดก

คุณพ่อสมพงษ์ ญาติบำเรอ เกษตรกรบ้านสวนสวรรค์มีเคล็ดลับในการเปลี่ยนเพศมะละกอฝให้เป็นต้นกระเทย และติดลูกดกได้อีกด้วย โดยเริ่มจากการเตรียมดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ก่อน และก่อนย้ายกล้าที่เพาะไว้ลงปลูกในแปลง คุณพ่อจะใช้ภูมิปัญญาเก่าๆ ที่สืบทอดกันมาทำให้มะละกอเป็นต้นกระเทยเสียก่อน โดยการตัดรากแก้วออกให้เหลือประมาณ 2 ข้อมือ แล้วนำต้นมะละกอลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ วิธีนี้นอกจากจะทำให้มะละกอติดลูกดกแล้ว ยังทำให้มะละกอโตเร็ว เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น 1 เดือน ทั้งยังติดลูกดกทุกต้นด้วย

การขยายพันธุ์มะละกอด้วยการตอนกิ่ง

เกษตรกรส่วนใหญ่จะซื้อเมล็ดพันธุ์มะละกอที่มีคุณภาพดีจากท้องตลาด มาปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ด แต่หลังจากที่ได้ผลผลิตรุ่นแรกแล้ว เกษตรกรจะไม่สามารถนำเมล็ดจากมะละกอที่ปลบูกได้ในรุ่นแรกมาขยายพันธุ์ต่อได้  เนื่องจากทางบริษัทที่เราไปซื้อเมล็ดพันธุ์มาได้ควบคุมไม่ให้ขยายพันธุ์ได้นั่นเอง หากเกษตรกรจะทำการปลูกใหม่จำต้องไปซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่มาปลูก ดังนั้นคุณคำนึง นวลมณีย์ และโรงเรียนบ้านหว้าหลัง จึงได้คิดค้นหาวิธีการ ทำให้มะละกอขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องใช้เมล็ดโดยการตอนกิ่ง ซึ่งมะละกอที่ได้จากการตอนกิ่งจะมีลักษณะดังนี้ 
  - มะละกอที่ได้จะมีขนาดลำต้นที่เตี้ย 
  - มะละกอจะไม่กลายพันธุ์ 
  - ลักษณะของเนื้อและผลของมะละกอจะมีรสชาติคงเดิม

วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่งมะละกอ :
1.ดินร่วน
2.ขุยมะพร้าว
3.ยางหรือเชือกฟาง
4.มีด
5.ถุงพลาสติก
วิธีการตอนกิ่งมะละกอ :
เตรียมต้นพันธุ์มะละกอ (ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน)
1.ให้นำดินร่วนผสมกับขุยมะพร้าว ในอัตราส่วน 3:1 มาผสมให้เข้ากัน
2.นำดินที่ผสมแล้วใส่ในถุงพลาสติกขนาด 3*5 นิ้ว
3.เลือกต้นพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์
4.ใช้มีดเฉือนกิ่งพันธุ์ จากข้างล่างขึ้นข้างบน
5.ใช้ลิ่มไม้เสียบเข้าไปในบริเวณที่เฉือนเพื่อไม่ให้เนื้อไม้ติดกัน
6.นำดินที่ใส่ในถุงกรีดกรีดถุงยาวพอสมควร รดน้ำให้ชุ่มแล้วไปวางทับกับรอยที่เฉือนกิ่งเอาไว้
7.ผูกเชือกให้แน่น
8.เฉือนท่อน้ำเลี้ยงห่างลงมาจากกิ่งตอน ประมาณ 3-5 นิ้ว เพื่อเป็นการตัดท่อลำเลียงธาตุอาหารและน้ำ เมื่อขาดธาตุอาหาร ขาดน้ำ จะทำให้รากของมะละกองอกออกมาเร็วขึ้น
9.ในระยะเวลา 30-45 วันรากของมะละกอก็จะออกรากออกมา ซึ่งเราสามารถตัดนำไปปลูกได้แล้ว