ต้นพญาคชราช ไม้เศรษฐกิจ โตเร็ว มาแรง

พญาคชราช(Payakocharach) เป็นชื่อใหม่ของต้น ปอหู ที่ตั้งขึ้นโดย นายชูพงศ์วรินทร์ ซุ้นสุวรรณ ประธานโครงการประเทศสีเขียว ซึ่งพญาคชราชเป็นชื่อที่เป็นมงคล ตามที่เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลสายพันธุ์หนึ่ง และ เพื่อนำมาใช้เรียก เฉพาะในโครงการประเทศสีเขียวนั้น เนื่องจากอาจมีการเข้าใจผิดโดยการนำเอาไม้ชนิดอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่คุณสมบัติแตกต่างกันมาใช้เรียกว่าเป็นต้นพญาคชราช  

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น(Stem) พญาคชราช เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ความสูง 15-30 เมตร (สำหรับในประเทศไทยต้น พญาคชราช โตเต็มที่ ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอกประมาณ 280 ซม. สูงประมาณ 27 เมตร) ผลัดใบและผลิใบใหม่พร้อมกับดอก ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอน
เรือนยอด เป็นพุ่มทรงกลมหรือรูปกรวย กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรง มีการผลิใบใหม่พร้อมกับดอกตามธรรมชาติ
เปลือก(Bark) สีน้ำตาลอมเขียวอ่อน มีมีเทาแต้มเป็นรอยด่างและมีรอยย่นกระจายทั่วไป เปลือกเป็นเส้นใยสีน้ำตาลแดง
ใบ (Leaf) เป็นชนิดใบเดี่ยว (Simple leaf) ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปหัวใจ มีขนาดประมาณ 5-12 x10-24 ซม.โคนหยัก เว้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อค่อยข้างหนา และมีขนนุ่มทั่วไป ใบแก่ ผิวใบเกลี้ยง หน้าใบเข้ม หลังใบเขียวอ่อน และ จะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นแขนงใบ มี 7-14 คู่เห็นชัดทั้งสองด้าน
ดอก(Flower) เป็นชนิดช่อแบบ Raceam สีส้มอ่อนๆ หรือเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อ เป็นพวงสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง
ผล(Fruit) เป็นชนิดผลเดี่ยว เป็นประเภทผลแห้งแบบ Nut รูปทรงกระสวยเกลี้ยง ๆ เป็นผลชนิดปีกเดียว ลักษณะปีกเป็นกาบบางสีแดงเรื่อๆ เป็นกระโดงโค้งยาวแระมาณ 10 ซม. หุ้มส่วนหนึ่งของผล ดูคล้ายใบเรือ
เมล็ด (Seed) มี 1 เมล็ด เมื่อแกะเปลือกและขนอ่อนๆ รอบเมล็ดออกจะเห็นเมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างคล้ายเงินจีนขนาด 0.35 x 0.55 ซม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 20-30 ล้านเมล็ด

ปัจจัยควบคุมการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช :
1. ปริมาณน้ำฝนและความชื้นของดิน ต้นพญาคชราชสามารถขึ้นได้ตามธรรมชาติที่มีปริมาณน้ำฝนรายปี 1,000 – 5,000 มล. แต่ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช คือ 1,500-5,000 มล. มีช่วงฤดูแล้งไม่เกิน 3 เดือน ส่วนต้นพญาคชราชที่ขึ้นในที่แห้งแล้งจะแคระแกร็น มีรูปร่างที่เป็นพุ่ม มีการเจริญเติบโตน้อย ในทางตรงกันข้ามในพื้นที่ที่มีความชันสูงมาก ต้นพญาคชราช จะมีขนาดใหญ่และสูงมาก ซึ่งความใกล้ไกลจากแหล่งน้ำจะมีผลต่อปริมาณความชื้นในดินด้วย
2. อุณหภูมิและปริมาณความชื้นในบรรยากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติของต้น พญาคชราช ซึ่งสามารถจะพบต้น พญาคชราช ได้ในช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 15-35 องศาเซลเซียส ปริมาณความชื้นในบรรยากาศไม่ต่ำกว่า 80% น้ำค้างแข็ง มีอิทธิพลต่อต้นพญาคชราช โดยจะทำอันตรายต่อส่วนที่อวบน้ำของต้น เช่น ยอด ใบอ่อน และ เยื่อเจริญของเปลือก จะทำให้เกิดการตายจากยอดลงมา
3. แสง ต้นพญาคชราช ต้องการแสงมากและไม่ทนร่ม ความเข้มแสงที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นกล้าพญาคชราช จะอยู่ระหว่าง 75-94% ของปริมาณแสง และถ้าได้รับคามเข้มของแสงน้อยกว่านี้ในเวลากลางวัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งของลำต้น ลดลง
การปลูก :
ต้นพญาคชราชเป็นไม้โตเร็ว ประกอบกับมีเรือนยอดแผ่กว้างตั้งฉากกับลำต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมจึงไม่ควรน้อยกว่า 3 x 3 เมตร หรือความหนาแน่นของหมู่ไม้ไม่ควรเกิน 182 ต้นต่อไร่ หากปลูกในระบบวนเกษตร ควรใช้ระยะปลูก 3 x 3 , 3 x 6, 4 x 6 หรือ 6 x 6 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชคบคุม และจำนวนปีที่ต้องการปลูกพืชแทรก
ตามที่ต้นพญาคชราชสามารถปลูกได้ทุกสภาพดิน แต่หากเป็นดินทราย ดินลูกรัง หรือ ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ควรเพิ่มระบบการให้น้ำในระยะแรกของการปลูกด้วย สำหรับระยะห่างการปลูกต้นกล้าควรเป็น 4 x 4 เมตร (100 ต้น/ไร่ ) เมื่อต้นไม้มีอายุได้ประมาณ 7 ปี ก็ยังจะมีพื้นที่ให้รถและเครื่องจักรกลเข้าไปตัดต้นไม้ได้ (หากปลูกมากกว่าน้ำลำต้นจะมีขนาดเล็กลง)
การบำรุงและการดูแลรักษา :
เนื่องจากต้นพญาคชราช เป็นไม้โตเร็วและพบรายงานความเสียหายที่เกิดจากโรคและแมลงน้อยมาก การบำรุงและดูแลรักษาจึงไม่ยุ่งยาก แต่ควรหาวิธีป้องกันไม้ให้สัตว์เลี้ยงที่กินพืชเข้าไปรบกวนในแปลงปลูก เพราะอาจเข้าไปกัดกินยอดและใบ หรือ เหยียบทำลายได้ อย่างไรก็ตามในช่วงแรกควรให้ปุ๋ยและสร้างไม้ค้ำยัน ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะ 6 เดือนแรกของการปลูก ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอดังนี้
- ระยะ 1-6 เดือนแรกของการปลูก ให้ปุ๋ยเดือนละ 2 ครั้ง
- ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ปี ให้ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง
เมื่อพ้น 1 ปี ต้นไม้จะแข็งแรงเพียงพอที่จะเติบโตได้เองตามธรรมชาติ เกษตรอาจให้ปุ๋ยบำรุงต้นเพิ่มเติมเพียงปีละ 1 ครั้ง และควรมีการปลูกซ่อมแซม ปราบวัชพืช ทำแนวกันไฟ การชิงเผาเพื่อลดเชื้อเพลิง แลการตัดสางขยายระยะ เพื่อส่งเสริมการเจริญเตอบโตของไม้ที่เหลือ

อัตราการเจริญเติบโต :
อัตราการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช ในระยะแรก ๆ อาจช้า แต่ต่อมาจะเร็วมาก ภายหลังจากย้ายปลูกแล้ว 1 ปีอาจสูงถึง 3 เมตร อัตราการเจริญเติบโตทางความสูงโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2-3 เมตร/ปี ติดต่อกันไปนาน 6-8 ปี การเจริญเติบโตทางเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.3-7.6 ซม./ปี
ลักษณะและประโยชน์ของต้นพญาคชราช :
1. หลังปลูกได้ 1-2 ปี ความสูงอยู่ระดับ 6-10 เมตร ขึ้นอยู่กับการดูแล จะนำเปลือกไม้ไปทำเป็นเชือกปอ ส่วนเนื้อไม้เอาไปทำดอกไม้จันทน์ และ ถ้ามีอายุมากกว่านี้แก่นของไม้จะเริ่มแข็งขึ้น
2. หลังปลูกได้ 5-7 ปี เส้นรอบวงอยู่ที่ประมาณ 100-120 เซนติเมตร สูงไม่ต่ำกว่า 14 เมตร และจะมีแก่นลายไม้สีน้ำตาลเข้ม ลักษณะเนื้อไม้คล้ายไม้พะยูงหรือไม้สัก เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ในครัวเรือน กรอบและบานหน้าต่าง งานกลึงแกะสลักทำพื้นและฝาที่ใช้งานในที่ร่ม (**กรณีที่ใช้งานภายนอกควรใช้เนื้อไม้ที่มีอายุมากและควรใช้สารเคลือบไม้เพื่อเพิ่มความทนทาน) ใช้ทำไม้อัดพาร์ติเคิลบอร์ด วีเนียร์ ทำกระดานไม้ฝา
**สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ “โครงการประเทศสีเขียว" 0-2917-4760-61 www.greencoun.com

0 ความคิดเห็น: